กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนโตนดด้วนรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการจัดการขยะชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมตำบลโตนดด้วน

1.นายสมชาย ขุนทอง
2.นางจำรัส ปานอินทร์
3.นายสมศักดิ์ นุ่นยัง
4.นางจำเพ็ญ คงรอด
5.นายอนนท์ ดวงจันทร์

ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ข้อมูลทั่วไปของตำบลโตนดด้วน มีพื้นที่ประมาณ35.32ตารางกิโลเมตร มี 11 หมู่บ้าน 2,475 ครัวเรือน มีประชากรประมาณ 6,200 คน สถานการณ์ขยะในพื้นที่ตำบลโตนดด้วน จากการสำรวจข้อมูลขยะในครัวเรือนพบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 4 - 5ตัน/วัน ซึ่งครัวเรือนมีการจัดการขยะกันเอง เนื่องจากประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะไม่เพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาขยะที่มีปริมาณมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน เช่น กลิ่นรบกวน และน้ำเน่าเสียจากอินทรีย์สารในขยะเกิดการเน่าเปื่อยเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค เป็นต้น ซึ่งปัญหาขยะส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก การขาดความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง พฤติกรรมการบริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง เป็นต้น ความสะดวกซื้อสะดวกใช้ ชาวบ้านยังไม่นิยมนำถุงผ้าหรือตะกร้ามาจากบ้านในการจ่ายตลาด ครัวเรือนจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นเองด้วยวิธีการต่างกัน เช่น การฝังกลบ การเผา การกองทิ้งไว้กลางแจ้ง เป็นต้น แต่ละวิธีเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและไม่ยั่งยืน มีโอกาสในการก่อมลพิษเกิดขึ้นได้ ดังนั้น แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหาขยะมูลฝอย คือ การจัดการขยะมูลฝอยจากต้นทาง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อลดปริมาณของขยะและสามารถนำขยะที่ยังมีประโยชน์อยู่กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมตำบลโตนดด้วน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการขยะ จึงได้จัดทำโครงการคนโตนดด้วนรักษ์สิ่งแวดล้อม จัดการขยะต้นทาง เพื่อให้ปริมาณขยะทั่วไปลดลง สามารถนำขยะไปใช้ประโยชน์ได้ ขยะรีไซเคิลสามารถขายได้ ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะ ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนและลดแหล่งที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีการจัดการขยะที่ถูกวิธี

ผู้เข้าร่วมโครงการจัดการขยะถูกวิธี อย่างน้อย 80%

50.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำขยะมาใช้ประโยชน์ได้

มีการใช้ประโยชน์จากขยะที่ไม่ใช้แล้ว ทำให้เกิดประโยชน์

60.00 80.00

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำขยะมาใช้ประโยชน์ได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนการปฎิบัติงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนการปฎิบัติงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะทำงานมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนงานขั้นตอนในการจัดทำโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 1 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถกำหนดแนวทางการจัดทำโครงการได้อย่างชัดเจน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ป้ายโครงการ ขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 518 บาท 2.ค่าจัดทำสปอร์ตโฆษณาประชาสัมพันธ์คัดแยกขยะในชุมชน เป็นเงิน 1,500 บาท 3.ค่ารถแห่ประชาสัมพันธ์ การคัดแยกขยะในชุมชน จำนวน 2 วัน ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 1600

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2566 ถึง 11 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3618.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมให้ความรู้สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 8 ครั้งๆละ 3 ชัวโมง ชัวโมงละ 150 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 2.ค่าอาหารวางและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 200 คน จำนวน 1 มื้อ/วัน มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 5,582 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มิถุนายน 2566 ถึง 23 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมาย 200 คนสามารถนำวัสดุเหลือใช้มาทำสิ่งประดิษฐ์และสามารถนำมาใช้งานได้จริง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14182.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมลงพื้นที่ 11 หมู่บ้าน -รับซื้อขยะรีไซเคิล -Eco brick แลกไข่ -เก็บรวบรวมขยะอัตราย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมลงพื้นที่ 11 หมู่บ้าน -รับซื้อขยะรีไซเคิล -Eco brick แลกไข่ -เก็บรวบรวมขยะอัตราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เครื่องชั่งขนาด 60 กก.เป็นเงิน 1,200 บาท 2.ถังขยะอันตราย จำนวน 11 ถังๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 11,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การรับซื้อขยะรีไซเคิล เป็นการรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักคัดแยกขยะ Eco brick เป็นการนำขยะทั่วไปมาใช้ประโยชน์ เก็บรวบร่วมขยะอันตรายเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนโดยการเก็บรวบรวมเพื่อนำไปทิ้งที่จุดทิ่งของ อ.บ.จ. ต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีการจัดการขยะที่ถูกวิธี
2.สามารถนำขยะที่ยังมีประโยชน์อยู่กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


>