กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการขยะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

รพ.สต.บ้านโหล๊ะบ้า

นางพัชรี นุ้ยผผอม
นางจิราวดี มุสิก
นางสาวปาณิตา พรหมวิจิตร์

รพ.สต.บ้านโหล๊ะบ้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรตลอดจนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของคนเราได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยใช้ตะกร้าเวลาไปจ่ายตลาด ใช้ปิ่นโตใส่อาหาร ใช้ใบบัวหรือใบตองห่ออาหาร แต่ปัจจุบันมีการใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์จำพวกพลาสติก โฟม แก้ว กระดาษโลหะ อลูมิเนียมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทำให้เกิดมูลฝอยสูงขึ้นตามไปด้วย ผลกระทบที่ตามมา มีทั้งความสูญเสียทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดินเสื่อมสภาพความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวนรวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหนะนำโรค ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประชาชนยังให้ความสนใจในการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพอนามัยไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยมักจะอยู่ในกลุ่มที่มีสถานะทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีพอ จึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง บิด อาหารเป็นพิษ ไทฟอยด์ และโรคที่เกิดจากสัตว์นำโรค เช่น โรคไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซีส ปัญหาการเกิดโรคในชุมชนประกอบด้วยองค์ประกอบหลายด้าน เช่นสภาพแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคและที่อยู่อาศัยสัตว์นำโรคกระจายอยู่ทั่วไป ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงเห็นควรจัดทำโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิดหาแนวทาง สร้างแบบแผนการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมป้องกันการเกิดโรคติดต่อในชุมชนและลดอัตราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารและโรคที่แมลงและสัตว์เป็นพาหะนำโรค จึงจัดโครงการดังกล่าวขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกในการลดปริมาณขยะมูลฝอยใน ชุมชน 2.เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและ ผลกระทบที่เกิดจากขยะ 3. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก และการนำกลับมาใช้ใหม่ 4. เพื่อให้มีความรู้และสามารถนำวิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆ มาใช้ได้อย่าง ถูกต้อง และบริหารจัดการขยะด้วยตนเอง 5. เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน

1.ประชาชนมีจิตสำนึกเกียวกับการคัดแยกขยะ

0.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ3Rs/สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอันทรีย์ฝังดิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ3Rs/สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอันทรีย์ฝังดิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • บรรยายให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง
  • บรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะแบบ 3Rs
  • สอน/สาธิตการคัดแยกประเภทขยะแต่ละชนิด
  • สอน/สาธิตการคัดแยกขยะรีไซเคิลเพื่อการจำหน่าย
  • สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอันทรีย์ฝังดิน

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคลองใหญ่จำนวน 20,000 บาท(สองหมื่นบาทถ้วนบาทถ้วน) รายละเอียดดังนี้ - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาทเป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆละ 600 บาทจำนวน 2 เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าชุดถังขยะตัวอย่างเป็นเงิน 9,900 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 20,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น สองหมื่นบาทถ้วนบาทถ้วน(ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การจัดการตามหลัก 3Rs ได้แก่
  2. การคัดแยกขยะตามประเภทขยะ ดังนี้
  3. ป้ายรณรงค์ให้ความรู้การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี
  4. ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะทุกประเภทอย่างถูกวิธีตามช่องทาง ต่างๆ เช่น เสียงตามสายในชุมชนทุกวันศุกร์ประชุมประจำเดือนชาวบ้าน เป็นต้น
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ และมีจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะ
2. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs การนำกลับมาใช้ใหม่ วิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธี และสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดผลได้จริง
3. บ้านเรือนในชุมชน เป็นบ้านเรือนที่ถูกหลักสุขาภิบาลและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี
4. ประชาชนสามารถบริหารจัดการตนเองในการคัดแยกขยะ ขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง


>