กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุตำบลกาวะมีภาวะสุขภาพดี ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

ชมรมผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ

หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่ต้องการตรวจสุขภาพ

 

400.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่ขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองเบื้องต้น

 

400.00
3 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

30.00
4 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

30.00

ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าในปี 2566 จะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปี อยู่ราว 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือเมื่อประเทศใดมี ประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 หรือประชากรอายุ 65 ขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผุ้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ ปี 2557 และจะเป็นสังคมผุ้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 หรืออีก 9 ข้างหน้า เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัยหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สุงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยบนแปลง มีความเสื่อมของร่างกายอวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยแปลงทางด้านจิตใจและสังคม
ชมรมผู้สุงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สฦูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุก ๆ ด้าน ดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุตำบลกาวะมีภาวะสุขภาพดี และจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุ โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองและตรวจสุขภาพ

400.00 400.00
2 เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุได้รับความรู้ด้านสุขภาพ

400.00 400.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

30.00 10.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

30.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 400
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจสุขภาพและฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในตำบลกาวะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสุขภาพและฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในตำบลกาวะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสุขภาพและฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในตำบลกาวะ จำนวน 400 คน - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 400 คน ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 400 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท - ค่าวิทยากร 1 คน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าป้ายไวนิล 720 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น52,320 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุในตำบลกาวะ ทั้ง 400 คน  ได้รับคัดกรองสุขภาพ และมีความรู้ที่ได้รับจากการเข้าการฝึกอบรมเรื่องสุขภาพมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52320.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,320.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และถ้าคัดกรองแล้วมีปัญหาสุขภาพ ก็ได้ให้เข้าการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลต่อไป
2. ผู้สูงอายุในตำบลกาวะได้รับการดูแลสุขภาพจากหน่วยงานของรัฐ เช่น รพ.สต.ในตำบลกาวะ
3. ผุ้สูงอายุได้รับการพัฒนาด้านจิตใจ สุขภาพ สังคม และได้พบปะเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน
4. ผู้สูงอายุได้รับการดูแลตามความเหมาะสมมีความรู้ มีทักษะการดูแลสุขภาพร่างกาย และสมารถนำความรฦฦู้ที่ได้จากการเข้าร่วมฝึกอบรมในครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน


>