กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาวลุตงร่วมใจต้านภัยน้ำมันใช้ซ้ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ลาน

กลุ่มหรือองค์กรประชาชน 5 คน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ค่านิยมบริโภคอาหารทอดที่เพิ่มมากขึ้นจนผลิตภัณฑ์อาหารทอดต่างๆ กลายเป็นอาหารขายดีทั้งในระดับชุมชนจนถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่มีการใช้น้ำมันทอดอาหารทั้งที่ทำจากสัตว์และพืชโดยเฉพาะน้ำมันพืชที่แต่ละปีประเทศไทยบริโภคถึงปีละ๘๐๐,๐๐๐ตันซึ่งข้อเท็จจริงพบว่าผู้ประกอบการอาหารทอด จะใช้น้ำมันในการทอดซ้ำหลายครั้งจนลักษณะทางกายภาพของน้ำมันหรือคุณลักษณะของอาหารเสียไปจึงเปลี่ยนน้ำมันใหม่ หรือเติมน้ำมันใหม่ผสมลงไปทอดอาหารซ้ำๆต่อไปการเสื่อมสภาพของน้ำมันจากการทอดเกิดสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกายคือ “สารโพลาร์”ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคมะเร็งซึ่งในน้ำมันสำหรับทอดอาหารกำหนดให้มีปริมาณสารโพลาร์ไม่เกินร้อยละ๒๕ของน้ำหนักโดยการตรวจปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมัน จะช่วยให้ผู้ประกอบการอาหารทอด ทราบเวลาที่ต้องเปลี่ยนน้ำมันของร้านตนเองที่ยังคงความปลอดภัย และลดต้นทุนตามสมควร นอกจากนี้ การป้องกันไม่ให้น้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้วกลับมาสู่วงจรการบริโภค โดยนำไปผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลหรือนำไปใช้ในการผลิตสบู่ซึ่งถือเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและปลอดภัยที่ดีทางหนึ่งด้วย
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลานอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 2496 มาตรา 50 (๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม จึงได้จัดทำโครงการร่วมใจแก้ไขปัญหาน้ำมันทอดซ้ำขึ้นเพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคและผู้ประกอบการอาหารในเขตหมู่ 6 บ้านลุตง ตำบลแม่ลาน ได้มีความตระหนักถึงอันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ และประสานความร่วมมือกันเพื่อป้องกันหรือลดอันตรายจากสารพิษในน้ำมันทอดซ้ำ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค มีความเข้าใจถึงอันตรายของน้ำมันทอดซ้ำต่อสุขภาพ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษจากน้ำมันทอดซ้ำ

๑. ร้อยละ ๑๐๐ ของการสำรวจร้านอาหารใน หมู่ ๖
บ้านลุตง

0.00
2 ๒. เพื่อทราบสถานการณ์ ค่าสารโพลาร์ในน้ำมันทอดของผู้ประกอบการขายอาหารในเขต หมู่ 6 บ้านลุตง ตำบลแม่ลาน

๒. ร้อยละ ๘๐ ของร้านที่ตรวจพบสารสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเลิกใช้น้ำมันทอดซ้ำ

0.00

๑. เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค มีความเข้าใจถึงอันตรายของน้ำมันทอดซ้ำต่อสุขภาพ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษจากน้ำมันทอดซ้ำ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการชาวลุตงร่วมใจต้านภัยน้ำมันใช้ซ้ำ

ชื่อกิจกรรม
โครงการชาวลุตงร่วมใจต้านภัยน้ำมันใช้ซ้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. จัดทำสื่อแผ่นพับ,ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ รณรงค์งดการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ๒. จัดอบรมผู้ประกอบการและผู้บริโภค ให้ความรู้เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึง อันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ  และวิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารพิษในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน  50 คน ๓. ลงพื้นที่ส่งตรวจร้านขายอาหารทอดที่เข้าร่วมโครงการฯและสุ่มตรวจโดยใช้ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ๒ ครั้ง ในระยะเวลา 4 สัปดาห์  และมีกิจกรรมเพิ่มเติม ได้แก่
- แนะนำให้ผู้ขายอาหารทอดรู้จักวิธีการตรวจสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร เพื่อให้ทราบรอบของการเปลี่ยนน้ำมัน รวมถึงวิธีการกำจัดน้ำมันเสื่อมคุณภาพที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม - มอบป้ายประกาศเกียรติคุณ “ร้านนี้ใช้น้ำมันทอดปลอดภัย” กรณีร้านผ่านมาตรฐานน้ำมันตามที่กำหนด (จากการสุ่มตรวจจำนวน ๒ ครั้ง มีผลการตรวจผ่านมาตรฐาน ๒ ครั้งติดกัน) ๔. หาแนวทางการจัดการน้ำมันเก่า และแนะนำช่องทางการติดต่อผู้ประกอบการที่รับซื้อน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ เพื่อนำไปจำหน่ายต่อผู้ประกอบการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลต่อไป 5. จัดตั้งเครือข่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้ประกอบการร้านอาหาร มีความตระหนักถึงอันตรายจากสารพิษในน้ำมันทอดซ้ำ และ
เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
๒. มีแนวการจัดการน้ำมันเก่าที่เสื่อมสภาพแล้วอย่างเหมาะสม


>