กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภคเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

เทศบาลตำบลโตนดด้วน

ตำบลโตนดด้วน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหาร นอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้ ซึ่งในตำบลโตนดด้วนมีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษอยู่หลายหมู่บ้าน เช่นหมู่ที่2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่8เทศบาลตำบลโตนดด้วนได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภคเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อไป

เทศบาลตำบลโตนดด้วน เล็งเห็นถึงความสำคัญและความปลอดภัยของผู้บริโภคในตำบลโตนดด้วนจึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภคเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยด้านอาหารที่สะอาด การผลิตอาหารที่ปลอดสารเคมี สินค้ามีคุณภาพ มีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในตำบลโตนดด้วน ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อนำไปประกอบอาหารจะได้บริโภคผักปลอดสารพิษ ทำให้ประชาชนปลอดโรค ปลอดภัย ร่างกายสุขภาพแข็งแรง อันจะนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีของประชาชน ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ผลิตพืชผัก เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร การผลิตพืชผักที่สะอาด มีคุณภาพปลอดสารพิษ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการ  มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร การผลิตพืชผักที่สะอาด มีคุณภาพปลอดสารพิษ

60.00 100.00
2 เพื่อสง่เสริมให้ผู้ผลิตพืชผักมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษลดการใช้สารเคมี

ผู้เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษลดการใช้สารเคมี

80.00 100.00
3 เพื่อให้ผู้ผลิตพืชผักได้รับการตรวจสารปนเปื้อนในพืชพืชผักตามมาตรฐาน GAP

ผู่้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจสารปนเปื้อนในพืชผักตามมาตรฐาน GAP

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจหาสารเคมีในเลือด (ครั้งที่ 1)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจหาสารเคมีในเลือด (ครั้งที่ 1)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ชั่งน้ำหนัก และวัดความดันโลหิตสูง(ก่อนการปรับเปลี่่ยนพฤติกรรม) 2 เจาะหาสารเคมีในเลือดแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 3 วิเคราะห์หาสารพิษในเลือดแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ครั้งที่ 1 -ค่าชุดอุปกรณ์ตรวจหาโคลีนแอสเตอเรสในเลือด จำนวน 2 ชุดๆละ 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทราบว่าร่างกายของตัว มีสารพิษปนเปื้อนในเลือดหรือไม่ สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรม ให้ความรู้ เรื่องอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม ให้ความรู้ เรื่องอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อยอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ - โทษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช - ให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค - การให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ - การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ มาใช้สารชีวินทรีย์ในการป้องกันศัตรูพืช ในการปลูกผักปลอดสารพิษ

2.2.แต่งตั้งคณะทำงานในการขับเคลื่อนกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ2.1 กิจกรรมย่อยอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ - โทษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช - ให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค - การให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ - การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ มาใช้สารชีวินทรีย์ในการป้องกันศัตรูพืช ในการปลูกผักปลอดสารพิษ

2.2.แต่งตั้งคณะทำงานในการขับเคลื่อนกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ

  1. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าป้ายไวนิลชื่อโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2x2.4 เมตร เป็นเงิน 518 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท วิทยากร 2 คน ผู้เข้าอบรม 30 คน เจ้าหน้าที่4 คน เป็นเงิน 2,160 บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท ผู้เข้าอบรม 30 คน วิทยากร2 คน เจ้าหน้าที่ 4 คนเป็นเงิน 1,800 บาท
  5. ค่าจัดซื้อชุดน้ำยาตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร จำนวน2 ชุด เป็นเงิน 5,580 บาท 6.จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ผัก เช่น
    -ผักบุ้ง 30 ซอง ๆ ละ 25 บ. เป็นเงิน 750 บ. -ผักคะน้า 30 ซอง ๆ ละ 25 บ. เป็นเงิน 750 บ.
    -ผักกาดขาว 30 ซอง ๆ ละ 25 บ. เป็นเงิน 750 บ. -ผักกวางตุ้ง 30 ซอง ๆ ละ25 บ. เป็นเงิน 750 บ. -ถั่วฝักยาว 30 ซอง ๆ ละ25 บ. เป็นเงิน 750 บ.
  6. ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทำปุ๋ยหมักน้ำฆ่าแมลง/ปุ๋ยหมักแห้ง

