กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองปาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยสุขภาพดีทั้งกายใจ ด้วยสายใยรักแห่งครอบครัว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองปาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดมีความรู้ตระหนักในการฝากครรภ์ตามเกณฑ์และการดูแลเด็กหลังคลอดให้มีสุขภาพดี ๒.เพื่อให้ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด ๓.สร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ชุมชนส่งเสริม สนับ สนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ๔.เพื่อขับเคลื่อนตำบลต้นแบบ “ตำบลนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว” ๕.เพื่อสร้างเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากครอบครัวสู่ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๖.เพื่อขับเคลื่อนคลินิกวัยรุ่น ป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

๑.อัตราความครอบคลุมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน๑๒สัปดาห์ตามเกณฑ์ ร้อยละ ๖๐ ๒.อัตราความครอบคลุมการดูแลหญิงตั้งครรภ์5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 60 ๓.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ๔.มีการขับเคลื่อนกติกาทางสังคมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ๕.มีศูนย์เรียนรู้นมแม่ในรพ.สต.คลองปาง ๖.มีปราชญ์นมแม่อย่างน้อยหมู่บ้านละ1คน ๗.ข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว6เดือน ร้อยละ 60 ๘.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดซ้ำ น้อยกว่าร้อยละ ๑๐

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

๑.จัดทำชี้แจงโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลคลองปาง
๒.ประชาสัมพันธ์โครงการ
๓.สำรวจข้อมูลและจัดทำแผนที่เดินดินตำบลนมแม่
๔.ขับเคลื่อนแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ตำบลตำบลนมแม่และแผนปฏิบัติโดยคณะกรรมการตำบลนมแม่ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ติดตามผลการดำเนินงาน ไตรมาศ ละ1 ครั้ง
๕.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๖ เดือนต่อ 1 ครั้งเพื่อสร้างความรู้และความเชื่อมั่นปรับเปลี่ยนทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของครอบครัวและชุมชน
๖.อบรมพัฒนาศักยภาพอสม.เชี่ยวชาญนมแม่ และสร้างกระแส ประชาสัมพันธ์ “ตำบลนมแม่”ทางสื่อสารชุมชน เช่น เสียงตามสาย แผ่นพับไวนิล หอกระจายข่าว สื่อบุคคล จำนวน 4 ชุมชนเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยอสม.เชี่ยวชาญนมแม่
๗.จัดอบรมให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และผู้มีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก
๘.ค้นหาปราชญ์นมแม่อย่างน้อยหมู่บ้านละ1คน
๙.ติดตามเยี่ยมบ้าน 6 ครั้ง/คน ( แรกเกิด 7วัน,14 วัน,1 เดือน,2 เดือน,4 เดือนและ6 เดือน) ตามเกณฑ์ เพื่อสร้างความรู้และความเชื่อมั่นปรับเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อที่ถูกต้องในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดครอบครัว โดยทีมเยี่ยมบ้าน
๑๐.พัฒนามุมเรียนรู้อนามัยแม่และเด็กและศูนย์เรียนรู้นมแม่ เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว และคลินิกวัยรุ่น เพื่อให้คำปรึกษาป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
๑๑.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ
งบประมาณ
๑.อบรมหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และผู้ดูแลเด็ก จำนวน ๕๐ คน
- ค่าเอกสารความรู้และแบบประเมินก่อนและหลังอบรมจำนวน๕oชุดๆละ ๑๐ บาทเป็นเงิน ๕o๐บาท
-ค่าวิทยากรในการอบรมและบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้(300บาท x ๓ ชั่วโมงx ๒ครั้ง )เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท
-ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๕๐ คนๆละ ๒๕บาท x ๒ ครั้ง เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท
๒.อบรมความรู้ อสม.เชี่ยวชาญ จำนวน ๒๐ คน
-ค่าเอกสารความรู้
อสม.เชี่ยวชาญ จำนวน ๒๐ชุดๆละ๑๐ บาท เป็นเงิน ๒๐๐ บาท
-ค่าวิทยากร ในการอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.เชี่ยวชาญ งาน อนามัยแม่และเด็ก และตำบลนมแม่ จำนวน ๒ คน ๆละ๓ชั่วโมง เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท
-ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง ๒มื้อ จำนวน ๒๕ คน ๆละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท
๓.ค่าเอกสารชุดสำรวจครัวเรือนตำบลนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว ชุดละ ๑๐ บาท จำนวน ๕๐ ครัวเรือน เป็นเงิน ๕๐๐บาท
๔.ค่าอาหารว่างสำหรับคณะกรรมการตำบลนมแม่ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน ๑๐คนๆละ ๒๕บาท x ๓ ครั้ง เป็นเงิน ๗๕๐ บาท
๕.ค่าจ้างเหมาจัดมุมศูนย์เรียนรู้นมแม่ ๓,๐๐๐ บาท
๖.ค่าไวนิลขนาด ๑*๔เมตร ๕แผ่น ๆละ ๕๐๐บาท เป็นเงิน ๒,๕00บาท
๗.โฟมบอร์ดสื่อการเรียนรู้ ๒,๐๐๐ บาท
๘.ประกาศนียบัตรปราชญ์นมแม่ และแม่ดีเด่น พร้อมกรอบไม้ ๑,๕๐๐ บาท
๙.สื่อนวัตกรรม ๑,๐๐๐บาท
๑๐.ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน จำนวน๒เล่มๆละ๕๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๐๐๐บาท
๑๑.ค่าวัสดุในการดำเนินงาน เป็นเงิน ๒,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น๒๒,๕๕oบาท

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>