กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปูยุด ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

เลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปูยุด

นายลือศักดิ์ สุหรรษา
ว่าที่ ร.ต.อนรรฆอิสเฮาะ
นายอิมรอนหะยีสามะ
นายอัลฟานกาแม
นางนิรอสเมาะ อาลีสาเมาะ

ตำบลปูยุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมของบุคคลที่มีปัจจัยหลายๆด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคลที่มาจากพันธุกรรม เจตคติ ความรู้ และความเข้าใจ ปัจจัยด้านครอบครัว ชุมชน สังคม ที่มีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กิจกรรมการดําเนินงานหลายวิธี และใช้ระยะเวลาในการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพ เพื่อพัฒนาให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ร่วมกัน อบต.ปูยุด ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปูยุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนทุกคนในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการบริหารสาธารณสุขในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกในพื้นที่ได้ และส่งเสริมให้กลุ่มที่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น แม่และเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงและผู้ป่วยเรื้อรังอย่างทั่วถึงและที่จำเป็นต่อสุขภาพในการดำรงชีวิต จึงต้องมีระบบการจัดทําข้อมูล มีการจัดทํากิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกําหนดทิศทางในการดําเนินงานสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๑ การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจะต้องมีคณะกรรมการชุดหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพ โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการมาจากหลากหลายภาคส่วน ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ จะต้องมีคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดุแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่ ในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ภายใต้การกำกับดูแลของ อบต.ปูยุด ประกอบกับการประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศจะช่วยในการขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรม ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบถึงข้อมูล ข่าวสารการบริหารการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จตามที่กำหนด จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปูยุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ (๔๐ คน)

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 80

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถออกเงินสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/10/2022

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 2 วันๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท จำนวน 40 คน เป็นเงิน 4,800 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 2 วันๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท จำนวน 40 คน เป็นเงิน 5,600 บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 วันๆละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
  4. วัสดุในการอบรมฯ (กระดาษบรูฟ ปากกาเคมี 2 หัว กระดาษ A4 ปากกา สมุด เยื่อกาว) เป็นเงิน 3,000 บาท รวมงบประมาณกิจกรรม เป็นเงินทั้งสิ้น 20,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ขอรับทุนเข้าใจในระบบ และ มีการปฏิบัติตามระเบียบอย่างถูกต้อง
  2. เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20600.00

กิจกรรมที่ 2 การบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลปูยุด

ชื่อกิจกรรม
การบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลปูยุด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนในการประชุมคณะกรรมบริหารกองทุนฯและที่ปรึกษา จำนวน 20 คน X 400 X 4 ครั้ง เป็นเงิน 32,000 บาท 2.ค่าตอบแทนในการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 15 คน X 300 X 4 ครั้งเป็นเงิน 16,800 บาท 3.ค่าตอบแทนในการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน LTC จำนวน 10 คน X 300 X 3 ครั้ง เป็นเงิน 9,000 บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ และอนุกรรมการ LTC จำนวน 158 มื้อ X 30 บาท
เป็นเงิน 4,740 บาท 5.ค่าอาหารกลางวันของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ และอนุกรรมการ LTC จำนวน 158 มื้อ X 70 บาท เป็นเงิน 11,060 บาท รวมงบประมาณกิจกรรม เป็นเงินทั้งสิ้น 73,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะกรรมการกองทุน เข้าใจ ระบบบริหารจัดการกองทุนฯ
  2. มีการประเมินผล และติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของโครงการฯที่ขอรับทุน
  3. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการทำงาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
73600.00

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ (เช่น การประชุม อบรม สัมมนา เป็นต้น)

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ (เช่น การประชุม อบรม สัมมนา เป็นต้น)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ในการเดินทางไปราชการ เป็นเงิน 6028 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะกรรมการมีการประชุม อบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพกองทุน
  2. คณะกรรมการมีความรู้ ความ เข้าใจในระบบ กองทุนฯ มากยิ่งขึ้น
  3. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรมฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6028.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,228.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน มีศักยภาพในการจัดการ และดำเนินการ
2.ทุกหน่วยงานสามารถร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ และร่วมดำเนินการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่


>