กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย อายุ 2-5 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะจัน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการสถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศไทยพบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในช่วงเดือน มีนาคม - พฤษภาคม เป็นเดือนที่เด็กจมน้ำ เสียชีวิตมากที่สุด เพราะตรงกับช่วงปิดเทอม และช่วงฤดูร้อนโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 - 2564) มีการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ทำให้เด็กต้องเรียนออนไลน์และอยู่บ้านนานขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือน การปิดภาคการศึกษา ระยะยาว ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้พี่ดูแลน้องหรือผู้สูงอายุดูแลเด็ก ส่งผลให้การเสียชีวิต จากการจมน้ำของเด็กในปี 2564 เพิ่มสูงมากที่สุดในรอบ 10 ปี เมื่อเทียบกับการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆจากข้อมูลดังกล่าว หากจะป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการตายจากการจมน้ำของเด็ก เพื่อเป็นการป้องกันและการเฝ้าระวังปัญหาเด็กเสียชีวิตจาการจมน้ำ ป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ มีทักษะการว่ายน้ำ สามารถช่วยเหลือตนเองหากเกิดเหตุการณ์ รอดจากการเสียชีวิตจากการจมน้ำได้ จึงมีความจำเป็นจะต้องฝึกหัดให้ได้ฝึกว่ายน้ำ หรือ เด็กว่ายน้ำเป็น ตำบลเกาะจันเป็นพื้นที่เสี่ยงในการที่จะเกิดเด็กจมน้ำได้ เนื่องจากมีแหล่งน้ำต่างๆมากมาย เช่น ลำคลอง บ่อเลี้ยงปลา และแหล่งน้ำต่างๆ อีกมากมาย ดังนั้นหากจะมีการป้องกัน การจมน้ำของเด็ก และกลุ่มเด็กๆ ซึ่งมีความเสี่ยง ประกอบกับผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก ไม่มีความระมัดระวังในการดูแลลูกหลาน ปล่อยให้ไปเล่นน้ำตามลำพัง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กจมน้ำเสียชีวิตได้ ต้องฝึกให้เด็กเล็ก ครู บุคลากรทางการศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการช่วยชีวิตคนจากการจมน้ำแบบวิธีการช่วยเหลือตามมาตรฐานสากล โดยใช้อุปกรณ์ใกล้มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการจมน้ำและการช่วยเหลือชีวิตจากการจมน้ำในเด็กปฐมวัย 2 – 5 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเป็นการป้องกันก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย 2 – 5 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะ ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนได้มีความรู้และทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ทักษะในการว่ายน้ำ
2. เพื่อป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย อายุ 2-5 ปี
3. เพื่อให้ครู บุคลากรทางการศึกษามีความรู้เรื่อง
การป้องกันการจมน้ำในเด็ก 2 – 5 ปีและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 56
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 11
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ จำนวน  2 วัน - ประชุมคณะทำงานและกำหนดแนวทางการดำเนินงาน - ประชาสัมพันธ์ในชุมชนถึงการดำเนินโครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย อายุ 2-5 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลาเกาะและดำเนินการการรับสมัครผู้เข้าโครงการ
- อบรมให้ความรู้ในการป้องกันเด็กจมน้ำและการเอาตัวรอดที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับวัย
- สรุปและรายงานผลโครงการฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37630.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,630.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1×3 เมตร
เป็นเงิน 750.- บาท
2. ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 2 วันๆละ3 ชั่วโมงๆ ละ 600.- บาท
เป็นเงิน 7,200.- บาท
3. ค่าอาหาร จำนวน 67 คนๆละ 2 วันๆละ 1 มื้อๆละ 70.- บาท
เป็นเงิน 9,380.- บาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 67 คนๆละ 2 วันๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาทเป็นเงิน 9,380บาท
5. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ
- เสื้อชูชีพสำหรับเด็ก จำนวน 8 ชุดๆละ 990.- บาท
เป็นเงิน 7,920.- บาท
- ห่วงยางชูชีพ จำนวน10 อันๆละ250.- บาท
เป็นเงิน 3,000.- บาท
รวมเป็นเงิน37,630.-

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้และทักษะในการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ และว่ายน้ำเป็นทุกคน
ร้อยละ 100
2.เด็กนักเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้พื้นฐานสามารถแจ้งเหตุระบุสถานที่เกิดเหตุในการช่วยเหลือผู้จมน้ำ
ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100
3.ลดปัญหาเด็กเล็ก เสียชีวิตจากการจมน้ำ ร้อยละ 80
4.ครู บุคลากรทางการศึกษามีความรู้เรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็ก 2 – 5 ปีและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ร้อยละ 100


>