กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและภาวะโภชนาการสมวัย ศพด.บ้านบาโงฮูมอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงฮูมอ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงฮูมอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

10.00

อาหารมีความสำคัญสำหรับทุกวัยโดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตเป็นช่วงเวลาที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ดังนั้นควรกินอาหารให้ครบทั้ง ๕ หมู่แต่ละหมู่ให้หลากหลายปริมาณให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม เพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสติปัญญาและสุขภาพของเด็ก รวมทั้งพัฒนาการของเด็กที่กินอาหารครบ ๕ หมู่และมีความหลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม มีภาวะโภชนาการที่ดี จะมีการเจริญเติบโตดีการพัฒนาของสมองดีเด็กจะฉลาดเรียนรู้เร็วมีความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผลทำให้พัฒนาการของเด็กเหมาะสมตามวัยแต่ในทางตรงกันข้ามเด็กที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอย่อมมีผลทำให้การพัฒนาของสมองไม่ดีไม่ฉลาดไม่อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวและเรียนรู้ช้าเป็นผลให้มีพัฒนาการไม่เหมาะสมตามวัย ภาวะโภชนาการที่ดีเป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิตโดยเฉพาะในช่วงที่มีการเจริญเติบโตตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่นเ นื่องจากการเจริญเติบโตทั้งด้านสมองและร่างกายสิ่งที่พบเห็นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงฮูมอมันจะส่งผลที่เกิดขึ้นมิใช่แค่เพียงด้านร่างกายเท่านั้นยังมีผลต่อการพัฒนาสมองด้วยทำให้สติปัญญาต่ำ เรียนรู้ช้าไม่สนใจสิ่งแวดล้อมเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ประสิทธิภาพการทำงานจะต่ำส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ด้วยสาเหตุต่าง ๆ นั้น
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงฮูมอ ต้องการที่จะให้เด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนมีภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและภาวะโภชนาการสมวัย เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีร่างกายที่เข็งแรง และพัฒนาการที่สมวัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู/ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสมตามวัย

 

20.00 40.00
2 เพื่อผู้ปกครองครู/ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร สามารถจัดเมนูอาหารแก่เด็กเล็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย

 

20.00 40.00
3 เพื่อให้ด็กปฐมวัยที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และทุพโภชนาการ(ผอม) ได้รับการดูแลและแก้ไข

 

20.00 40.00
4 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

10.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุุ่มผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 61

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารและการบริโภคอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารและการบริโภคอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยมีรายละเอียดดังนี้ - ค่าวิทยากร ( ชั่วโมงละ 600 x 6 ชั่วโมง ) เป็นเงิน3,600บาท - ค่าป้ายไวนิล ( ขนาด 1.40 เมตร x 2.60 เมตร ) เป็นเงิน 910 บาท - ค่าอาหารกลางวัน ( มื้อละ 60 บาท x 61 คน ) เป็นเงิน3,660 บาท - ค่าอาหารว่าง ( มื้อละ 30 บาท x 2 มื้อx61 คน ) เป็นเงิน3,660 บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม ( ชุดละ 25x61 คน ) เป็นเงิน1,525 บาท - ค่าอุปกรณ์เครื่องเขียน ( ชุดละ 30x61 คน ) เป็นเงิน1,830 บาท - ค่ากระเป๋าถุงผ้า ( ชุดละ 65x61 คน ) เป็นเงิน3,965 บาท
รวมค่าใช้จ่ายในกิจกรรมท่ี่ 1เป็นเงินทั้งสิ้น19,150บาท (- หนึ่งหมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน-)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย / ร้อยละ 70 มีความรู้มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19150.00

กิจกรรมที่ 2 เมนูหนูน้อยสลัดโรสแปลงกาย

ชื่อกิจกรรม
เมนูหนูน้อยสลัดโรสแปลงกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 เป็นการประกอบเมนูอาหารจากผักเให้สวยงานเป็นการเพิ่มทักษะกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย และครู ในการประกอบอาหารให้น่ารับประทานมากขึ้นป็นการกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยมีการประทานผักมากขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้ - ค่าแป้งญวน แป้งสลัดโร( 5 แพ็ค X 60 บาท) เป็นเงิน 300 บาท
- ค่าผักสลัด ( 1 กิโลกรัม X 120 บาท) เป็นเงิน 120 บาท - ค่าแตงกว่า( 1 กิโลกรัม X 40 บาท) เป็นเงิน 40 บาท - ค่ามายองเนส (1 ถุง ขนาด 1 กิโลกรัม ) เป็นเงิน 100 บาท - ข้าวโพด ( 1 กิโลกรัม ) เป็นเงิน 40 บาท - ค่ามันเทศ( 1 กิโลกรัม X 45 บาท) เป็นเงิน 45 บาท - ค่าไข่ไก่คละเบอร์ ( แผงละ 125 บาท x 2 แผง ) เป็นเงิน 250 บาท รวมค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่ 2 เป็นเงินทั้งสิ้น 895บาท (- แปดร้อยเก้าสิบห้าบาทถ้วน-)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กปฐมวัยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น/ร้อยละ 70 ของเด็กปฐมวัยมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
895.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,045.00 บาท

หมายเหตุ :
รายการทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) ผู้ปกครอง ครู/ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสมตามวัย
2) ผู้ปกครองครู/ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร สามารถจัดเมนูอาหารแก่เด็กเล็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย
3)ผู้ปกครอง ครู /ผู้ดูแลเด็กได้รับทราบถึงภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัย
4)เด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และทุพโภชนาการ(ผอม) ได้รับการดูแลและแก้ไข


>