กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองแรต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนบ้านลางา “กิจกรรมหนูน้อยไร้เหา” ตำบลหนองแรต ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองแรต

โรงเรียนบ้านลางา

1. นายมะรอบี เจะแม
2. นางสาวนีฮาซนรรถ หะยีนิมะ
2. นางสาวรุสนี หะยีการ์
4. นางสาวนินูรีหซ๊ะนิเดร์หะ
5. นางสาวปราหานาปิยา

โรงเรียนบ้านลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนโรงเรียนบ้านลางาที่มีเหา

 

80.00
2 ร้อยละของผู้ปกครองเข้าใจถึงวิธีการดูแลรักษาบุตรหลานให้ไม่มีเหา

 

22.00
3 ร้อยละนักเรียนมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น

 

23.00

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2545 ระบุความหมายของการจัดการศึกษาว่าต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและสติปัญญาโดยเชื่อมั่นว่าถ้าบุคคลในชาติมีสุขภาพดีการพัฒนาด้านอื่น ๆ ก็จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างแท้จริง ปัจจุบันนักเรียนโรงเรียนบ้านลางาตั้งแต่ชั้นอนุบาล2 จนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่ามีนักเรียนติดเหาร้อยละ 80 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านลางาทั้งหมด ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเหาจากการมีอาการคันศีรษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำโดย ใช้ยาเพื่อฆ่าเหาซึ่งยามีทั้งในรูปครีม เจล หรือโลชั่น ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน และเพื่อความการดำเนินการที่ราบรื่นจึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักและแนวทางที่การปฎิบัติที่ตรงกันระหว่างโรงเรียนและที่บ้านจึงมีการจัดการอบรมผู้ปกครองนักเรียนเพื่อความเข้าใจตรงกันด้วยโรงเรียนจึงมีการจัดโครงการแต่ยังขาดงบประมาณในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแรต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดเหานักเรียนโรงเรียนบ้านลางา

ร้อยละของนักเรียนโรงเรียนบ้านลางาที่มีเหา

80.00 20.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงวิธีการดูแลรักษาบุตรหลานให้ไม่มีเหาอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละของผู้ปกครองเข้าใจถึงวิธีการดูแลรักษาบุตรหลานให้ไม่มีเหาอย่างต่อเนื่อง

22.00 60.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีบุคลิกภาพดีขึ้น

ร้อยละนักเรียนมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น

23.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 85
กลุ่มวัยทำงาน 62
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คณะกรรมการทำงานประชุมวางแผนร่วมกันจัดเตรียมงาน

ชื่อกิจกรรม
คณะกรรมการทำงานประชุมวางแผนร่วมกันจัดเตรียมงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนการจัดเตรียมงาน ชี้แจงรายละเอียด วางหน้าที่ต่างๆ โดยไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานแต่ละคนรับทราบหน้าที่ของตัวเอง และสามารถดำเนินหน้าที่ของตัวเองได้ตามเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนบ้านลางา “กิจกรรมหนูน้อยไร้เหา”

ชื่อกิจกรรม
อบรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนบ้านลางา “กิจกรรมหนูน้อยไร้เหา”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฎิบัติการในนักเรียนโรงเรียนบ้านลางา และกำหนดข้อตกลงร่วมกัน โดยมีรายละเอียด งบประมาณดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม,วิทยากรและเจ้าหน้าที่ โครงการ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 160 คน 8,000บาท - ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม(ผู้ปกครอง) ,วิทยากรและเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่โครงการ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 75 คน 3,750บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1,800บาท - ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย (ขนาด 1.2 ม.X2.5x250 บาท)750บาท - ค่าน้ำยากำจัดเหาและอุปกรณ์ในการกำจัดเหา 2,500บาท - ค่าวัสดุประกอบการอบรมเช่น กระดาษ แฟ้ม ปากกาเคมี 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กำจัดเหานักเรียนโรงเรียนบ้านลางา
  2. ผู้ปกครองเข้าใจถึงวิธีการดูแลรักษาบุตรหลานให้ไม่มีเหา 3นักเรียนมีบุคลิกภาพดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17000.00

กิจกรรมที่ 3 ชี้แจงการติดตามผลและสรุปผลการติดตามโดยสภานักเรียนและคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงการติดตามผลและสรุปผลการติดตามโดยสภานักเรียนและคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สภานักเรียนและคณะทำงานติดตามผลการดำเนินการหลังจากผู้เข้าอบรมนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฎิบัติตัว
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน คนละ 1 มื้อ ๆละ 25 บาท จำนวน 4 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลนักเรียนที่ติดเหา เปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนโรงเรียนบ้านลางาได้รับการกำจัดเหา
2. ผู้ปกครองเข้าใจถึงวิธีการดูแลรักษาบุตรหลานให้ไม่มีเหาอย่างต่อเนื่อง
3. นักเรียนมีบุคลิกภาพดีขึ้น
4. มีการทำข้อตกลงระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง และคุณคูในการกำจัดเหา


>