กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขอนามัยและกำจัดเหาในเด็กวัยเรียนด้วยแชมพูสมุนไพรจากธรรมชาติ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงดาลอ

โรงเรียนบ้านยือริง

โรงเรียนบ้านยือริง หมู่ที่ 4 ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กวัยเรียน เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญมากต่อการสร้างรากฐานให้มั่นคงต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต การที่เด็กจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพได้นั้น จะต้องได้รับการเลี้ยงดูและส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับวัย เมื่อสุขภาพดีจะส่งผลต่อการเรียนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ดังนั้น โรงเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพของเด็กทั้งด้านองค์ความรู้จากการเรียนการสอน รวมทั้งการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับเด็ก เด็กวัยเรียนมีการเปลี่ยนแปลงตนเองอยู่ตลอดเวลา ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในเด็กวัยนี้มากที่สุด คือ วิธีปฏิบัติตนในการป้องกันตนเองจากโรคที่อาจทำให้เด็กมีสุขภาพกายใจที่ไม่พร้อมต่อการเรียนรู้
โรคเหา เป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กวัยเรียน ระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของศีรษะ เครื่องนอน เป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไปและยังทำให้สุขภาพไม่ดี ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็น เนื่องจากมีอาการคันศีรษะ การรักษาโรคเหาส่วนใหญ่มักจะให้สารเคมี ซึ่งเมื่อใช้แล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และจากการตรวจสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านยือริง พบว่า เด็กเรียนหญิงส่วนใหญ่เป็นโรคเหา ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนบ้านยือริง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขอนามัยและกำจัดเหาในเด็กวัยเรียนด้วยแชมพูสมุนไพรจากธรรมชาติ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากำจัดเหาในเด็กวัยเรียน โดยขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงดาลอ มาให้ความรู้ด้านสุขอนามัยและการกำจัดเหาแก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขอนามัยและสามารถดูแลรักษาความสะอาดของตนเองได้

 

0.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดเหาในเด็กวัยเรียน

 

0.00
3 เพื่อนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์และภาคภูมิใจในตนเอง

 

0.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครอง และบุคลากรโรงเรียน มีความรู้ความเข้าใจด้านสุขอนามัยเด็กและการกำจัดเหาที่ถูกต้อง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 65
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้ด้านสุขอนามัย การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ด้านสุขอนามัย การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 2 ชั่วโมง ๆ ละ600.- บาท เป็นเงิน 1,200.-บาท
  • ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 3 x 1.5 เมตร ในราคาตารางเมตรละ 250.- บาท เป็นเงิน 1,125.- บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน ผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 65 คน ๆ ละ 60.- บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,900.- บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 115 คน ๆ ละ 25.- บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,750.- บาท
    หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวจ่ายแต่ละรายการได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขอนามัยและสามารถดูแลรักษาความสะอาดของตนเองได้
ผู้ปกครอง และบุคลากรโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขอนามัยเด็กและการกำจัดเหาที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11975.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิตการทำและการใช้แชมพูสมุนไพรจากธรรมชาติในการกำจัดเหา

ชื่อกิจกรรม
สาธิตการทำและการใช้แชมพูสมุนไพรจากธรรมชาติในการกำจัดเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าบอร์ดให้ความรู้สมุนไพรในการกำจัดเหา ขนาด 65 X 120 ซม. จำนวน 4 บอร์ดๆ ละ 125.- บาทX 4บอร์ด เป็นเงิน 500.- บาท
  • ค่าสมุนไพร (ใบน้อยหน่า และผลมะกรูด) เป็นเงิน 0.- บาท
  • ค่าหวี จำนวน 26 อัน ๆ ละ 20.- บาท เป็นเงิน 520.- บาท
  • ค่าหมวกอาบน้ำ จำนวน 26 ใบ ๆ ละ 20.- บาท เป็นเงิน 520.- บาท
  • ค่าขวดพลาสติก จำนวน 100 ใบ ๆ ละ 3.- บาท เป็นเงิน 300.- บาท
  • ค่าถังน้ำ จำนวน 4 ใบ ๆ ละ 200.- บาท เป็นเงิน 800.-บาท
  • ค่าใช้จ่าย ค่าไม้พาย จำนวน 4 อัน ๆ ละ 150.- บาท เป็นเงิน 600.- บาท
  • ค่ากรวย จำนวน 4 อัน ๆ ละ 25.- บาท เป็นเงิน 100.- บาท
  • ค่ากระดาษสติกเกอร์ A4 จำนวน 2 รีม ๆ ละ 120.- บาท เป็นเงิน 240.- บาท
  • ค่าใช้จ่าย ค่าผ้าขนหนู จำนวน 26 ผืน ๆ ละ 30.- บาท เป็นเงิน 780.- บาท
    หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวจ่ายแต่ละรายการได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง บุคลากรโรงเรียน และนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการกำจัดเหาที่ถูกต้อง และสามารถใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในท้องถิ่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4360.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตาม และประเมินผลโรคเหาในเด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม และประเมินผลโรคเหาในเด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีอัตราการเกิดเหาลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,335.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี สามารถดูแลรักษาความสะอาดของตนเองได้
2. อัตราการเกิดเหาในเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านยือริงลดลง
3. เด็กนักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้นเนื่องจากมีสมาธิมากขึ้นไม่ต้องเกาหัวตลอดเวลา
4. นักเรียนและผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพรกำจัดเหา
5. นักเรียนและผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขอนามัยเด็กและการกำจัดเหาที่ถูกต้อง


>