กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2566 รพ.สต.บ้านกูบู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู

1.นางน้ำฝน พรหมน้อย
2.นางอุทัยพร นาวี
3.นางสาวรอฮานา ยูโซ๊ะ
4.นางสาวสาวิตรี แซ่คู่
5.นางสาวหนึ่งฤทัย นอหะมะ

หมู่ 5 บ้านเกาะสวาด หมู่ 6 บ้านกูบู หมู่ 7 บ้านโคกยามูหมู่ 8 บ้านสะปอม และหมู่ 10 บ้านบึงฉลาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของไทยอย่างรวดเร็วในปัจจุบันส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนทั้งในสังคมชนบทและสังคมเมืองต่างมีความเร่งรีบแข่งขันกับเวลาเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวจึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง หรือที่เรียกกันว่า โรควิถีชีวิต(LifestyleDiseases) เช่น การเร่งรีบกับการทำงานการบริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายมีภาวะเครียดจากปัญหาต่างๆที่รุนเร้าทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมสุขภาพไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายการรับประทานอาหารภาวะทางด้านอารมณ์การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองให้เหมาะสม

จากผลการตรวจคัดกรองสุขภาพ ปี 2565 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู ประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานร้อยละ 93.04พบประชากรกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 25.12 จากการทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมภาวะสุขภาพได้ดีขึ้น ร้อยละ 5.12พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 1.58 ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบูจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงปี 2566 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตสูง มีความรู้และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในเรื่อง 3 อ. 2 ส.และไม่เกิดกลุ่มป่วยและให้ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองขณะป่วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตมีความรู้และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในเรื่อง 3 อ. 2 ส.และไม่เกิดกลุ่มป่วย

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมี ความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรค

กลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมภาวะสุขภาพให้ดีขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมมหกรรมสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมมหกรรมสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมมหกรรมเพื่อกระตุ้นให้เจ้าของสุขภาพ ญาติ ภาคีสุขภาพในชุมชนร่วมในการดูแลสุขภาวะชุมชน
2.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บุคคลต้นแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ความดันโลหิตสูง เบาหวานลดลง

3.ส่งเสริมการปลูกผักกินเองในในครัวเรือนและออกกำลังกายร่วมกัน
4.อสม.นัดกลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามรถควบคุมระดับน้ำตาล และความดันโลหิตสูงได้ ทำกิจกรรมและตรวจคัดกรองทุกๆ 3 เดือนครั้ง

งบประมาณ -ค่าอาหารว่าง ในการจัดกิจกรรม จำนวน 2 มื้อX 25 บาท X 70 คน X 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,000.-บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ X 50 บาท X 70 คน X 2 ครั้งเป็นเงิน 7,000.- บาท
-ป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้ายๆละ 700.-บาท เป็นเงิน 14,700.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้
2.อัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังรายใหม่ลดลง


>