กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมโรคติดต่อและทันภัยคุกคามทางสุขภาพตำบลคลองใหญ่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

คณะทำงานควบคุมป้องกันโรคและภัยคุกคามทางสุขภาพเทศบาลตำบลคลองใหญ่

1.นางวรรณาเขียวแก้ว
2.นางพัชรีนุ้ยผอม
3.นายสัญญาสุริยันต์
4.นายวงตการณ์วงษ์เพ็ชร
5.น.ส.วลัยลักษณ์ปิ่นมี

ทุกพื้นที่่ในเขตเทศบาลตำบลคลองใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย

 

20.00
2 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

100.00
3 ร้อยละเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด

 

100.00
4 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

 

70.00
5 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการทางสังคมเพื่อการเฝ้าระวังและจัดการโรคอุบัติใหม่ เช่น ข้อตกลง/ธรรมนูญ/มาตรการชุมชน เพื่อป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟูโรคติดต่ออุบัติใหม่ (เช่น มาตรการเกี่ยวกับตลาด การทำกิจกรรมทางศาสนา การสวมหน้ากากอนามัย การจัดงานพ

 

0.00

ในปัจจุบันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและโรคติดต่อจากสาเหตุอื่นๆนั้นนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศ และจากภาวะโลกร้อน อากาศแปรปรวน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคแลปโตสไปโรซีส โรคมาลาเรียโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่ออื่นๆ เมื่อเกิดโรคติดต่อขึ้นทำให้ประชาชนในหมู่บ้านมีอาการป่วยจากโรคซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการรักษาพยาบาลและอาจเสียชีวิตได้ ในขณะเดียวกันการระบาดของโรคก็เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วนับเป็นปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชนเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการควบคุม ป้องกัน การเกิดการระบาดของโรคให้มีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม โดยประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันอย่างจริงจังและต่อเนื่องซึ่งจะนำไปสู่การปลอดภัยจากโรคติดต่อและการมีสุขภาพดีต่อไป ทางคณะทำงานควบคุมป้องกันโรคและภัยคุกคามทางสุขภาพเทศบาลตำบลคลองใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการ “ควบคุมโรคติดต่อและทันภัยคุกคามทางสุขภาพตำบลคลองใหญ่” เพื่อให้ประชาชนกลุ่มวัยทำงานมีความรู้และสามารถป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขมีระบบการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคติดต่อที่ดีสามารถหยุดการแพร่ระบาดและลดอัตราป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคติดต่อได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและตรวจจับภัยคุกคามทางสุขภาพ อย่างมีทิศทางและเป็นเอกภาพ

มีระบบเฝ้าระวังโรคและระบบเตือนภัยสุขภาพเมื่อเกิดการระบาดโรค

0.00
2 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ

อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อลดลง

0.00
3 เพื่อพัฒนาความร่วมมือของเครือข่าย เฝ้าระวังโรคระดับตำบลให้ความเข้มแข็งยั่งยืนในการดำเนินกิจกรรมด้านการป้องกันและควบคุมโรคและภัยคุกคามทางสุขภาพ

มีเครื่อข่ายเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคในชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 15/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำแผน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำแผนปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคและภัยคุกคามทางสุขภาพ ระดับตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังก่อนเกิดโรค ระหว่างเกิดโรค และกรณีที่มีการระบาดของโรค

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังก่อนเกิดโรค ระหว่างเกิดโรค และกรณีที่มีการระบาดของโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าน้ำยาพ่นละอองฝอย จำนวน 3 ขวด ๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท 2. ค่าตอบแทนในการพ่นละอองฝอย จำนวนเงิน 7,000 บาท 3. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องพ่น ULV จำนวน 2,000 บาท 4.ค่าทรายอะเบตจำนวน 5 ถัง ๆละ 4,500 บาท เป็นเงิน 22,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถควบคุมโรคไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้างได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมรณรงค์

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมรณรงค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมให้ความรู้พร้อมรณรงค์ในกรณีมีการระบาดของโรคเกิดขึ้น เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 185 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,625บาท 2. ค่าจ้างเหมารถประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่จำนวน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8225.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานระดับตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,225.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. การดำเนินการทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมภัยคุกคามทางสุขภาพมีการวางแผน ประสานงานและกระบวนการจัดกิจกรรมมีแนวทางทิศทางที่เป็นเอกภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในอนาคต
2. สามารถควบคุมและป้องกันโรคระบาดที่เป็นปัญหาในชุมชนได้
3. การขับเคลื่อนกิจกรรมสุขภาพภาคประชาชนในระดับตำบลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น


>