กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแพทย์แผนไทยบำบัดเพื่อการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพประชาชน ปี 2566 รพ.สต.บ้านทรายขาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว

1.นายวิโรจ ชาญแท้
2.นางพรรณฤพร พิเศษ
3.นางซูไนดา ตามะ
4.นางสาวเสาวนีย์ เทพกำเหนิด
5.นางสาวพิชญธิดา พูนเทพ

ม.1,ม.2,ม.3,ม.4,ม.9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทย ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพประชาชนนับเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทย ที่ได้รับการยอมรับและถ่ายทอดกันมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน ฉะนั้นการให้ความรู้อสม.และประชาชนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพคนในครอบครัวของตนเอง ตลอดการตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจมากมาย แม้ว่าหลังคลอดแล้วร่างกายจะมีการปรับตัวให้เข้าสู่สภาพปกติได้เอง แต่การดูแลหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย เช่น การอยู่ไฟ การทับหม้อเกลือ การประคบสมุนไพร การเข้ากระโจม การอบสมุนไพร ตลอดจนการนวดหลังคลอด จะเป็นการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับสู่สภาพปกติได้โดยเร็วตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไทย สุขภาพวิถีไทย พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔ จะเป็นการพัฒนาระบบสุขภาพเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย และส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพและบำบัดรักษาโรค และผลักดันให้เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขภาครัฐ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว จึงเห็นถึงความสำคัญ และจัดทำโครงการ“โครงการแพทย์แผนไทยบำบัดเพื่อการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพประชาชน” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพของประชาชน และ ยังตอบสนองยุทธศาสตร์แห่งชาติในการรวมพลังสร้างสุขภาพเพื่อให้คนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง ( Healthy Thailand ) ในการดูแลสุขภาพและการนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย มาส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้และฝึกทักษะต่างๆด้านการแพทย์แผนไทย เพื่อนำไปดูแลสุขภาพของตนเองและผู้อื่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบำบัดรักษาโรคและเป็นแพทย์ทางเลือกสำหรับประชาชนทั่วไปและ อสม.

อัตราการบริการแพทย์ทางเลือกแก่ประชาชนทั่วไปและอสม.อย่างต่อเนื่อง

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่

1.อัตราการรับบริการฝากครรภ์และเยี่ยมหลังคลอดครบตามเกณฑ์ร้อยละ 100
2.จำนวนหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดได้รับการบำบัดรักษาโรคโดยแพทย์ทางเลือกร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายให้ความรู้โฟมบอร์ด จำนวน 3 ป้ายๆละ 400 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท -ค่าป้ายให้ความรู้ไวนิล จำนวน 3 ป้าย ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท -ป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้ายๆละ 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4900.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์เพื่อการฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยการใช้สมุนไพร เช่น ทับหม้อเกลือ อบสมุนไพร นวดหลังคลอด และสาธิตการทำลูกประคบและพิมเสนน้ำ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์เพื่อการฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยการใช้สมุนไพร เช่น ทับหม้อเกลือ อบสมุนไพร นวดหลังคลอด และสาธิตการทำลูกประคบและพิมเสนน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง จำนวน 130 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 6,500.-บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 130 คนๆละ 1มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 6,500.-บาท -ค่าวัสดุจัดทำสมุนไพร จำนวน 14,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงหลังคลอดได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย
2.หญิงหลังคลอดได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย
3.สามารนำองค์ความรู้ไปใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่นได้
4.สามารถส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบำบัดรักษาโรคและเป็นแพทย์ทางเลือก
5.สามารถขยายการให้บริการของงานแพทย์แผนไทย ได้อย่างสมบูรณ์


>