กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะโรคโลหิตจางในเด็กอายุ 6 -12 เดือน ในตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โลหิตจางหรือภาวะซีด (anemia) เป็นปัญหาทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วย
จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี ระหว่าง ปี พ.ศ.2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 ในขณะที่เด็กในเขตเมืองพบความชุกของโลหิตจางร้อยละ 26 นอกจากนี้โลหิตจางยังเป็นหนึ่งในสาเหตุ 5 อันดับแรกที่ส่งผลต่อสุขภาวะของเด็กไทยโลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) สาเหตุจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น 2) สาเหตุจาก การเสียเลือดอาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่าง ๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลใน กระเพาะอาหาร เป็นต้นทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุด ในบรรดาภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงธาตุเหล็กมีมากในสมอง เป็นส่วนประกอบของ myelin sheath, neurotransmitters และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค เด็กทุกคนมีโอกาสเกิด “ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก” กันได้ทั้งนั้น ในเด็กไทยทุก 100 คน จะตรวจพบโรค โลหิตจางสูงถึง 30 คน อาการที่พบเห็นได้ทั่วไป คือ เด็กจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ พัฒนาการล่าช้า จิตใจและพฤติกรรมเซื่องซึม ไม่อยากอาหาร ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย มีปัญหาด้านการเจริญเติบโต มีปัญหาด้านการเรียน ขาดความสนใจและสมาธิในการเรียน สติปัญญาด้อยลง ไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์ ผลการเรียนแย่ลง เด็กๆควรได้รับการเจาะเลือดเพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ในช่วงอายุ 6 - 12 เดือนดังนั้นควรมีการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ให้การป้องกันในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง และให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพราะหากปล่อยไว้อาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุดจากสถานการณ์ของตำบลบางปูในปี 2565 ที่ผ่านมา ได้รับการตรวจจากศูนย์อนามัยที่ 12 จากการเจาะเลือดเพื่อดูค่าสารสีแดงในเซลล์เม็ดเลือดแดง (Hemoglobin) ในเด็กอายุ 6-12 เดือน จำนวน 24 ราย โดยใช้เครื่องตรวจ Hemo cue พบภาวะโลหิตจาง จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 58.33 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 20)

ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูจึงได้เล็งเห็นปัญหาทางด้านสุขภาพ จึงจัดทำโครงการ “เฝ้าระวังภาวะโรคโลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน” ขึ้นมาเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ ของเด็กและดูแลแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้เด็กตำบลบางปู มีสุขภาพดีปราศจากภาวะโลหิตจาง พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน

1.เพื่อเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6-12 เดือน

0.00
2 2.เด็กที่ตรวจพบภาวะโลหิตจางได้รับการรักษาและส่งต่อ

2.เด็กอายุ 6-12 เดือน มีภาวะโลหิตจางได้รับการส่งต่อร้อยละ 60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 68
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็ก 68

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานและให้ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคโลหิตจางในเด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานและให้ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคโลหิตจางในเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานและให้ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคโลหิตจาง ในเด็ก แก่อาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลบางปูจำนวน 72 คน - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 72 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 72 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าไวนิล ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร (ตร.เมตรละ 250 บาท) จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน750 บาท - ค่าเอกสารในการจัดประชุม
รายละเอียดดังนี้ 1 สมุดปกอ่อน ขนาด A4 จำนวน 72 เล่มๆ ละ 15 บาทเป็นเงิน1,080บาท 2 ปากกา จำนวน 72 แท่งๆ ละ10 บาทเป็นเงิน 720บาท
3 แฟ้มพลาสติกใสจำนวน 72 แฟ้มๆ ละ15 บาทเป็นเงิน 1,080 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อสม.มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลและป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9030.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางในเด็ก และสาธิตเมนูอาหารที่เพิ่มธาตุเหล็ก แก่ผู้ปกครองเด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางในเด็ก และสาธิตเมนูอาหารที่เพิ่มธาตุเหล็ก แก่ผู้ปกครองเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางในเด็กและสาธิตเมนูอาหารที่เพิ่มธาตุเหล็ก แก่ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 68 คน และเจาะเลือดเด็กจำนวน 68 คน กิจกรรมย่อย2.1 ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
2.2 เจาะเลือดปลายนิ้วในเด็กอายุ 6-12 เดือน เพื่อประเมินภาวะโลหิตจาง
2.3 แจ้งผลการคัดกรองให้กับผู้ปกครองได้ทราบ
2.4 สาธิตเมนูอาหารที่เพิ่มธาตุเหล็ก - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 136 คนๆละ 50 จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน6,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 136 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,400 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าเอกสารให้ความรู้โภชนาการสำหรับการดูแลเด็กจำนวน 68 ชุด เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าเอกสารในการจัดประชุม/จัดทำโครงการ/ การสรุปโครงการ รายละเอียดดังนี้ 1 สมุดปกอ่อน ขนาด A4 จำนวน 68 เล่มๆ ละ 15 บาทเป็นเงิน 1,020บาท 2 ปากกา จำนวน 68 แท่งๆ ละ10 บาทเป็นเงิน 680บาท
3 แฟ้มพลาสติกใสจำนวน 68 แฟ้มๆ ละ15 บาทเป็นเงิน 1,020 บาท - ค่าอุปกรณ์สำหรับสาธิตการประกอบอาหารเพิ่มธาตุเหล็กเป็นเงิน 2,000 บาท -เครื่องเจาะเลือดตรวจ Hemoglobin (Hemo cue รุ่น Hb801)เป็นเงิน35,000 บาท -แผ่นตรวจเลือด ชิ้นละ 25 บาท จำนวน 100 ชิ้นเป็นเงิน 2,500 บาท -เข็มเจาะเลือด ชิ้นละ 2.5 บาทจำนวน 100 ชิ้น เป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กอายุ 6-12 เดือน ได้รับการคัดกรองร้อยละ 80 2.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลและป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
58270.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผล Hemoglobin กลุ่มที่มีภาวะโลหิตจาง และ ส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผล Hemoglobin กลุ่มที่มีภาวะโลหิตจาง และ ส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผล Hemoglobin กลุ่มที่มีภาวะโลหิตจาง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในรายที่มีภาวะโลหิตจางซ้ำ ส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป - แผ่นตรวจเลือด ชิ้นละ 25 บาท จำนวน3 100 ชิ้นเป็นเงิน2,500 บาท - เข็มเจาะเลือด ชิ้นละ 2.5 บาทจำนวน 100 ชิ้นเป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 6-12 เดือน ที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการส่งต่อร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 70,050.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามความเป็นจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุ 6-12 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจาง และได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก
2. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลและป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก
3. เด็กที่ตรวจพบภาวะโลหิตจางได้รับการรักษาติดตามและส่งต่อ


>