กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารก ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี ปีงบประมาณ 2566

1.นางโนรีฮา เจ๊ะมะ นักวิชาการสาธาณสุขชำนาญการ
2.นางสาวสาลินี สาเมาะ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
3.นางมูรนี บินบอสอ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
4.นางนูรไลลา บินหะมะ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
5.นางสาวฮานีซะห์ สาวนิ นักวิชาการสาธาณสุขชำนาญการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก เพื่อให้แม่และลูกปลอดภัยจากการตั้งครรภ์และการคลอด เด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสมเจริญเติบโตสมวัย ซึ่งเชื่อมโยงระบบบริการสุขภาพแม่และเด็กในสถานบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน เริ่มตั้งแต่การร่วมกันดูแลหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงเด็กปฐมวัยมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย ดังนั้นการพัฒนางานด้านอนามัยแม่และเด็ก จึงเป็นการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพงานแม่และเด็กอย่างครอบคลุมทั้งมาตรฐานการจัดบริการในสถานบริการสาธารณสุข ตลอดจนการขับเคลื่อนกระบวนการดำเนินงานในชุมชน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีของสภาวะสุขภาพแม่และเด็ก อย่างไรก็ตามภาพรวมระดับเขต แม่และเด็กยังมีภาวะเสี่ยงทั้งในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด จากผลลัพธ์สถานะสุขภาพแม่และเด็กตามตัวชี้วัดที่สำคัญ ๆ พบว่ายังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และยังคงเป็นปัญหาเดิม ไม่ว่าจะเป็น การฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ยังน้อย ปัญหามารดาซีด ทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ยังคงมีอยู่ในพื้นที่ เป็นต้น รวมทั้งบุคลากรซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องหลักของงานอนามัยแม่และเด็ก ที่ต้องเร่งรัดในการค้นหาปัญหาเชิงลึก ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและทีมงาน การเฝ้าระวัง และติดตามประเมินผล เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการงานอนามัยแม่และเด็กให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ 2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้ในการป้องกันและลดภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ได้ 3. หญิงตั้งครรภ์ที่พบภาวะเสี่ยงสามารถนำไปปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 4. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

1.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์

3.หญิงตั้งครรภ์ที่ภาวะซีดไม่เกินร้อยละ 10 4.เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 5.มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

85.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1. เก็บรวบรวมข้อมูลความครอบคลุม หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 2. วิเคราะห์ปัญหาจัดทำโครงการเพื่อเสนองบประมาณและขออนุมัติโครงการ 3. จัดประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานกำหนดวันจัดอบรม 4. เตรียมเอกสารให้ความรู้ 5. จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ 6. ประสานงานติดต่อวิทยากร ขั้นดำเนินการ 1. ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ แก่หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด จำนวน 50 คน
3. - ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการมาฝากครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์ - ให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด - แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด 3. ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาตามนัด และที่มีภาวะเสี่ยง 4. ติดตามเยี่ยมบ้านมารดาและทารกหลังคลอดทุกราย 5. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

งบประมาณ 1. ค่าไวนิล
-ขนาด 3 X 1 เมตร X 1 ชุด เป็นเงิน900 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 50 คน= 2,500 บาท 3.ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 50 คนเป็นเงิน= 2,500 บาท 4.ค่าวิทยากร 6 ชม. x 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท 5.ค่าวัสดุจัดการอบรม - ค่าแผ่นพับ 15 บาท x 50 แผ่น เป็นเงิน 750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,250 บาท (หนึ่งหมื่นสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน) (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์

3.หญิงตั้งครรภ์ที่ภาวะซีดไม่เกินร้อยละ 10 4.เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 5.มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,250.00 บาท

หมายเหตุ :
(ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้ในการป้องกันและลดภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ได้
3. หญิงตั้งครรภ์ที่พบภาวะเสี่ยงสามารถนำไปปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง


>