กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดีด้วย 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

กลุ่มคลองแหรักสุขภาพ

1.นางพรทิพย์ จันทร์ศิริ ประธาน

2.นางจิราภรณ์ สมุหเสนีโต รองประธาน

3.นางรัตนาภรณ์ ศรีสงค์ เลขานุการ

4.นางสาวประณยาอำพันสกุล เหรัญญัก

5.นางสาวณิชชาภัทร คงแก้ว กรรมการ

เทศบาลเมืองคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 บุคลากรในหน่วยงานและผู้ที่สนใจขาดความรู้และไม่ตระหนักเรื่องการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์เหมาะกับวัย

 

32.50
2 บุคลากรในหน่วยงานและผู้ที่สนใจมีจำนวนการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม

 

64.50
3 บุคลากรในหน่วยงานและผู้ที่สนใจมีกิจกรรมนันทนาการผ่อนคลายความเครียดไม่เพียงพอ

 

63.20

วิถีชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพได้เปลี่ยนแปลงไปด้วย สาเหตุของการเจ็บป่วย อาจไม่ได้มากจากเชื้อโรคเป็นหลัก แต่กลับเป็นสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมในแต่ละวันที่สะสมจนเกิดโอกาสเสี่ยงต่อโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ภาวะเครียด ฯลฯ ปัจจุบัน 2 ใน 3 ของโรคที่เกิดขึ้นล้วนมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน วิถีชีวิตที่เร่งรีบ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ความเครียดจากการทำงาน ขาดการเคลื่อนไหวออกกำลังกายล้วนกระตุ้นให้เกิดโรคดังกล่าวทั้งสิ้น
กลุ่มคลองแหรักสุขภาพ เห็นถึงคว่ามสำคัญในการดูแลสุขภาพของกลุ่มวัยทำงาน โดยใช้หลัก 3 อ. คือ อ. ที่ 1 อาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม อ. ที่ 2 ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกาย อ. ที่ 3 อารมณ์ผ่อนคลาย ไม่เครียดช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายเกิดความสมดุล จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดีด้วย 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงานและผู้ที่สนใจให้มีสุขภาพร่างกายที่ดี แข็งแรง ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคNCDs (Non-Communicable Diseases)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานและผู้ที่สนใจมีความรู้และตระหนักเรื่องการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์เหมาะกับวัย

ร้อยละผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ในการการรับประทานอาหารที่เหมาะสม

32.50 40.00
2 เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานและผู้ที่สนใจมีการออกกำลังกายที่เหมาะสม

จำนวนเวลากิจกรรมทางกาย

64.50 80.00
3 เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานและผู้ที่สนใจมีกิจกรรมนันทนาการผ่อนคลายความเครียด

ร้อยละจำนวนกิจกรรมนันทนาการที่ผ่อนคลายความเครีย่ด

63.20 70.00
4 เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานและผู้สนใจมีความสามัคคีในหมู่คณะ

ร้อยละความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

52.40 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ ประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครสมาชิกรายใหม่เข้าร่วมกิจกรรม

1.ประชุมวางแผนคณะกรรมการชมรม

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 20 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มีนาคม 2566 ถึง 27 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องหลัก 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) และประเมินสภาวะสุขภาพ

ค่าไวนิลจำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 700 บาท

ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงเป็นเงิน 1,800 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวนจำนวน 50 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ค่าแบบฟอร์มประเมินสุขภาพจำนวน 100 ชุด เป็นเงิน 300 บาท

ค่าวัสดุอุปกรณ์ 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2566 ถึง 2 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจในการออกกำลังกายที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

กิจกรรมทางกายโดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและเต้นเบรคแด๊นน์ ทุกวันจันทร์ไม่มีงบประมาณ

รายละเอียดกิจกรรม

ไม่มีงบประมาณ

กิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิค ทุกวันพุธแรกและที่สามของเดือน

รายละเอียดกิจกรรม

  • ค่าผู้นำออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 12 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท

กิจกรรมทางกายโดยการเล่นโยคะ ทุกวันพุธที่สองและที่สี่ของเดือน

รายละเอียดกิจกรรม

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีเวลาการออกกำลังเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมดนตรีบำบัด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมดนตรีบำบัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมดนตรีบำบัด ไม่มีค่าใช้จ่าย

กิจกรรมทุกวันศุกร์ของสัปดาห์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการผ่อนคลายความเครียด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร ห่างไกลโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร ห่างไกลโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ (ชาใบหม่อน ใบเตยหอม น้ำเก๊กฮวย น้ำหญ้าหวาน เป็นต้น) จำนวน 20 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีการใช้สมุนไพรที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปการดำเนินโครงการ

ค่าอาหารว่าง จำนวน 20 คนๆละ 30 บาท/มื้อ เป็นเงิน 600 บาท

ค่าจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 2 เล่มๆละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

แบบประเมินความพึงพอใจการดำเนินโครงการ จำนวน 100 ชุดๆละ 2 บาท เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปรายงานการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการมีทางเลือกในการออกกำลังกายในการออกกำลังกายที่เหมาะสม

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถใช้หลัก 3 อ. ดูแลสุขภาพตนเองและคนใกล้ชิดได้


>