กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออกตำบลบาโลย อำเภยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออกตำบลบาโลย อำเภยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโลย

น.ส.ไซนุงสาเมาะ
น.ส.นาซีล๊ะดาโอะ
นางนูรฮายาตีมาหม๊ะ
นางปือเสาะสือแม็ง
น.ส.ฟารีด๊ะเตะ

ตำบลบาโลย อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีความรุนแรงสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้และมีผลต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันพบว่ายังมีการแพร่ระบาดอยู่เป็นจำนวนมาก ในขณะที่การป้องกันและการควบคุมโรคโดยการกำจัดและลดจำนวนยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคด้วยการทำลายลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายนั้นอาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสูงๆใดๆเลย แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคนี้ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้
การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นเป้าหมายหลักของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องดูแลและป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก มีการวางกำหนดเป้าหมายการควบคุมโรคโดยเน้นการดำเนินการในบ้าน ชุมชน โรงเรียน ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆเป็นเขตปลอดยุงลาย รวมทั้งการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมการป้องกันโรคเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป
การศึกษาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดปัตตานี ปี พ.ศ. 2565 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 1,024 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 154.34ต่อแสนประชากร ส่วนปี พ.ศ. 2564มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 759 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 114.40 ต่อแสน ประชากร ส่วนในปี พ.ศ. 25563มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งสิ้น 216 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 32.36 ต่อแสนประชากร (สำนักงานระบาดวิทยา, 2565)ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี พบว่า ปี 2565 มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 110 ราย ส่วนปี พ.ศ. 2564จำนวนผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนเช่นกัน และมีผู้ป่วยสะสมจำนวน 98 ราย จะเห็นได้ว่า การระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น จะมีแนวโน้มการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยะหริ่ง, 2565) สำหรับสถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลบาโลย จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกใน 5 ปีย้อนหลัง พบว่า ปี 2561 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 9 ราย ซึ่งมีมากเป็นอุบัติการณ์และเป็นที่ 8 ของอำเภอด้วย ต่อมาใน 2562 ลดลงเหลือ 2 ราย และ 3 รายในปี 2563 ต่อมาในปี 2564 ไม่พบผู้ป่วย และในปี 2565 พบผู้ป่วย 2 ราย จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย จึงได้จัดทำโครงการพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก เพื่อจัดอบรม สัมมนาให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้ไปขยายผลต่อ เผยแพร่ให้กับประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจจะได้ช่วยกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลบาโลย

อัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1)กิจกรรมอบรม/สัมมนาความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 105 คน

ชื่อกิจกรรม
1)กิจกรรมอบรม/สัมมนาความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 105 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรม/สัมมนาความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 105 คน
1.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 105 คนๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 5,250บาท 1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 105 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาทเป็นเงิน7,350 บาท 1.3 ค่าป้ายโครงการ (ไวนิล) ขนาด 1x3 เมตรเป็นเงิน 750 บาท
1.4 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15150.00

กิจกรรมที่ 2 2) กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ โดย อสม. 25 คน และประชาชนทั่วไป หมู่ละ 20 คน รวม 105 คน

ชื่อกิจกรรม
2) กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ โดย อสม. 25 คน และประชาชนทั่วไป หมู่ละ 20 คน รวม 105 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 105 คนๆ คนละ 50 บาทเป็นเงิน 5,250 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 105 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาทเป็นเงิน7,350บาท -ค่าป้ายรณรงค์ (ไวนิล) ขนาด 1x3 เมตร เป็นเงิน750บาท -ค่าน้ำมันดีเซลและเบนซินสำหรับเครื่องพ่นสารเคมี เป็นเงิน3,000บาท -ค่าสเปรย์ฉีดยุง 300 มล. จำนวน 12 ขวดๆละ 75 บาท เป็นเงิน900บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17250.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมกรรมการ สรุปผลการดำเนินโครงการ ถอดบทเรียน และติดตามข้อตกลง โดย อสม. 25 คน และตัวแทนประชาชนทั่วไป 15 คน รวม 40 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมกรรมการ สรุปผลการดำเนินโครงการ ถอดบทเรียน และติดตามข้อตกลง โดย อสม. 25 คน และตัวแทนประชาชนทั่วไป 15 คน รวม 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมกรรมการ สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ถอดบทเรียน และติดตามข้อตกลง -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40คนๆ คนละ 50 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 2 ครั้งๆคนละ 35 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>