กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรี

เทศบาลตำบลแม่ขรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรีได้จัดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรี ซึ่งอาหารเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เพราะอาหารประกอบด้วยสารอาหารหลายอย่าง จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต และการพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยก็เช่นกัน เป็นการพัฒนาในด้านการเจริญเติบโตทางสรีระเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง มีสมรรถภาพในการเรียนรู้และการเล่นโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรีจึงตระหนักถึงความสำคัญของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ตลอดจนมีปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายของเด็กเล็ก โดยเฉพาะสำหรับเด็กปฐมวัย มีความจำเป็นต่อร่างกายที่จะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายและสมอง การที่เด็กได้รับสารอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ครบถ้วนย่อมส่งผลต่อพัฒนาการที่สมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรีจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรี เพื่อให้เด็กเล็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการได้รับประทานอาหารเสริมเป็นนมจืดและไข่ไก่เพิ่มอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามวัย
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดย การแปลผลข้อมูลการเจริญเติบโตสำหรับเด็กไทย โดยกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข เป็นการเฝ้าระวังระยะ 3 เดือนอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการประเมินและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ

เด็กเล็กได้รับการประเมินและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ  90  ของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรี

0.00
2 เพื่อให้เด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน) และ ภาวะทุพโภชนาการ (ผอม) ได้รับการดูแลแก้ไขทุกคน

เด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน (อ้วน)  และ ภาวะทุพโภชนาการ (ผอม) ได้รับการดูแลแก้ไขทุกคนลดลง

0.00
3 เพื่อส่งเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพเด็กเล็กแก่ผู้ปกครอง

สามารถส่งเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพเด็กเล็กแก่ผู้ปกครอง

0.00

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรีได้จัดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรี ซึ่งอาหารเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เพราะอาหารประกอบด้วยสารอาหารหลายอย่าง จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต และการพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยก็เช่นกัน เป็นการพัฒนาในด้านการเจริญเติบโตทางสรีระเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง มีสมรรถภาพในการเรียนรู้และการเล่นโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรีจึงตระหนักถึงความสำคัญของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ตลอดจนมีปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายของเด็กเล็ก โดยเฉพาะสำหรับเด็กปฐมวัย มีความจำเป็นต่อร่างกายที่จะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายและสมอง การที่เด็กได้รับสารอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ครบถ้วนย่อมส่งผลต่อพัฒนาการที่สมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรีจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรี เพื่อให้เด็กเล็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการได้รับประทานอาหารเสริมเป็นนมจืดและไข่ไก่เพิ่มอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามวัย
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดย การแปลผลข้อมูลการเจริญเติบโตสำหรับเด็กไทย โดยกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข เป็นการเฝ้าระวังระยะ 3 เดือนอย่างต่อเนื่อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 148
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียม

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินภาวะโภชนาการเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรีทั้งหมด จำนวน 148 คน ด้วยโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการของกรมอนามัย  ได้กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจำนวน  29  คน
  2. หนังสือแจ้งเพื่อทราบให้กับผู้ปกครองสำหรับเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการ เพื่อให้ได้รับการดูแลและแก้ไขซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มกราคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
2.ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอาหารเสริมแก่เด็กเล็กที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์หรือส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์หรือค่อนข้างผอม เตี้ย และผอม ระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 1. กิจกรรม -สำรวจเด็กเล็ก และประเมินภาวะโภชนาการด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่ขรีทั้งหมด จำนวน 138 คน ด้วยโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการของกรมอนามัยได้กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจำนวน21คน -บันทึกผลการประเมิน/แปรผลด้วยโปรแกรมประเมินภาวะโภชนาการ

  1. กิจกรรม

- หนังสือแจ้งเพื่อทราบให้กับผู้ปกครองสำหรับเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการ เพื่อให้ได้รับการดูแลและแก้ไขซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง

3 กิจกรรม -จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้ ด้านโภชนาการ อาหารดีมีประโยชน์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ให้แก่เด็กเล็กและผู้ปกครองรับทราบ

งบประมาณ ค่าตอบแทนวิทยากร 600บ.x1 คน= 1,200บ. ค่าอาหารว่าง 25บ.x40คน= 1,000บ.
ค่าป้ายโครงการขนาด 1.2ม.x2.4 ม.= 432บ.

  1. กิจกรรม -จัดอาหารเสริมแก่เด็กเล็กที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์หรือส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์หรือค่อนข้างผอม เตี้ย และผอม ระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 -ให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเด็กเล็ก (ประสานให้ความรู้ผู้ปกครอง)

- จัดเตรียมอาหารเสริมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย (ไข่ต้ม1ฟอง/นม1กล่อง/วัน/คน) งบประมาณ ชุดอาหารส่งเสริมโภชนาการ ชุดละ 10 บาท ต่อวัน (ไข่ต้ม/นม)จำนวน 63 วันทำการ(21 คน x 10 บาท x 63วัน) เป็นเงิน 13,230 บาท
5. กิจกรรม -จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย (กรณีที่พบเด็กที่ไม่อยู่ในเกณฑ์) 3 เดือน -ติดตามเยี่ยมบ้านเด็กกลุ่มเป้าหมายเพื่อประเมินพฤติกรรมเด็กและการดูแลเด็กที่บ้าน 6. กิจกรรม -ประเมินผลการดำเนินงาน - สรุปผลการดำเนินงานตาม แผนงานโครงการ

รวมเป็นเงิน รวม15,862.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15862.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
ขั้นสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามเยี่ยมบ้านเด็กกลุ่มเป้าหมายเพื่อประเมินพฤติกรรมเด็กและการดูแลเด็กที่บ้าน       -  รายงานผลโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,862.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กเล็กที่มีข้อมูลภาวะโภชนาการได้รับการแก้ไขปัญหา
2. ผู้ปกครองมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3. เด็กเล็กมีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์อ้างอิง ตามเพศและช่วงอายุ ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2558
4. เด็กมีการเจริญเติบโตสมวัยและสามารถเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็ก และมีพัฒนาการ (IQ) สูงขึ้น


>