กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโพธิ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมกิจกรรมออกกำลังกายโดยบาสโลบเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโพธิ์

ชมรม อสม. หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านโพธิ์

1. นางสุภาพรเขียวผอม เป็นประธาน
2. นางสุทิศาสงรักษา เป็นรองประธาน
3. นางอำภาชัยแก้ว เป็นกรรมการ
4. นางสุคนธ์พลวัฒน์ เป็นเหรัญญิก
5. นางชัดนวลแก้ว เป็นเลขานุการ

ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
กระบวนการเสื่อมของระบบต่างๆ ภายในร่างกายเป็นสภาวะปกติแต่อาจเกิดพยาธิสภาพได้ในบางคนที่ไม่ได้ดูแลสุขภาพเท่าที่ควร กระบวนการเสื่อมมีตั้งแต่เกิด แต่การเสื่อมถอยทั้งโครงสร้างและประสิทธิภาพการทำงานมักพบตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม อัตราการเสื่อมถอยของร่างกายในแต่ละคนมีความแตกต่างกันเนื่องจากการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งการออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า นอนหลับสบาย มีสุขภาพดีขึ้นในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมมีมากขึ้น มนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต การใช้กล้ามเนื้อและพลังกายลดลง ทำให้สมรรถภาพร่างกายและคุณภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่ลดลงตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาเพียงวันละ 30 นาที จะช่วยทำให้สมรรถภาพร่างกาย สมบูรณ์ แข็งแรง อีกทั้งยังลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งโรคเรื้อรังเหล่านี้กำลังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บาสโลบ (Paslop) คือการเต้นท้องถิ่นของประเทศลาว มีรูปแบบการเดินและการบิดหมุนลำตัวประกอบกับดนตรี โดยลักษณะเด่นของการเต้นชนิดนี้คือความมั่นคงในการทรงตัว มีการเคลื่อนไหวของร่างกายและการทรงตัวบนขาด้านใดด้านหนึ่งหรือมีการไขว้ขาประกอบกับดนตรี ขณะเคลื่อนไหวต้องมีการยักสะโพกและเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อสะโพกตลอดเวลากล้ามเนื้อเป็นกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่มีความสำคัญต่อการทรงตัวเป็นอย่างมาก จากลักษณะของการเคลื่อนไหวดังกล่าวเชื่อว่าการเต้นบาสโลบอาจช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวของร่างกายได้ ดังนั้น ชมรม อสม. หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านโพธิ์ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมออกกำลังกายโดยบาสโลบเพื่อสุขภาพขึ้น เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชนทุกช่วงวัยได้มีสุขภาพกายที่สมบูรณ์แข็งแรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายให้กับผู้เข้าร่วมโครงการทุกกลุ่มอายุโดยการเต้นบาสโลบเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายโดยการเต้นบาสโลบเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

31.00 31.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีการดูแลสุขภาพของตนเอง ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี ลดความเครียด และเกิดแกนนำสุขภาพในชุมชน

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีการดูแลสุขภาพของตนเอง ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี ลดความเครียด และเกิดแกนนำสุขภาพในชุมชน

31.00 31.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคภัยเงียบที่มาจากวิถีชีวิต ได้แก่โรคเบาหวาน ความดัน โรคมะเร็ง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และ โรคอ้วน

สามารถลดการเกิดโรคภัยเงียบที่มาจากวิถีชีวิต

31.00 31.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 31
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การออกกำลังกายโดยการเต้นบาสโลบ เพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การออกกำลังกายโดยการเต้นบาสโลบ เพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  2. ค่าจัดจ้างทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 300 บาท
  3. ค่าจัดจ้างทำคู่มือประกอบการอบรม จำนวน 31 ชุดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 930 บาท
  4. ค่าจัดซื้ออาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและวิทยากร จำนวน 32 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 960 บาท รวมเงิน 3,990 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3990.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการออกกำลังกายโดยการเต้นบาสโลบเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการออกกำลังกายโดยการเต้นบาสโลบเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 12 ครั้งๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าจัดซื้อตู้ลำโพงขยายเสียงเคลื่อนที่ ขนาด 18 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 8,000 บาท
  3. ค่าจัดซื้อแฟลชไดร์ฟ ขนาด 128 GB จำนวน 1 ตัว เป็นเงิน 650 บาท
  4. ค่าจัดซื้อปลั๊กไฟ ยาว 5 เมตร จำนวน 1 อัน
    เป็นเงิน 590 บาท
    รวมเงิน 12,840 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,830.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกกลุ่มอายุหันมาออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลบอย่างต่อเนื่อง
2. ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี ลดความเครียด และเกิดแกนนำสุขภาพในชุมชน
3. สามารถลดอัตราการเกิดโรคภัยเงียบที่มาจากวิถีชีวิต ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโรคมะเร็ง หัวใจ หลอดเลือดสมองและโรคอ้วน


>