กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำและอาหารปลอดภัยในชุมชน ปี 2566 รพ.สต.บ้านกูบู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู

1.นางน้ำฝน พรหมน้อย
2.นางอุทัยพร นาวี
3.นางสาวรอฮานา ยูโซ๊ะ
4.นางสาวสาวิตรี แซ่คู่
5.นางสาวหนึ่งฤทัย นอหะมะ

หมู่ 5 บ้านเกาะสวาด หมู่ 6 บ้านกูบู หมู่ 7 บ้านโคกยามู หมู่ 8 บ้านสะปอม และ หมู่ 10 บ้านบึงฉลาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการใช้ยาของประชาชนไม่สมเหตุสมผลและมีความเสี่ยงเป็นปัญหาที่มีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องหลายส่วนทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งยาร้านชำ ตลอดจนการควบคุมกฎหมาย ดังนั้นการดำเนินการจึงต้องใช้มาตรการที่หลากหลายทั้งความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาคีเครือข่ายสหวิชาชีพ หลายระดับ โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู มีพื้นที่รับผิดชอบ 5 หมู่บ้านจำนวนหลังคาเรือน1,0922 หลังคาเรือนมีประชากร 6,317คนมีร้านชำจำนวน 36 ร้าน ร้านประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ทำการเกษตรทำนาทำสวนเป็นต้น และจากการสำรวจร้านค้า พบว่ายังมีร้านชำ นำยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานผิดกฎหมายมาจำหน่ายให้แก่คนในชุมชน และจากการสอบถามผู้ประกอบการและประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับพิษภัยของการใช้ยา พบว่าไม่มีความรู้และไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่ตามมาจากการใช้ยาที่ไม่ปลอดภัยประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเซื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภคอาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าวและตำบลไพรวันส่วนใหญ่ร้านค้าร้านชำยังมีการจำหน่ายหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นอันตรายไม่ได้มาตรฐาน แก่ประชาชน จึงสะดวกต่อการเลือกซื้อมารับประทานเป็นอย่างมาก ทำให้มีโอกาสเสี่ยงจากผลข้างเคียงของยาและโรคที่เกิดจากการใช้ยาที่เกินความจำเป็นได้
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบูจึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการใช้ยาปลอดภัยในชุมชนขึ้นเพื่อการเฝ้าระวังการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผลโดยมุ่งหวังที่จะให้ผู้ประกอบการและแกนนำได้มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านการใช้ยาที่ถูกต้องและสมเหตุสมผล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมมาตรฐานสถานประกอบการ

ร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มากกว่าร้อยละ 50

0.00
2 เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

ผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านเกณฑ์ Primary GMP อย่างน้อย 1 กลุ่ม

0.00
3 เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้อเลือกใช้ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

สถานที่สาธารณะตามกฎหมายได้รับการจัดเป็นเขตปลอดบุหรี่ ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้า และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และสำรวจร้านขายของชำ/ร้านน้ำชา/แผงลอย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้า และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และสำรวจร้านขายของชำ/ร้านน้ำชา/แผงลอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ

1.กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในกลุ่มพ่อ/แม่/ผู้ปกครองพร้อมเด็กอายุ ๐-๖ ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม(คผ.)/ผอม (เฉพาะกลุ่มในหมู่บ้านไม่รวมกับกลุ่มใน ศพด.) จำนวน 27 คน

2.ส่งเสริมการดื่มนม รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เสริมสร้างภาวะโภชนาการเด็กอายุ ๐-๖ ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ.) และ ผอม จำนวน 27 คน

3.ติดตามชั่งน้ำหนักและประเมินภาวะทุพโภชนาการเด็กอายุ 0-6 ปี ที่มีประวัติภาวะโภชนาการค่อนข้างผอม (คผ.) และ ผอม เดือนละ 1 ครั้ง

4.ติดตามประเมินพัฒนาการตามช่วงอายุของเด็ก อายุ 0-6 ปี

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30คนๆละ 2 มื้อๆละ 25.- บาท เป็นเงิน 1,500.- บาท

2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 50.- บาทเป็นเงิน 1,500.- บาท

-ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้ายๆละ 700.-บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,700.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 3,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ประกอบการที่เป็นผู้จำหน่ายและผู้ผลิต มีการปฎิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น
2.ร้านขายของชำผ่านเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น
3.ประชาชนสามารถเลือกซื้ออาหารที่ถูกหลักโภชนาการ


>