กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโพธิ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโพธิ์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์

ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวาน เป็นปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยและประเทศทางแถบเอเชียนั้น ผู้เป็นเบาหวานร้อยละ 99 เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมายทั้งชนิดเฉียบพลัน เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และการติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรังได้แก่ ไตวาย แผลเรื้อรังที่เท้า ต้อกระจกและตาบอด โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เป็นต้น และภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญมากของโรคเบาหวานที่ต้องให้ความสนใจไม่น้อยไปกว่าภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ นั่นก็คือ แผลที่เท้า แผลที่เท้าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีมักก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนปลาย ทำให้บริเวณเท้าชา ไม่รู้สึกเจ็บปวด ไม่รับรู้แรงกดดัน หรืออาจสูญเสียการรับรู้ร้อนหนาวได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือแม้แต่เมื่อมีแผลเกิดขึ้นที่เท้าก็จะไม่รู้สึกเจ็บทำให้แผลนั้นลุกลาม ถึงขั้นต้องตัดเท้า และเสียชีวิต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์ มีกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 165 คน ซึ่งมีจำนวนหนึ่งที่เป็นเรื้อรังมานาน ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามที่เส้นประสาทไปเลี้ยง ได้แก่ ชาปลายมือปลายเท้า นำไปสู่การเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย หลอดเลือดแดงตีบทำให้การอักเสบลุกลามง่าย แผลหายยากเมื่อเกิดเนื้อตาย โอกาสตัดเท้าสูง ทั้งยังส่งผลกระทบด้านการเงิน เวลา การทำงาน ความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ได้เห็นถึงความสำคัญในการดูแลเท้ากลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจมีปัญหาอาการแทรกซ้อนจากการที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จึงจัดให้มีการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูร่างกายในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาเท้า ด้วยการแช่เท้าและการนวดฝ่าเท้าลดอาการชาเท้า เพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่เท้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ลดอาการปวด ชาปลายเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน

1.กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 ได้รับการดูแลเท้าด้วยการแพทย์แผนไทย

0.00
2 2.เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

2.กลุ่มเป้าหมายที่ชาเท้าร้อยละ 80 ได้รับการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย อาการชาเท้าลดลง

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค่าวัสดุสำนักงาน

ชื่อกิจกรรม
ค่าวัสดุสำนักงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดจ้างทำป้ายไวนิล ขนาด ๑.๒๐ ม. x ๒.๕๐ ม.จำนวน ๑ ผืนๆละ ๔๕0 บาท เป็นเงิน ๔๕๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
450.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดจ้างทำเอกสารประกอบการอบรม

ชื่อกิจกรรม
2.จัดจ้างทำเอกสารประกอบการอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เอกสารประกอบการอบรม จำนวน  25  เล่มๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 3 ค่าอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ค่าอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มสำหรับ ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ดูแลที่เข้าร่วมอบรมให้ความรู้  จำนวน 50 คนๆละ 3 มื้อๆละ 30  บาท
เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 4 ค่าวัสดุสาธิต

ชื่อกิจกรรม
ค่าวัสดุสาธิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสาธิตการรักษาอาการชาเท้าด้วยการแช่เท้าสมุนไพรตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย เป็นเงิน 6,750 บาท เป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ ผิวมะกรูดแห้ง จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท - ตะไคร้แห้ง จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท - ไพลแห้ง จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท - ขมิ้นชันแห้ง จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท - เถาวัลย์เปรียงแห้ง จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท - เถาเอ็นอ่อนผง จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท - ขิงผง จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท - การบูรผง จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท - ผ้าดิบ จำนวน 20 หลาๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท - เชือกขาวเกลียว จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท - กะละมัง จำนวน 25 ใบๆละ 30 บาท เป็นเงิน  750 บาท - ผ้าขนหนูเช็ดเท้า ขนาด 15x30 เซนติเมตร จำนวน 50 ผืนๆละ 20 บาท
  เป็นเงิน  1,000 บาท - หม้อหุงข้าวไฟฟ้า สำหรับต้มสมุนไพรแช่เท้า ขนาด 5.5 ลิตร เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6750.00

กิจกรรมที่ 5 ค่าวัสดุสาธิต

ชื่อกิจกรรม
ค่าวัสดุสาธิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสาธิตการรักษาอาการชาเท้าด้วยการนวดฝ่าเท้ากดจุดตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย  เป็นเงิน 4,250 บาท เป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ ไม้กดจุด จำนวน 25 แท่งๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 875 บาท - ครีมนวดฝ่าเท้า ขนาด 500 มิลลิลิตร จำนวน 25 กระปุกๆ ละ 35 บาท
  เป็นเงิน 875 บาท - น้ำมันนวดฝ่าเท้า ขนาด 500 มิลลิลิตร จำนวน 25 ขวดๆ ละ 60 บาท
  เป็นเงิน 1,500 บาท - ยาหม่อง ขนาด 50 กรัม จำนวน 25 ขวดๆ ละ 40 บาท
  เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ลดอาการปวด ชาปลายเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน
๒. ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพเท้าที่ดี สามารถป้องกันการเกิดแผลที่เท้าได้


>