กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขกาย สุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลตะโหมด เทศบาลตำบลแม่ขรี

1.นางทัศนีย์ เศรษฐพันธ์
2.นายดิลก พูลเนียม
3.นางนัดดา ภูมี
4.นางอนงค์ รัตน์ทอง
5.นางจิตตรา แซ่ตั่น

เขตพื้นที่เทศบาล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก ได้มีความรู้ มีทักษะ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญ ในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางสุขภาพจิต สุขภาพกายเพื่อให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิมซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต
ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลตะโหมด จึงได้ให้ความสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เช่น การให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต พฤติกรรมสุขภาพพึ่งประสงค์ ส่งเสริมการออกกำลังกาย และส่งเสริมกิจกรรมสันทนาการ ถือเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านกาย ใจ ของผู้สูงอายุให้มีความสุขในบั้นปลายชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความ เข้าใจ ในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิตของตัวเองได้

ผู้สูงอายุมีความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพกาย ใจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และยึดหลักปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพพึ่งประสงค์ได้

ผู้สูงอายุมีความรู้และยึดหลักปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพพึ่งประสงค์ ได้ร้อยละ ๘๐

0.00

ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก ได้มีความรู้ มีทักษะ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญ ในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางสุขภาพจิต สุขภาพกายเพื่อให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิมซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต
ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลตะโหมด จึงได้ให้ความสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เช่น การให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต พฤติกรรมสุขภาพพึ่งประสงค์ ส่งเสริมการออกกำลังกาย และส่งเสริมกิจกรรมสันทนาการ ถือเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านกาย ใจ ของผู้สูงอายุให้มีความสุขในบั้นปลายชีวิต

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/06/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
1.ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนโครงการผู้สูงอายุสุขกาย  สุขใจ  สูงวัยอย่างมีคุณภาพ 1.2 ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง และอสม เพื่อหาแนวทางร่วมกัน 1.3 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้สูงอายุ เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
2.ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 จัดอบรมโครงการผู้สูงอายุสุขกาย  สุขใจ  สูงวัยอย่างมีคุณภาพ 2.1.1 การดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3 อ. 2 ส. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย สุรา  สูบบุหรี่) และพฤติกรรมสุขภาพพึ่งประสงค์                2.1.2 การจัดการตัวเองเมื่อเข้าสู่ภาวะเครียด
        2.1.3 รู้ทันและรับมือกับโรคได้ในวัยสูงอายุ         2.1.4 กิจกรรมสันทนาการสร้างสุขสร้างรอยยิ้ม ๑.กิจกรรมจัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้สูงอายุสุขกาย  สุขใจ  สูงวัยอย่างมีคุณภาพ
งบประมาณ    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน ๆ ละ 65 บาท x ๑ มื้อ เป็นเงิน 2,600 บาท - ค่าวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท
เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์  เป็นเงิน 1,800 บาท ทั้งหมด 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2566 ถึง 16 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 3.ขั้นสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
3.ขั้นสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ส่งรายงานรูปเล่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ผู้สูงอายุมีความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพกาย ใจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
๒. ผู้สูงอายุมีความรู้และยึดหลักปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพพึ่งประสงค์ ได้ร้อยละ ๘๐


>