กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำและส่งเสริมความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีใหม่ โดยใช้หลักสูตร 7 สัปดาห์สุขภาพดีหุ่นดี ที่บ้านในเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำและส่งเสริมความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีใหม่ โดยใช้หลักสูตร 7 สัปดาห์สุขภาพดีหุ่นดี ที่บ้านในเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

โรงพยาบาลตะโหมด

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลแม่ขรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันประเทศไทยมีความเสี่ยงและเป็นระดับประเด็นที่ท้าทายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส 2019 (COVID-19) และโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งสร้างความรู้ด้านสุขภาพให้ประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดการสุขภาพของตนเองได้ ประชาชนไทย เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเกิดจากที่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จาการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบว่าคนวัยทำงานอายุ 15 ปี ขึ้นไป มีพฤติกรรมกินผักผลไม้ต่อวันเพียงพอตามข้อแนะนำเพียงร้อยละ 25.9 มีดัชนีมวลกาย (ฺBMI) อยุ่ในเกณฑ์ปกติเพียงร้อยละ 36.43 มีภาวะอ้วน ร้อยละ 37.5 พบโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 24.7 โรคเบาหวานร้อยละ 8.9 ภาวะไขมันในเลือดสูงร้อยละ 16.4 และจากการสำรวจระดับกิจกรรมทางกายในประชากรไทย โดยศูนย์พัฒนาองค์กรความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) พบว่า ในปี2563ประชากรวันทำงาน (อายุ 18-59 ปี) มรกิจกรรมมางกายเพียงพอลดลงเหลือร้อยละ 54.7 จากที่ปี 2562 มีกิจกรรมทางกายเพียงพอร้อยละ 74.6 และจากการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมประชาชนไทยวันทำงาน (15-59 ปี) มีความรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. อยู่ระดับไม่ดีร้อยละ 49 จึงอาจส่งผลให้ระดับออกกำลังกาย และพฤติกรรมการจัดการความเครียด
จากการคัดกรองสุขภาพของประชาชนในเขตโณงพยาบาลตะโหมด ปี 2565 พบว่า มีประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 821 ราย และกลุ่มเสี่ยงโรคคสามดันโลหิตสูง จำนวน 661 ราย (ระบบ HHC กระทรวงสาธารณสุุข 2565 ) จาการศึกษาประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนวัยทำงาน ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ สามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพและเข้าใจข้อมูลด้านสุขภาพ พบว่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 และ 4.16 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก สำหรับการประเมินข้อมูลและบริการสุขภาพ และการประยุกต์ใช้ข้อมูลและบริการสุขภาพ พบว่าค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 และ 3.93 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดีและการประเมินพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงาน พบว่า ประชาชนทำงานส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมการจัดการความเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุราพบว่าค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 4.47 และ 6.29 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก สำหรับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 พบว่าค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับดี พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการการออกกำลังกาย พบค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.37 และ 3.28 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับพอใช้ (โสรยา มีหมื่นผล 2565)
ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมการดูแลสุภาพที่เหมาะสม จึงต้องยกระดับความรอบรู้ดเ้านสุขภาพให้กลุ่มคนดังกล่าว สามารถเข้าถึงเข้าใจข้อมูลความรู้เด้านสุขภาพ และตัดสินใจจัดการสุขภาพตนเองให้มีสุขภาพ และการตัดสินใจจัดการสุขภาพตนเองให้สุขภาพดีได้ นำไปสู่การสร้างผลผลิต สร้างรายได้ครัวเรือนสร้างสังคมแห่งความสุข เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ตอบสนองต่อการขับเคลื่อนเศรษกิจของประเทศชาติให้มีความมั่นคง มั่นคั่ง ยังยืน กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ บริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมโรค ฟื้นฟูสภาพ และให้บริการรักษษโรคเบื่องต้นในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลแม่ขรี ตระหนักถึงความสำคัญที่ดูแลสุขภาพแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลี่งลดลง ในเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี ปีงบประมาณ 2566 ขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างเสริมศักยภาพแกนนำดีวิถีใหม่ในชุมชนโดยใช้หลักสูตร 7 สัปดาห์สุขภาพดี หุ่นดี ที่บ้าน

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และแนวทางในการปรับเปลี่ยพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีใหม่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

2.กลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคที่เหมาะสม เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
1.ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุน โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำและส่งเสริมความรอบบรู้สู้งสุขภาพดีวิถีใหม่ โดยใช้หลักสูตร 7 สัปดาห์สุขภาพดีหุ่นดี ที่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี 1.2ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สนใจ อาศัยอยุ่ในเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี ที่มีดัชนีมวลกาย(ฺBMI)เกิน 23 เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
2.ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำแลัส่งเสริมความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีใหม่ โดยใช้หลักสุตร 7 สัปดาห์สุขภาพดี 2.มอบหมายภารกิจพิชิตสุขภาพดี และติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ต่อเนื่องเป็นเวลา 7 สัปดาห์ ผ่านไลน์กลุ่ม 3.ถอดบทเรียนและสรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสูตร 7 สัปดาห์สุขภาพดี หุ่นดี ที่บ้าน 4. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมจ้อเสนอแนะทางแก้ไข้

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนศักยภาพแกนนำและส่งเสริมความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีใหม่ โดยใช้หลักสูตร 7 สัปดาห์สุขภาพดี หุ่นดี ที่บ้าน จำนวน 30 คน งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 ตน คนละ 25 บาท* 2 มื้อ เป้นเงิน 1,500 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน คนละ 65 บาท *1 มื้อ เป็นเงิน 1,950 บาท 3.ค่าคู่มือบันทึกสุขภาพ 7สัปดาห์สุขภาพดี หุ่นดี ที่บ้าน จำนวน 30 เล่ม เล่มละ 80 บาท เป้นเงิน 2,400 บาท -ถอดบทเรียนและสรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสูตร 7 สัปดาห์สุขภาพดี หุ่นดี ที่บ้าน
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท x 1 มื้อ      เป็นเงิน    750 บาท 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม                  เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเงินทั้งหมด 7,600 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

กิจกรรมที่ 3 3. ขั้นสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
3. ขั้นสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-สรุปรายงานผลเป็นรูปเล่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

7.1 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
7.2 กลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคที่เหมาะสม เพิ่มขึ้นร้อยละ 20


>