กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เทศบาลตำบลบางปูอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เทศบาลตำบลบางปูอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลบางปูร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางปู

ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานแห่งที่ 2 เทศบาลตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การตรวจสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สำคัญสำหรับทุกคน ซึ่งทำให้ทราบว่าภายในร่างกายยังแข็งแรงหรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคในอนาคตหรือไม่ เป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญและใส่ใจในการตรวจสุขภาพ ทั้งยังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราได้รับรู้ถึงสภาพที่แท้จริงของสุขภาพร่างกาย การตรวจสุขภาพประจำปีมักถูกมองข้าม ด้วยเหตุเพราะคนจำนวนไม่น้อยมีความคิดว่า "เมื่อร่างกายยังสบายดีอยู่ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรจะต้องไปพบแพทย์หรือไปตรวจเช็คสุขภาพร่างกาย" คนส่วนใหญ่จึงมักไปพบแพทย์ก็ต่อเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกายแล้ว ซึ่งบางครั้งก็อาจจะสายเกินไปสำหรับการเยียวยารักษากับโรคบางโรคที่จะแสดงอาการออกมาต่อเมื่ออยู่ในระยะสุดท้ายหรือระยะที่ค่อนข้างหนักแล้ว ร่างกายของคนเราถูกใช้งานคล้ายๆ กับเครื่องจักรที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา แต่เครื่องจักรยังมีช่วงเวลาได้หยุดพัก หยุดซ่อมบำรุงรักษา แต่ร่างกายของคนเรา โดยเฉพาะอวัยวะบางอย่างไม่เคยมีช่วงเวลาได้หยุดพักนับตั้งแต่เกิดจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อเวลาผ่านไป ร่างกายหรืออวัยวะจะต้องมีความเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา ถ้าเป็นเครื่องจักร เมื่อเสื่อมก็ซ่อม เมื่อเสียก็เปลี่ยนอะไหล่สำรอง ฉะนั้น เราจึงควรประดับประคองมิให้อวัยวะหรือร่างกายเสื่อมเร็วกว่าที่ควรจะเป็น และหนึ่งในหนทางที่จะทำให้เราสามารถล่วงรู้ได้เท่าทันกับความเสื่อมหรือความเปลี่ยนแปลง ทั้งที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาและเกิดขึ้นมาจากการกระทำนั้นก็คือ การตรวจสุขภาพ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบางปู ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพบุคลากร จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากร ตรวจสุขภาพประจำปี 2566 โดยมุ่งเน้นให้บุคลากรได้มีการระมัดระวังป้องกันตนเองไม่ให้เจ็บป่วย และเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากร โดยให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีให้แก่บุคลากรของเทศบาลตำบลบางปู ตามโปรแกรมตรวจสุขภาพหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้บุคลากรมีสุขภาพที่ดีสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับการบริการที่ดีต่อไป จึงกำหนดให้มีการตรวจสุขภาพบุคลากร และติดตามดูแลสุขภาพ โดยเน้นการดูแลสุขภาพตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเพื่อการมีสุขภาพดี มีประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนต่อไปทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ ผู้บริหารเทศบาล พนักงานเทศบาล และพนักงานจ้าง เกิดการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ขัดต่อสุขภาพ เกิดความตื่นตัวตระหนักในการดูแลสุขภาพ

ทำให้ทราบสภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย

0.00
2 เพื่อให้มีโอกาสค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ

ทำให้ทราบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ช่วยลดความรุนแรง และอัตราเสี่ยงที่เกิดจากโรคบางชนิด

0.00
3 เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่มีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 66
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/06/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ ๑ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเพื่อการมีสุขภาพดี จำนวน 66 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเพื่อการมีสุขภาพดี จำนวน 66 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๑ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเพื่อการมีสุขภาพดี จำนวน66คน
- ค่าอาหารกลางวัน66คน X 50 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน3,300บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม66 คน ๆ ละ ๒๕บาทX2มื้อเป็นเงิน3,300บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร เป็นเงิน2,500บาท - ค่าวัสดุในการจัดอบรม เป็นเงิน2,680บาท - ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน4๕๐บาท รวมเป็นเงิน12,230บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 ทำให้ทราบสภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย 2 ทำให้ทราบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ช่วยลดความรุนแรง และอัตราเสี่ยงที่เกิดจากโรคบางชนิด 3 ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่มีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12230.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ ๒ การตรวจสุขภาพประจำปี จำนวน 23 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๒ การตรวจสุขภาพประจำปี จำนวน 23 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๒  การตรวจสุขภาพประจำปี  จำนวน  23  คน     รายการตรวจสุขภาพ โดยเบื้องต้นจะดำเนินการตรวจตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่กำหนดให้ของเจ้าหน้าที่แต่ละคน -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 23 คน x 25 บาท x 1 มื้อ              เป็นเงิน  575 บาท
รวมเป็นเงิน  575 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 ทำให้ทราบสภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย     2 ทำให้ทราบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ช่วยลดความรุนแรง และอัตราเสี่ยงที่เกิดจากโรคบางชนิด     3 ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่มีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
575.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,805.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ทำให้ทราบสภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย
2 ทำให้ทราบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ช่วยลดความรุนแรง และอัตราเสี่ยงที่เกิดจากโรคบางชนิด
3 ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่มีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>