กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนในชุมชนโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ ของอสม. ปี 2566 รพ.สต.บ้านทรายขาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว

1.นายวิโรจ ชาญแท้
2.นางพรรณฤพร พิเศษ
3.นางซูไนดา ตามะ
4.นางสาวเสาวนีย์ เทพกำเหนิด
5.นางสาวนูรยาตีม ดอเลาะ

ม.1,ม.2,ม.3,ม.4,ม.9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเรื้อนเป็นที่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ปรากฏอาการที่ผิวหนังและเส้นประสาทส่วนปลาย การดำเนินของโรคเป็นไปอย่างช้าๆ เมื่อเส้นประสาทถูกทำลายทำให้เกิดความพิการที่ตา มือ และเท้าได้จาก การที่องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้ความชุกของโรคเรื้อนที่ไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขต้องต่ำกว่า 1 ต่อหมื่น ประชากร ประเทศไทยได้ดำเนินการโครงการป้องกันควบคุมโรคเรื้อนได้สำเร็จ จนไม่เป็นปัญหาในระดับประเทศ แต่ในอำเภอยังคงพบผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นทุกปี ตำบลไพรวัน ตั้งแต่ปี ๒๕๕0 – ๒๕65 ยังพบผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่ จำนวน 2 รายปี 2560 จำนวน 1 ราย และปี 2562 จำนวน 1 ราย ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าในพื้นที่ยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคเรื้อนอยู่ ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว ตำบลไพรวันตั้งแต่ปี ๒๕60 – ๒๕65 พบผู้ป่วยจำนวน 1 รายที่ขึ้นทะเบียนการรักษา และยังมีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยสงเคราะห์ จำนวน1 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลตลอดชีวิตโรคเรื้อนยังคงเป็นปัญหาปัญหาการค้นพบผู้ป่วยล่าช้า (Delay) ส่งผลให้เกิดความพิการในผู้ป่วยและการแพร่เชื้อในชุมชนทางกรมควบคุมโรคจึงมีนโยบาย DDC 4.0 สนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน เพื่อการค้นหาผู้ป่วยที่รวดเร็ว และส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษาได้ทันท่วงที ปัจจุบัน อสม.เป็นกำลังหลักในการเฝ้าระวังโรคเชิงรุกในชุมชนประกอบกับอสม.มีการใช้ Smart phone + Application Line +มี Internet ชุมชนจึงได้นำ Application Line มาประยุกต์ใช้ในการค้นหา ผู้สงสัยโรคเรื้อนในชุมชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว จึงจัดทำโครงการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนในชุมชนโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ ของอสม. ปี 2566 ขึ้นโดยใช้รูปแบบการอบรม เรียนรู้ Application Line มาประยุกต์ใช้ในการค้นหา ผู้สงสัยโรคเรื้อนในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างทักษะอสม.ในการใช้ Smart phone กับ Application Line ในการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนในชุมชน

ผลการประเมินความรู้และทักษะของ อสม. หลังการฝึกอบรมการใช้ Application Line ร้อยละ 75

0.00
2 เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบำบัดรักษาโรคและเป็นแพทย์ทางเลือกสำหรับประชาชนทั่วไปและ อสม.

อสม.สามารถค้นหาผู้ป่วยที่สงสัยโรคเรื้อนในชุมชน และได้ส่งต่อเพื่อรักษายังทันท่วงที

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมอสม.โดยใช้ Smart phone กับ Application Line ในการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมอสม.โดยใช้ Smart phone กับ Application Line ในการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ชี้แจงการใช้ Smart Phone + Application Line พร้อมทำแบบทดสอบก่อนอบรมความรู้ของโรคเรื้อน 2.ทำแบบทดสอบความรู้หลังอบรมความรู้ของโรคเรื้อน และแบบประเมินความพึงพอใจของเนื้อหา และ การใช้ Application - ป้ายโครงการ 1 ป้าย 700.-บาท - ป้ายให้ความรู้พร้อมขาตั้ง 5 ป้าย 4,500.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทจำนวน1 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 1 วันเป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว มีทักษะการใช้Smart phone กับ Application Line ในการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อน
2.อาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาวสามารถค้นหาผู้ป่วยที่สงสัยโรคเรื้อนในชุมชน และได้ส่งต่อเพื่อรักษายังทันท่วงที


>