กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการขยะโดยหลัก 3Rs (หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะชุมชน) หมู่ที่ 2 ตำบลหารเทา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลหารเทา

1. นางพรรณี พานิชสุโข
2. นางบุษบา ศุภเวช
3. นายภาคภูมิ ด้วงรักษา
4 นางมณฤทัย ทองศรี
5. นส.อำมร แสงสุวรรณ

หมู่ที่ 2 ตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

 

50.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

30.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

25.00
4 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

1.00

ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๒ มาตรา ๒๒ (๓) ให้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดให้มีและรักษาทางระบายน้ำ และรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ (๑๘) ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ในการกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๔) เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางโดยมุ่งเน้นการใช้หลักการ ๓Rs(ใช้น้อย, ใช้ซ้ำ และแปรรูปมาใช้ใหม่) มุ่งเน้นการจัดการขยะต้นทางในชุมชน นอกจากนี้ขยะยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง, หนู, แมลงสาบ เป็นต้น ซึ่งเป็นบ่อเกิดการเกิดโรคติดต่อในคนและสัตว์

ปัจจุบันมีอัตราการเพิ่มของปริมาณขยะจากครัวเรือน สาเหตุหลักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลหารเทาซึ่งจะเห็นว่าขยะมูลฝอยมีอัตราเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารมีความสำคัญและจำเป็นทำให้มีวัสดุประเภทพลาสติกเกิดขึ้นมากมาย และมีความหลากหลายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด ถุงพลาสติกทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นทั้งต่อผู้ขายและผู้ซื้อ ในขณะเดียวกันในพื้นที่หมู่ 2 บ้านหารเทา ได้มีห้าง/ร้านค้า เกิดเพิ่มมากขึ้นซึ่งไม่ได้มีแค่ตัวผลิตภัณฑ์เท่านั้น หากยังพ่วงเอาขยะกลับบ้านอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของขยะ ในปัจจุบันสามารถแบ่งตามองค์ประกอบหลักได้ 4 ส่วน คือ ขยะย่อยสลายได้ร้อยละ 64, ขยะรีไซเคิลร้อยละ 30 ของเสียอันตรายร้อยละ3และขยะอื่นๆ ร้อยละ 3 ดังนั้นการจัดการขยะต้นทางเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและยั่งยืนส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นน้อยลง โดยนำแนวทาง การลด, ใช้ซ้ำ และแปรรูปใช้ใหม่ (Reduce Reuse Recycle:3Rs) คณะกรรมการหมู่บ้าน และ อสม. หมู่ที่ 2 จึงได้จัดทำโครงการการจัดการขยะโดยหลัก 3Rs ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ เกิดจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการคัดแยกขยะ สามารถนำไปใช้ประโยชน์และนำไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนใน หมู่ที่ 2 บ้านหารเทา อย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

50.00 30.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

30.00 50.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

25.00 40.00
4 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/11/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับขยะชุมชนและการจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับขยะชุมชนและการจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับขยะชุมชนและการจัดการขยะ
- ค่าเอกสาร แบบฟอร์มการสำรวจปริมาณขยะ และการจัดการขยะ จำนวน 500 ชุดๆ 2 บาท เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 20 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ข้อมูลเกี่ยวกับขยะชุมชนและการจัดการขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 ๒. ประชุมหารือผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
๒. ประชุมหารือผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมหารือผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการ ในการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของประชาชนผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจในโครงการ มีครัวเรือนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายโครงการนำร่อง ไม่น้อยกว่า50 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมกำหนดแผนการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมกำหนดแผนการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมหารือในการจัดทำโครงการ ในการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจในโครงการ
มีครัวเรือนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายโครงการนำร่อง ไม่น้อยกว่า 50 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์/ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่จะเข้าร่วมกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์/ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่จะเข้าร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์ โครงการผ่านหอกระจายข่าว และเวทีประชุมหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ ๓Rs ประชารัฐ ผ่านระบบเครื่องเสียงไร้สายทุกสัปดาห์ และในการประชุมต่างๆ ของหมู่บ้าน/ตำบล

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ ๓Rs ประชารัฐ ผ่านระบบเครื่องเสียงไร้สายทุกสัปดาห์ และในการประชุมต่างๆ ของหมู่บ้าน/ตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ ๓Rs ประชารัฐ ผ่านระบบเครื่องเสียงไร้สายทุกสัปดาห์ และในการประชุมต่างๆ ของหมู่บ้าน/ตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการทำถังขยะอินทรีย์และถังหมักชีวภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการทำถังขยะอินทรีย์และถังหมักชีวภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมฟื้นฟูแกนนำด้านการจัดการขยะและพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ
1.ค่าอาหารว่าง,เครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
2.ค่าสมนาคุณตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
3.ค่าทำไวนิลประชาสัมพันธ์ โครงการ จำนวน 3 ป้ายๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
4. ค่าวัสดุ อุปกรณ์สาธิตการจัดทำถังขยะ ชีวภาพ จำนวน 4,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 15 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อยละ 90 ของประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง มีครัวเรือนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายโครงการนำร่อง ไม่น้อยกว่า50 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 7 ส่งเสริมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ มีศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะประจำหมู่บ้าน และการแปรรูปขยะ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ มีศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะประจำหมู่บ้าน และการแปรรูปขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับสมัครผู้สมัครใจเข้าร่วมการลด การคัดแยก การจัดเก็บ การกำจัด และการใช้ประโยชน์จำนวน 2 ครั้ง

2.1 กิจกรรมจัดทำข้อมูลสถานการณ์ขยะประเภทต่างๆของชุมชน
2.2 กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การลด การคัดแยก การจัดเก็บ การกำจัดและการใช้ประโยชน์
2.3 กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุน การนำขยะไปแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ และการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์

รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ - ค่าจัดซื้อวัสดุ สำหรับการจัดทำถังขยะเปียกสาธิต ปฏิบัติการจัดทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพ และการปลูกผักสวนครัว จำนวน 150 ชุดๆละ 150 บาท เป็นเงิน 22,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,250 บาท
- ค่าสมนาคุณตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนจากการแปรรูปขยะ ขายขยะ Recycle และใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ เพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25550.00

กิจกรรมที่ 8 ส่งเสริมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ มีศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะประจำหมู่บ้าน และการแปรรูปขยะ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ มีศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะประจำหมู่บ้าน และการแปรรูปขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม เวที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รณรงค์ และทำความสะอาด หมู่บ้าน พร้อมสรุปผลการดำเนินงานประจำเดือนเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ มีการรณรงค์ทำความสะอาด อย่างน้อย 4 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 9 ติดตามผลการดำเนินงาน 3Rs ในหมู่บ้าน และ สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการดำเนินงาน 3Rs ในหมู่บ้าน และ สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผลการดำเนินงาน 3Rs ในหมู่บ้าน และ สรุปผลการดำเนินโครงการในการประชุมหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 ธันวาคม 2566 ถึง 30 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคัดแยกขยะต้นทาง และขยะอันตรายออกจากชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในหมู่ที่ 2 บ้านหารเทา มีความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยชุมชน เกิดจิตสำนึกและตระหนักถึงขยะมูลฝอย และขยะอันตราย
2. ประชาชนมีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคัดแยกขยะต้นทาง และขยะอันตรายออกจากชุมชน
3 ประชาชนมีรายได้ให้กับครัวเรือนจากการแปรรูปขยะ ขายขยะ Recycle และใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์


>