กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์คัดกรองโรคเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูง นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์คัดกรองโรคเรื้อรัง เบาหวานและความดันโลหิตสูง นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่4 บ้านโหล๊ะบ้า

นายสุวิทย์ ทองกัญญา
นางปราณี ชูทอง
นางสาวจิตรา ครูอ้น
นางแต้ว จันทร์สุวรรณ

บ้านโหล๊ะบ้า หมู่ 4 ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลายคนอาจไม่คาดคิดว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเราอย่างไม่ระมัดระวัง เมื่อสะสมนานวันเข้าส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบไม่รู้ตัวได้ มาทำความรู้จักกันว่าโรคอะไรบ้างโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือเรียกชื่อภาษาอังกฤษสั้น ๆ
ว่า โรค NCDs เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการ ติดเชื้อโรค และไม่ได้ติดต่อจากคนสู่คน โดยการสัมผัสหรือการหายใจ
แต่เป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสมของเรากลุ่มโรค NCDs นี้ ประกอบด้วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็ง เป็นต้น
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ โรค NCDs เป็นโรคที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ ด้วยการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน จนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ที่จะสามารถจัดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพได้ด้วยตนเอง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
(health literacy) จัดเป็นความรู้ความสามารถของบุคคลในการที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพ เสาะแสวงหา สืบค้นและทำความเข้าใจ แปลความหมายข้อมูลสุขภาพที่ได้รับหรือเข้าถึงได้ จนเกิดแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกและใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อได้นั้น หากประชาชนกลุ่มนี้ไม่ได้รับการจัดการพฤติกรรมสุขภาพจะส่งผลให้ประชากรกลุ่มมีโรคเรื้อรังตามมา คณะทำงานจึงมีมติร่วมกันว่าควรจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง ปี 256๖ เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ในการดูแลสุขภาพ และทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะบ้า มีสุขภาพดี ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 400 คน

ผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนได้รับการคัดกรอง

80.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ มีความตระหนักและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 270
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดคัดกรองความดัน เจาะเลือดคัดกรองระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ตรวจวัด ค่า BMI ภาวะซึมเศร้า ประชาชนในหมู่ 4 บ้านโหล๊ะบ้า ที่มีอายุ 35 ขึ้นไปและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
1. จัดคัดกรองความดัน เจาะเลือดคัดกรองระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ตรวจวัด ค่า BMI ภาวะซึมเศร้า ประชาชนในหมู่ 4 บ้านโหล๊ะบ้า ที่มีอายุ 35 ขึ้นไปและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน รพ.สต.โหล๊ะบ้าร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านทางที่ประชุมในหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ 3.จัดอบรมให้ความรู้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย พร้อมให้บริการตรวจคัดกรองภาวะความดันโลหิตสูงและตรวจเบาหวานโดยการเจาะเลือด พร้อมแปรผลการตรวจเลือด

- ค่าอาหารเครื่องดื่มและอาหารว่าง มื้อละ 25 บาท จำนวน 400 คน เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 1 เครื่อง ราคา 5,000 บาท
4.ดำเนินการตามระบบส่งต่อเพื่อยืนยันผลการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรับการรักษาในกรณีที่พบผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 2 2. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรค

ชื่อกิจกรรม
2. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รับสมัครสมาชิกที่มีรอบเอว BMI เกินหรือประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่สนใจเข้าร่วมโครงการประเมินความรู้ ซักประวัติ ประเมินภาวะสุขภาพ กำหนดเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการ โดยรอบเอวน้ำหนักและค่า BMI ต้องลดลงร้อยละ 10ของก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยบันทึกข้อมูลลงในสมุดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำตัวของผู้เข้าร่วม 2.1ดำเนินงานตามแผนงานโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ตามโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.2 จัดให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน
    รายละเอียด ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง จำนวน2 มื้อ มื้อละ 25 บาทจำนวน 50 คน เป็นเงิน2,500 บาท ค่าอาหารกลางวันมื้อละ70 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน3,500บาท ค่าอุปกรณ์สาธิตประกอบการอบรมเช่น อาหารตัวอย่างเป็นเงิน1,000บาท ค่าวิทยากรให้ความรู้จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาทจำนวน 1 คน เป็นเงิน3,000บาท 2.3ประเมินติดตามพฤติกรรม ประเมินภาวะสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว ทุกเดือนติดต่อกัน 3 เดือน
    ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่างมื้อละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 50 คน จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 3,750 บาท 2.4คัดเลือกบุคคลตัวอย่างที่มีการลดลงของ น้ำหนัก รอบเอว BMI ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนโดยกระบวนการของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.5 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมข้อเสนอแนะทางแก้ไขปัญหา
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนได้รับการคัดกรอง
2. ผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงในชุมชนที่ได้จากการคัดกรองได้รับการนัดหมายเพื่อตรวจซ้ำหรือได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาต่อเนื่อง
3. ผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนมีทักษะในการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนและสามารถส่งต่อเพื่อคัดกรองได้
4. ผู้มีภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความตระหนักในความสำคัญของการดูแลสุขภาพตลอดจน
มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
5.ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
6.ประชากรกลุ่มเสี่ยง สามารถประเมินน้ำหนักดัชนีมวลกาย รอบเอว ได้ด้วยตนเอง และสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้
7.ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีแนวทางเลือกปฏิบัติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตตนเอง มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
8.ประชากรเสี่ยง ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและครบวงจร ปรับจากกลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มปกติ


>