- ปุ๋ยคอก จำนวน 40 กระสอบ ๆ ละ 40 บ. เป็นเงิน 1,600 บ. - แกลบดำ จำนวน 20 กระสอบ ๆ ละ50 บ. เป็นเงิน 1,000 บ. - กากน้ำตาล จำนวน50กก. ๆ ละ 12 บ. เป็นเงิน 600 บ. - ข่า จำนวน20 กก. ๆ ละ 40 บ. เป็นเงิน800 บ. - ตะไคร้ จำนวน 9 กก. ๆ ละ 30 บ. เป็นเงิน 270 บ. - ถังฝาล็อค ขนาด 200 ลิตร จำนวน 1 ถัง เป็นเงิน 1,000 บ. - รำ จำนวน30กก. ๆ ละ10 บ. เป็นเงิน 300 บ.
-ปุ๋ยยูเรีย จำนวน 25 กก. ๆ ละ 40 บ. เป็นเงิน1,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ โทษของสารเคมมีในอาหาร การบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัย มีจิตสำนึกในการปลูกผักปลอดพิษเพื่อบริโภค ไม่ใช้สารเคมีในการปราบศัตรูพืช  ทำให้สุขภาพแข็งแรง ปลอดโรค ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23978.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 คณะทำงานลงพื้นที่ติดตามประเมินผล 2 ส่งเสริม ให้คำแนะนำและตรวจแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ 3 สรุปผลการตรวจติดตามประเมินผล -ค่าตอบแทนคณะทำงานติดตามประเมินผล  จำนวน 10 คน ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มคู่มือสำรวจแปลงพืชผัก จำนวน  30 ชุด ๆ ละ 2 บาท  เป็นเงิน 60 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 10 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานติดตามลงพื้นที่ประเมินแปลงผักปลอดสารพิษตามมาตรฐาน GAP จะได้ผักปลอดสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1060.00

กิจกรรมที่ 4 การจัดกิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคและจัดบู๊ทแสดงสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
การจัดกิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคและจัดบู๊ทแสดงสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 กิจกรรมย่อยชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตสูง และเจาะหาสารเคมีในเลือด (หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม) ครั้งที่ 2 1.ชั่งน้ำหนัก และวัดความดันโลหิตสูง 2.เจาะหาสารเคมีในเลือดแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 3.วิเคราะห์หาค่าสารพิษในเลือดให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ครั้งที่ 2

4.2 ผู้เข้าร่วมโครงการนำผักปลอดสารพิษมาแสดงเพื่อประกวด และตรวจหาสารตกค้างในพืชผัก 4.3 กิจกรรมการประกวดพืชผักสวยงาม ปลอดจากสารพิษ 4.4  กิจกรรมมอบใบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ที่ผ่านการตรวจพืชผักที่ผ่านมาตรฐานอาหารปลอดภัย -ค่าจัดทำป้ายประกาศนียบัตร GAP ผักปลอดสารพิษแก่ผู้ที่ผ่านการตรวจผักปลอดสารพิษ  เป็นเงิน  500 บ.
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท  จำนวน 30 คน วิทยากร 1 คน  เจ้าหน้าที่ 4 คน เป็นเงิน  1,750     บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท  จำนวน 30 คน วิทยากร 1 คน เจ้าหน้าที่ 4 คน เป็นเงิน 2,100    บาท - ป้ายไวนิลการประชาสัมพันธ์การประกวดพืชผักปลอดสารพิษ ขนาด 1.2*2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย  เป็นเงิน 518  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 1 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จะได้ผักปลอดสารพิษ     ประชาชนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ทำให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ลดการเกิดโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8468.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,506.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในตำบลโตนดด้วนได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัย ส่งผลให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี
2.ประชาชนที่ปลูกผักในตำบลโตนดด้วนลดการใช้สารเคมี และได้บริโภคอาหารที่ปลอดโรคปลอดภัย
3.ประชาชนสุขภาพแข็งแรง


>