กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ SMART อสม.ต้นแบบ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ในการดูแลสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

ชมรมอสม.คลองแห สัมพันธ์

1.น.ส.ณิชชานันทน์ นวลแก้ว ประธาน

2.นางอำมร ศรแก้ว รองประธาน

3.นางสุวิมล อิ้วเส้ง เลขานุการ

4.นางศิริพรเ พชรรัตน์ เหรัญญิก

5.นางจงพิศ แก้วรุ่งเรือง กรรมการ

ตำบลคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอสม.ที่ขาดประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพพื้นฐาน

 

300.00
2 ร้อยละแกนนำ อสม. ที่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ดี

 

35.00

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน นั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีก เช่น โรควัณโรค เป็นต้น และ ที่สำคัญยังมีโรคติดต่อที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาสร้างปัญหา และเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นอีก คือ โรคเอดส์ โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ เป็นต้น การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และสอดคล้อง กับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริม และสนับสนุนการ มีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลคลองแหและกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชน ในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชนจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของ อสม. ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง และดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ อสม. ในทุกหมู่บ้านให้เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ ให้บริการ และประสานงานกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ ทั้งด้านการป้องกันโรคติดต่อในชุมชน การส่งเสริมสุขภาพประชาชน ทั้ง 5 กลุ่มวัย การเป็นแบบอย่างที่ดีต่อชุมชน นำไปสู่การจัดการสุขภาพครอบครัว ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 จำนวนอสม.ที่ขาดประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพพื้นฐาน

อสม. มีความเข้าใจการดูแลสุขภาพของคนคลองแหทั้ง 4 ด้าน

300.00 300.00
2 ร้อยละแกนนำ อสม. ที่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ดี

อสม. มีความสามารถเพิ่มขึ้น

35.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม. 300

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 30 บาท 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2566 ถึง 6 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนงานการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมพัฒนาศักยภาพอสม. การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง และการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เบื้องต้น (โรงเรียน อสม. 5 วัน)

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพอสม. การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง และการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เบื้องต้น (โรงเรียน อสม. 5 วัน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

ค่าวิทยากร บรรยาย จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 4 วัน รวมเป็นเงิน 7,200 บาท

ค่าวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบกลุ่ม จำนวน 5 คนๆละ 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 4 วัน รวมเป็นเงิน 48,000 บาท

ค่าวัสดุสาธิตในการทดสอบการปฏิบัติ 50,000 บาท

ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ดำเนินโครงการ จำนวน 90 คนๆละ 60 บาท จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 21,600 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ดำเนินโครงการ จำนวน 90 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 21,600 บาท

ค่าคู่มือประกอบการอบรม จำนวน 300 ฉบับๆละ 100 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 7 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. ได้รับความรู้ และทบทวนความเข้าใจ

อสม. มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
178400.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมพัฒนาศักยภาพอสม.เชี่ยวชาญเทคโนโลยี สู่วิถีสุขภาพดีของคนคลองแห

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพอสม.เชี่ยวชาญเทคโนโลยี สู่วิถีสุขภาพดีของคนคลองแห
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

ค่าวิทยากร บรรยาย จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 4 วัน รวมเป็นเงิน 7,200 บาท

ค่าวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบกลุ่ม จำนวน 5 คนๆละ 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 4 วัน รวมเป็นเงิน 48,000 บาท

ค่าวัสดุสาธิตในการทดสอบการปฏิบัติ 50,000 บาท

ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ดำเนินโครงการ จำนวน 90 คนๆละ 60 บาท จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 21,600 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ดำเนินโครงการ จำนวน 90 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 21,600 บาท

ค่าคู่มือประกอบการอบรม จำนวน 300 ฉบับๆละ 100 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2566 ถึง 28 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. ได้รับความรู้ และทบทวนความเข้าใจ และเป็นแกนนำในการใช้เทคโนโลยี

อสม. มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
178400.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของอสม.

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของอสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 30 บาทจำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 5 เวทีแลกเปลี่ยนสุขภาพคนคลองแห

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนสุขภาพคนคลองแห
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

ค่าเช่าเต็นท์สำหรับการจัดมหกรรมสุขภาพตำบลคลองแห 30,000 บาท

ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 คนๆละ 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท

ค่าวัสดุอุปกรณ์ 5,000 บาท

สื่อพิมพ์ประชาสัมพันธ์การดูแลสุขภาพ ห่างไกลจากโรคต่างๆ จำนวน 32,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 7 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของ อสม.ต่างพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
79000.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 30 บาท 1,500 บาท

ค่าจัดทำเล่มรายงานสรุปโครงการ จำนวน 2 เล่มๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปโครงการและส่งกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 448,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อสม.มีทักษะเพิ่มขึ้น และมีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน

ประสิทธิภาพการปฎิบัติงานเพิ่มขึ้น


>