กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักอนามัย ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

โรงเรียนบ้านใหม่พัฒนวิทย์

โรงเรียนบ้านใหม่พัฒนวิทย์ หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชนจึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงแรียน ชุมชน และองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานร่วมมือประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมที่มีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข นากจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัยการให้ความรู้ด้านสุขภาพช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จากการสำรวจในปี 2564 พบว่านักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนวิทย์ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องของการดูแลสุขภาพตนเองตามช่วงวัย อีกทั้งยังไม่สามารถดูแลรักษาความสะอาดของตนเองได้ ถ้าผู้ปกครองไม่เอาใจใส่ ตลอดจนนักเรียนมักจะเลือกบริโภคอาหารที่มีสีสันสวยงามและไม่ม่ประโยชน์ โรงเรียนบ้านใหม่พัฒนวิทย์ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรักอนามัย ใส่ใจสุขภาพ ขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการดูแลสุขภาพตนเอง เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย ตลอดจนได้รับความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรในท้องถิ่นที่สามารถนำมารักษาโรค และทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยที่ดี สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง

1.นักเรียนรู้จักวิธีการดูแลสุขภาพด้วยตนเองอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

30.00 20.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รู้จักบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย

2.นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย ร้อยละ 80

40.00 25.00
3 3.เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจและรู้จักประโยชน์ของสมุนไพรต่างๆ ในท้องถิ่นที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้

3.นักเรียนมีความเข้าใจและรู้จักประโยชน์ของสมุนไพรต่างๆ ในท้องถิ่น ร้อยละ 80

50.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 121
กลุ่มวัยทำงาน 19
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพตนเองตามช่วงวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพตนเองตามช่วงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ขั้นเตรียมการ -ประชุมหารือ และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรม
2.ขั้นดำเนินการ -กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพของตนเองตามช่วงวัย -กิจกรรมฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพของตัวเอง โดยใช้สุขบัญญัติ 10 ประการ -กิจกรรมบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง 3.ขั้นติดตามและประเมินผล -แบบบันทึกการตรวจสุขภาพ รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ -ค่าอาหารว่างนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 121 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,630 บาท -ค่าวัสดุ เครื่องชั่งน้ำหนักแบบสปริง จำนวน 3 เครื่อง ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท -ค่าวัสดุ เครื่องวัดส่วนสูงแบบไม้ จำนวน 3 อัน ๆ ละ 1,900 บาท เป็นเงิน 5,700 บาท
รวมเป็นเงิน 10,680 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนรู้จักวิธีการดูแลสุขภาพด้วนตนเองอย่างถูกต้อง 2.นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย 3.นักเรียนมีความเข้าใจและรู้จักประโยชน์ของสมุนไพรต่างๆ ในท้องถิ่นที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรค และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10680.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารที่ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารที่ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารที่ปลอดภัย 1.ขั้นเตรียมการ    -ประชุมหารือ และแต่งตั้งคณะกรรมดำเนินกิจกรรม 2.ขั้นดำเนินการ    -กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารที่ปลอดภัย    -กิจกรรมสาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพ 3.ขั้นติดตามและประเมิน    -แบบทดสอบเรื่องอาหารที่ปลอดภัย    -แบบสังเกตพฤติกรรม รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้    -ค่าอาหารว่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 44 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,640 บาท    -ค่าวัสดุ (กิจกรรมสาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพ)  เป็นเงิน 5,626  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนรู้จักวิธีการดูแลสุขภาพด้วนตนเองอย่างถูกต้อง
2.นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย
3.นักเรียนมีความเข้าใจและรู้จักประโยชน์ของสมุนไพรต่างๆ ในท้องถิ่นที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรค และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8266.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ "การทำผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยที่ดี"

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ "การทำผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยที่ดี"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ "การทำผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยที่ดี" 1.ขั้นเตรียมการ -ประชุมหารือ และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรม 2.ขั้นดำเนินการ -กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ "การทำผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยที่ดี" -การทำลูกประคบสมุนไพร -การทำเกลือสปาขัดผิว -การทำน้ำยาล้างจานสมุนไพร 3.ขั้นติดตามและประเมินผล -แบบสังเกตพฤติกรรม รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ -ค่าอาหารว่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 44 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,640 บาท -ค่าวัสดุ การทำลูกประคบสมุนไพร เป็นเงิน 4,244 บาท -ค่าวัสดุการทำเกลือสปาขัดผิว เป็นเงิน 2,550 บาท -ค่าวัสดุการทำน้ำยาล้างจาน เป็นเงิน 1,620 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนรู้จักวิธีการดูแลสุขภาพด้วนตนเองอย่างถูกต้อง
2.นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย
3.นักเรียนมีความเข้าใจและรู้จักประโยชน์ของสมุนไพรต่างๆ ในท้องถิ่นที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรค และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11054.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนรู้จักวิธีการดูแลสุขภาพด้วนตนเองอย่างถูกต้อง
2.นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย
3.นักเรียนมีความเข้าใจและรู้จักประโยชน์ของสมุนไพรต่างๆ ในท้องถิ่นที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรค และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน


>