กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชควนสตอร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(เบาหวานและความดัน)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

กลุ่มชมรม อสม. โรงพยาบาลควนโดน

1. นายฮาหรนปะดุกา
2. นายดาแนลหมาดมาสัน
3. นายชาฝีอีหลีมานัน
4. นางปทุมวดีหลีเยาว์
5. นางสะยะหลังปาปัน

ตำบลควนสตอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
จากการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ใน หมู่ที่ 5 -10 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ในช่วงไตรมาส ในช่วงย้อนหลัง 3 ปีที่ผ่าน พบว่า ปี 2563 มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 114 ราย(ร้อยละ 6.87) กลุ่มสงสัยป่วย 25 ราย(ร้อยละ 1.19) ผู้ป่วยรายใหม่ 16 ราย(ร้อยละ 11.51 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย)มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 109 ราย(ร้อยละ 6.37) สงสัยป่วย 63 ราย(ร้อยละ 3.68) ผู้ป่วยรายใหม่ 24 ราย(ร้อยละ 13.95 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย) ผู้ป่วยสะสม 623 ราย(ร้อยละ 11.92 ของประชากรทั้งหมด) ,ปี 2564 มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 191 ราย(ร้อยละ 16.39) กลุ่มสงสัยป่วย 27 ราย(ร้อยละ 1.88) ผู้ป่วยรายใหม่ 21 ราย(ร้อยละ 9.63 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย) มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 177 ราย(ร้อยละ 11.30) สงสัยป่วย 159 ราย(ร้อยละ 10.15) ผู้ป่วยรายใหม่ 57 ราย(ร้อยละ 7.34 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย) ผู้ป่วยสะสม 664 ราย(ร้อยละ 12.58 ของประชากรทั้งหมด) และ ปี 2565มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 114 ราย(ร้อยละ 5.84) กลุ่มสงสัยป่วย 15 ราย(ร้อยละ 0.77) ผู้ป่วยรายใหม่ 13 ราย(ร้อยละ 10.08 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย)มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 111 ราย(ร้อยละ 5.68) สงสัยป่วย 68 ราย(ร้อยละ 3.48) ผู้ป่วยรายใหม่ 17 ราย(ร้อยละ 9.50 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย) ผู้ป่วยสะสม 661 ราย(ร้อยละ 12.54 ของประชากรทั้งหมด)
การคัดกรองภาวะสุขภาพประชาชน เป็นการค้นหา เฝ้าระวังป้องกันโรค ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมัน เป็นต้น รวมทั้งเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังเบื้องต้น จากข้อมูลการคัดกรองและผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น พบว่ามีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ถ้าไม่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพและได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่เริ่มแรก เช่น หากคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงแล้วพบว่า อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็จะสามารถป้องกันการป่วย เป็นโรคหรือลดระดับการรุนแรงของโรคดังกล่าวให้ลดลงได้ด้วยการปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็น โรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีสาเหตุหลักๆ มาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องสะสมเป็นเวลานาน นั่นก็คือ พฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกกำลังกาย ด้านการพักผ่อนให้เพียงพอ การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอลล์ หรือตามหลัก 3 อ. 2 ส. นั่นเอง หากประชาชนทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง หรือคนที่เป็นโรคแล้ว ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้นได้ ก็จะส่งผลต่อการเกิดโรค การเพิ่มความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่ และเพิ่มความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่ตามมา เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดโรคหัวใจเฉียบพลัน โรคไตเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นตาภาวะปลายประสาทอักเสบ แผลเบาหวานที่เท้า การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราที่ผิวหนัง อาการคัน และปัญหาอื่น ๆ
ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีเจตนารมณ์ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีขึ้น โดยอาศัยการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของคนในครอบครัวและชุมชน ด้วยการชักชวนกันมาออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีกิจกรรมสันทนาการผ่อนคลาย อารมณ์ ไม่เครียด รวมทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ที่อดบุหรี่ หรือ ลด งดดื่มสุรา เป็นต้น และการส่งเสริมสนับสนุน ให้มี อสม. ต้นแบบ และองค์กร อสม. ต้นแบบในการสร้างสุขภาพเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ประชาชน ในชุมชนต่อไปชมรม อสม.รพ.ควนโดน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนควนสตอร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน) ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง/ป่วยจากการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปต่อโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ -  ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ -  ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 760
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการชุมชนควนสตอร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน) ปีงบประมาณ 2566

ชื่อกิจกรรม
โครงการชุมชนควนสตอร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน) ปีงบประมาณ 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมหลัก

- จัดกิจกรรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน /ตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปทุกคน  - ค่าตอบแทนวิทยากร (ไม่เบิก) - ค่าจัดทำแบบฟอร์มบันทึกการตรวจ
  ทะเบียนแยกกลุ่ม ใบส่งต่อ             เป็นเงิน    1,000 บาท - ค่าจัดทำแผ่นพับความรู้การปฏิบัติตัว เป็นเงิน    2,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
  จำนวน 760 คนๆละ 25 บาท          เป็นเงิน 19,000 บาท                                           รวมเป็นเงิน  22,000 บาท
- ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงทุกคนได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน 1 สัปดาห์/คน และส่งต่อในรายที่ผิดปกติเพื่อรับการวินิจฉัยโรคต่อไป     - ค่าจัดทำคู่มือการวัดความดันโลหิตที่บ้านสำหรับ อสม. เอกสารทะเบียนต่างๆ ในการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้าน/บันทึกข้อมูลในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน จำนวน 6 หมู่ ๆ ละ 500 บาท           เป็นเงิน   3,000 บาท                                            รวมเป็นเงิน  3,000 บาท     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น............25,000............บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กิจกรรมหลัก

- จัดกิจกรรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน /ตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปทุกคน  - ค่าตอบแทนวิทยากร (ไม่เบิก) - ค่าจัดทำแบบฟอร์มบันทึกการตรวจ
  ทะเบียนแยกกลุ่ม ใบส่งต่อ             เป็นเงิน    1,000 บาท - ค่าจัดทำแผ่นพับความรู้การปฏิบัติตัว เป็นเงิน    2,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
  จำนวน 760 คนๆละ 25 บาท          เป็นเงิน 19,000 บาท                                           รวมเป็นเงิน  22,000 บาท
- ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงทุกคนได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน 1 สัปดาห์/คน และส่งต่อในรายที่ผิดปกติเพื่อรับการวินิจฉัยโรคต่อไป     - ค่าจัดทำคู่มือการวัดความดันโลหิตที่บ้านสำหรับ อสม. เอกสารทะเบียนต่างๆ ในการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้าน/บันทึกข้อมูลในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน จำนวน 6 หมู่ ๆ ละ 500 บาท           เป็นเงิน   3,000 บาท                                            รวมเป็นเงิน  3,000 บาท     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น............25,000............บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น
2. เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่หลากหลายในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนอย่างยั่งยืน
3. เกิด ชุมชน/หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรค ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน


>