กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เต้นบาสโลบเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

ชมรมรักษ์สุขภาพ(สวยสะเทือน) ม.7 ต.คลองทราย

1. น.ส.กชพรรณพรรณราย
2. น.ส.ดวงใจแก้วไพรัตน์
3. น.ส.พิกุลกลิ่นหอมสุคนธ์
4. นางวิไลรัตน์เพชรยาบาล
5. นางพรสินสาย

ม.7 ต.คลองทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

50.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

53.00

ด้วยสภาพปัญหาคนในชุมชนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการกินอาหารหวาน มัน เค็มได้ จึงทำให้คนในชุมชนมีรูปร่างท้วมและอ้วนเพราะการกินที่ไม่ถูกหลักอนามัยและกินอาหารที่มีแป้งมีไขมันทำให้เกิดการเผาผลาญน้อยลง เป็นการสะสมของไขมันเพิ่มขึ้นจึงทำให้เป็นโรคอ้วน การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาเพียงวันละ 30 นาที และงดสิ่งเสพติดทั้งหลาย จะช่วยทำให้สมรรถภาพ ร่างกาย สมบูรณ์ แข็งแรง อีกทั้งยังลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วนโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน แลไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
จากการคัดกรองสุขภาพประชากรวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 18 - 59 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสิมสุขภาพตำบลบ้านลำพด จำนวน 689 คน พบว่า มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ 140 คน อ้วนระดับหนึ่ง 199 คนอ้วนระดับสอง 64 คน และมีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์ จำนวน 367 คน (ที่มา:HDCสงขลา ณ วันที่ 25 ธ.ค. 2565) ดังนั้น ชมรมรักษ์สุขภาพ(สวยสะเทือน) ม.7 ต.คลองทราย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายของประชาชนในเขตพื้นที่ ม.7 ตำบลคลองทราย ซึ่งเห็นว่าการออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลบเป็นวิธีที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย ให้ประชาชนทุกช่วงวัยใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และยังเสริมสร้างให้ร่างกาย แข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคีก่อให้เกิดความสุขและมีสุขภาพดีจึงได้จัดทำ โครงการเต้นบาสโลบเพื่อสุขภาพ ขึ้นมาเพื่อให้พี่น้องในชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มร้อยละของประชาชนออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของประชาชนออกกำลงกายในชุมชนเพิ่มขึ้น

50.00 55.00
2 เพิ่มร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)เพิ่มขึ้น

53.00 55.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 เมตร X 2.4 เมตร X 1 แผ่น เป็นเงินจำนวน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ป้ายไวนิลโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินภาวะสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายโดยการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายโดยการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องละ 2,500 บาท X 1 เครื่อง เป็นเงินจำนวน 2,500 บาท
  • ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักเครื่องละ 1,500 บาท X 1 เครื่อง เป็นเงินจำนวน 1,500 บาท
  • ค่าสายวัดรอบเอวชิ้นละ 200 บาท X 3 ชิ้น เป็นเงินจำนวน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายผ่านการตรวจคัดกรองสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4600.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท X 2 มื้อ X 30 คน เป็นเงินจำนวน 1,800 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท X 3 ชั่วโมง X 2 วัน เป็นเงินจำนวน 3,600 บาท

  • ค่าวัสดุดำเนินกิจกรรม เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายผ่านการอบรมและมีความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6400.00

กิจกรรมที่ 4 ออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลบ

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลบอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ จนเสร็จสิ้นโครงการ
  • ค่าชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ เป็นเงินจำนวน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลบอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 5 บุคคลต้นแบบการมีสุขภาพดี

ชื่อกิจกรรม
บุคคลต้นแบบการมีสุขภาพดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามประเมินภาวะสุขภาพหลังการจัดกิจกรรม โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดรอบเอวจนเสร็จสิ้นโครงการ
  • ป้ายอะคอลิก บุคคลต้นแบบการมีสุขภาพดี ขนาด 30 ซม. X 30 ซม. แผ่นละ 300 บาท X 10 แผ่น เป็นเงินจำนวน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีรูปร่าง และสัดส่วนอยู่ในเกณฑ์ปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชาชนมีเวทีทำกิจกรรมร่วมกันโนชุมชน
- กลุ่มเป้าหมายสามารถเป็นต้นแบบในการออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลบได้
- ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ


>