กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำเทศบาลตำบลแม่ขรี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

โรงพยาบาลตะโหมด

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด

เขตพื้นที่เทศบาลตำบลแม่ขรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่าการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นการเสียชีวิตอันดับที่ 3 รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเอดส์ สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทย พบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมีจำนวนการเสียชีวิตสูงกว่าโรคติดต่อนำโดยแมลงและโรคไข้เลือดออกถึง 14 เท่าตัว จากข้อมูลสำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารรศุข พบว่าทุกๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุกๆ 1 เดือนประเทศไทยสูญเสียเด็กจากการจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 90 คน จากข้อมูลสถิติปี 2565 ของจังหวัดพัทลุง มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ จำนวน 6 ราย จากประชากรเด็กทั้งหมด 72,901 คน คิดเป็นร้อยละ 2.98 ต่อแสนประชากรส่วนในพื้นที่อำเภอตะโหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562-2565 พบเด้กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจำนวน 4 ราย
ประกอบกับรัฐบาลมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ ควรออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ สำหรับท้องถิ่นในการขุดแหล่งน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ต้องมีมาตรการในการป้องกันเพื่อไม่ให้แหล่งน้ำดังกล่าวกลายเป็นแหล่งน่ำเสี่ยงของชุมชยเช่นเดียวกับแหล่งน้ำที่จัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว (น้ำตก ทะเล อ่างเก็บน้ำ สวนน้ำ) และสระว่ายน้ำ จำเป็นต้องกำหนดให้มีมาตรการความปลอดภัย เช่น มีเจ้าหน้าที่ดูแล การมีกฎระเบียบให้ผู้มารับบริการทุกคนต้องสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่เดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ การมีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำ การมีป้าย/ธงแจ้งเตือน (ห้ามลงเล่นน้ำ น้ำลึก น้ำวน) ป้ายบอกระดับความลึกของน้ำ และควรให้ทุกหน่วยงานในพื้นที่มีการสร้างทีมเครือข่ายผู้ก่อการดี (Merit Maker) เพื่อดำเนินงานป้องกันการจมน้ำ อย่างน้อยตำบลละทีม เพื่อให้เกิดการบูรณาการการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำของหน่วยงานและภาคส่วยต่างๆครอบคลุมทุกมาตรการในระดับพื้นที่ และเน้นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด และเทศบาลตำบลแม่ขรี ได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำเทศบาลตำบลแม่ขรี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในระดับพื้นที่

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ และสร้างทีมในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ

0.00
2 .เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้เรื่องปลอดภัยทางน้ำการปรับปรุงแหล่งน้ำเสี่ยง การใช้คอกคั้นเด็กและการปฐมพยาบาลให้การปฐมพยาบาลให้การให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องความปบอดภัยทางน้ำ และพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้

0.00
3 3. เพื่อให้มีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำ และมีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้

ทีมผู้ก่อการดีผ่านเกณฑ์การรับรองระดับทองแดง

0.00
4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชนและรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง

สามารถให้กลุ่มเป้าหมาย มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชนและรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 37
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ขั้นเตรียม

ชื่อกิจกรรม
1.ขั้นเตรียม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประสานทีม -วางแผน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
2.ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ศึกษาข้อมูลสถานการณ์การเสียชีวิตจากการจมน้ำ
  2. ประชุมวางแผนเตรียมความพร้อม ประชุมคณะกรรมการ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
  3. สำรวจแหล่งน้ำเสี่ยง และจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง ในพื้นที่ ม.1 และ ม.6 ตำบลแม่ขรี
  4. จัดอบรมทีมผู้ก่อการดีภาคีบ้านแม่ขรี จำนวน 1 รุ่น ระยะเวลา 1 วัน
  5. ลงให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เรื่องแหล่งน้ำเสี่ยงและการปรับปรงแหล่งน้ำเสี่ยง ในพื้นที่ การใช้คอกกั้นเด็กและการจัดการแหล่งน้ำในบ้านเรือน และการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น
  6. สื่อสาร ประชาสัมพันธ์บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว และรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำในหมู่บ้าน/ชุมชน สถานศึกษา
  7. ประชุมติดตามการดำเนินงานทีมผู้ก่อการดีภาคีบ้านแม่ขรี และรานงานผลการดำเนินโครงการ
  8. ประชุมมสรุป/ประเมินผลโครงการ
    กิจกรรมให้ความรู้ -ความปลอดภัยทางน้ำ กิจกรรมภาคปฏิบัติ -การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)
    -การป้องกันการจมน้ำ การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ช่วยลอยตัว และ การลอยตัวรูปแบบต่างๆ
    -ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำตามมาตรฐานสากล “ตะโกน โยน ยื่น” งบประมาณ

- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง 600 × 6 ชั่วโมง = 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 37 คน 25 บาท × 2 มื้อ × 37 คน = 1,875 บาท - ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 65 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 37 คน 65 บาท × 1 มื้อ × 37 คน = 2,405 บาท - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาดด 1.2 × 2.4 เมตร จำนวน 4 แผ่น = 2,400 บาท ทั้งหมด 10,255 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10255.00

กิจกรรมที่ 3 3.ขั้นสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
3.ขั้นสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ส่งรายงานรูปเล้ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,255.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการจัดการให้มีการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินงานตามาตรการดำเนินงานป้องกันเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ ผ่านการรับรองมตราฐาน
2. 2 หมู่บ้าน ในพื้นที่เทศบาลตำบลแม่ขรี ไม่มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ


>