กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนต้นแบบ ลดขยะที่ต้นทาง เพื่อลดโรคติดต่อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงมัส

กลุ่มหรือองค์กรประชาชนตั้งแต่ 5 คน

1. นายอารยาฮา สาเมาะ (ประธาน)
2. นางปีส๊ะ ตอรี(รองประธาน)
3. นางสาวซำซียะห์วาจิ(กรรมการ)
4. นายสะมะแอ สาและ(กรรมการ)
5. นายอารอฟาต สาเมาะ (กรรมการ)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยมีปริมาณมาก ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ได้แก่ บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามองเสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพราะพันธุ์สัตว์ และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื่อนของสารพิษ เช่น ตะกั้ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม
ตามที่คระรัฐมนตรีมีมติเห็นด้วยกับแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ในคราวประชุม เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยระยะสั้น (พ.ศ. 2559-2560) ในการจัดทำแผนปฎิบัติการ ประเทศไทยไร้ขยะ ตามแนวทางประชารัฐ ระยะ 1 ปี โดยใช้หลักการ 3Rs คือการใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ไหม่ โดยมีเป้าหมายเพือลดปริมาณเกิดขยะมูลฝอยในภาพรวมของประเทศลดลงร้อยละ 5 จากอัตราการเกิดขยะมูลฝอย และตามหนังสือที่ มห 0023.6/ว 85 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 จากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ เรื่องขอความร่วมมือ ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์การคัดแยกขยะที่ต้นทางเพื่อเป็นการรณรงค์สร้างจิตสำนึกและการกระต้นให้ประชาชนมีการคัดแยกขยะทีต้นทาง และตามหนังสือที่ มห 0023.6/ว 88 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561 จากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ เรื่อง ขอความร่วมมือติดตั้งถังขยะเปียกครัวเรือนให้ครบ 80% ของครัวเรือนในพื้นที่
ดังนั้น เพือเป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ของพื้นที่บ้านบือนังกือเปาะ หมู่ที่ 5 ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส และตอบสนองแนวทาง "ประชารัฐ" ทางชมรมคนรักสุขภาพและสิ่่งแวดล้อมบ้านบือนังกือเปาะ จึงได้จัดทำ โครงการชุมชนต้นแบบ ลดขยะที่ต้นทาง เพื่อลดโรคขึ้น เพื่อให้ประชาชนบ้านบือนังกือเปาะ หมู่ที่ 5 ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการลดปริมาณขยะและการจัดการขยะที่ถูกต้อง โดยแต่ละครัวเรือนช่วยกันคัดแยกขยะและกำจัดให้ถูกวิธีตามชนิดของขยะหรือการนำกลับมาใหม่ ตามหลักการ 3Rs จะเป็นการลดปริมาณขยะได้มาก และช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมในบ้านเรือนและชุมชนน่าอยู่ สะอาด ลดแหล่งเพาะพันธ์ของพาหะนำโรค ลดกลิ่นเหม็นและเหตุรำคาญต่างๆ จากขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือน ที่สำคัญสามารถนำขยะเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถนำมาทำ น้ำหมักชีวภาพเพื่อบำรุงดิน หรือเพื่อประโยชน์อื่น ๆ ได้อีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง

1.ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจในการคัดแยกขยะที่ต้นทางร้อยละ 90

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะโดยชุมชน

2.ประชาชนมีการคัดแยกขยะและมีการจัดทำถังขยะเปียก ร้อยละ 90

0.00
3 3. เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์ของพาหะนำโรค

3.ค่าดัชนีการสำรวจลูกน้ำยุงลาย (HI) ไม่เกินร้อยละ 10 และ (CI) ไม่เกินร้อยละ 0

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเรื่องความรู้เกี่ยวกับการคักแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนขยะทั่วไป ขยะเปียก การป้องกันตัวเองจากโรคที่มากับขยะ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเรื่องความรู้เกี่ยวกับการคักแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนขยะทั่วไป ขยะเปียก การป้องกันตัวเองจากโรคที่มากับขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 120 คน เป็นเงิน 7,200 บาท
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 120 คน เป็นเงิน 7,200 บาท
  • ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นจำนวนเงิน 3,600 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ (ถังขยะเปียก) จำนวน 120 ถังๆละ 95 บาท เป็นเงิน 11,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน และมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน
2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางและรู้วิธีการขัดแยกขยะ
3. ช่วยรักษาภาวะโรคร้อนได้อีกวิธีหนึ่ง
4. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ชุมชนตำบลตันหยงมัส น่าอยู่อย่างยั่งยื่น


>