กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และกำจัดเหาในเด็กวัยเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี

1. นางกัลยา อุทัยรังษี
2. นางวีรวรรณ เอียดมิ่ง
3. นายธีรศักดิ์ ยาชะรัต
4. นางไมตรี หนูจันทร์
5. นางณปภัทร ส่งแสง

พื้นที่เทศบาลตำบลแม่ขรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเหาเป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กนักเรียนหญิงระดับประถมศึกษาซึ่งการดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะทั้งนี้เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีกเป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะและดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาดเหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนวัยประถมศึกษาเหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนซึ่งอาจส่งให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ลดลงและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมและคนทั่วไปรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วยเหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูและรักษาความสะอาดบนศีรษะอย่างสม่ำเสมอเหาเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายทั้งระหว่างนักเรียนกับนักเรียนและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัวการแก้ไขปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียนคือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องจริงจังกับการดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรีตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และกำจัดเหาในเด็กวัยเรียนประจำปีงบประมาณ 2566เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยในเด็กวัยเรียนได้มีสุขภาพอนามัยที่ดีและสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราการเกิดเหาในเด็กวัยเรียน

1.ร้อยละ95ของเด็กวัยเรียนที่มีเหาได้รับการกำจัดเหา

0.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนสามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายตนเองได้อย่างถูกวิธี

2.ร้อยละ100ของเด็กวัยเรียนที่มีเหาได้รับความรู้เกี่ยวกับการกำจัดเหาอย่างถูกวิธีและมี ประสิทธิภาพ

0.00
3 3.เพื่อให้นักเรียน ครูและผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับการกำจัดเหาอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ

สามารถให้นักเรียน ครูและผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับการกำจัดเหาอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ

0.00

โรคเหาเป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กนักเรียนหญิงระดับประถมศึกษาซึ่งการดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะทั้งนี้เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีกเป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะและดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาดเหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนวัยประถมศึกษาเหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนซึ่งอาจส่งให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ลดลงและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมและคนทั่วไปรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วยเหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูและรักษาความสะอาดบนศีรษะอย่างสม่ำเสมอเหาเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายทั้งระหว่างนักเรียนกับนักเรียนและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัวการแก้ไขปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียนคือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องจริงจังกับการดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรีตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และกำจัดเหาในเด็กวัยเรียนประจำปีงบประมาณ 2566เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยในเด็กวัยเรียนได้มีสุขภาพอนามัยที่ดีและสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 43
กลุ่มวัยทำงาน 5
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ขั้นเตรียม

ชื่อกิจกรรม
1.ขั้นเตรียม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.  จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.  ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มกราคม 2566 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ขั้นดำเนิน

ชื่อกิจกรรม
2.ขั้นดำเนิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียน ครูและผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายตนเองในการป้องกันและกำจัดเหาอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ 2.วิทยากรสาธิตวิธีการกำจัดเหาอย่างถูกวิธี 3.ปฏิบัติการกำจัดเหาให้แก่นักเรียนโดยครูและผู้ปกครอง 4.ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ ค่าใช้จ่าย 1.ค่าตอบแทนวิทยากรในการบรรยายและสาธิต1 ท่านเป็นเงิน1,200บาท จำนวน2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 2.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร เป็นเงิน 460บาท จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 460 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน2,500บาท จำนวน100คน x 25 บาท x 1 มื้อ
4.ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการกำจัดเหา เป็นเงิน8,600บาท แชมพูกำจัดเหาถุงมือพลาสติกหมวกคลุมศีรษะผ้าเช็ดผม จำนวน 86 ชุด (ครั้งละ 43 ชุด/2ครั้ง) ชุดละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 12,76๐บาท(หนึ่งหมื่นสองพันเจ็ดร้อยหกสิบบาทถ้วน) (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ตามความเหมาะสม)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12760.00

กิจกรรมที่ 3 3.ขั้นสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
3.ขั้นสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามและประเมินผล
  • สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กวัยเรียนที่มีเหาได้รับการกำจัดเหา
2.นักเรียนครูและผู้ปกครองได้รับความรู้ในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายตนเองในการป้องกันและกำจัดเหาอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ


>