กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร่วมคืนรอยยิ้มผู้สูงอายุ ตำบลลุโบะสาวอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

โรงพยาบาลส่งเสิรมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ

โรงพยาบาลส่งเสิรมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรของประเทศไทยทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมีผลให้ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยายไปสู่ครอบครัวเดี่ยว ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยวดำเนินชีวิตเพียงลำพัง และผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังและอุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระของผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรได้รับความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม ทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่พบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ คือ ปัญหาสุขภาพช่องปาก ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุมีอยู่ ๗ ประเด็น คือ การสูญเสียฟันโรคฟันผุ/รากฟันผุโรคปริทันต์มะเร็งในช่องปากภาวะน้ำลายแห้งโรคฟันสึกและโรคในช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ
สุขภาพช่องปากถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับสุขภาพทางด้านร่างกาย อาทิ การสูญเสียฟัน
จำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร การดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจิต เป็นต้น ดังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุขจิตใจก็ไม่สบายร่างกายก็ไม่แข็งแรง” จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ ๘ ประเทศไทย พ.ศ. 2560 ในกลุ่มอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป พบว่าร้อยละ 56.1 ของผู้สูงอายุ มีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้ ๒๐ ซี่ และผู้สูงอายุมีฟันแท้คู่สบ ๔ คู่ ขึ้นไป ร้อยละ 40.2 ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารลดลงชัดเจน แม้ว่ากลุ่มผู้สูงอายุตอนต้นจะมีจำนวนมากกว่าครึ่ง มีฟันถาวร 20 ซี่ แต่ฟันถาวรที่เหลือนั้นยังมี

ปัญหารอยโรคและความผิดปกติในช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลามที่นำไปสู่ความเจ็บปวดและการสูญเสียฟัน ปัญหาที่สำคัญได้แก่ การสูญเสียฟันโดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปากในผู้สูงอายุ 60-74 ปี พบร้อยละ 8.7 แต่เมื่ออายุ 80-85 ปี เพิ่มสูง ถึงร้อยละ 31.0 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยวอย่างมาก และผู้สูงอายุยังขาดความรู้ความเข้าใจ และการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างเหมาะสม อันจะนำไปสู่การสูญเสียฟันเมื่ออายุเพิ่มขึ้น
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอได้เล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ และเห็น
ว่ามีความจำเป็นที่ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลด้านการส่งเสริมและป้องกันโรคในช่องปากที่เหมาะสม มีประสิทธิผล เชื่อมโยงเป็นระบบที่ชัดเจน จึงได้จัดทำโครงการ ร่วมคืนรอยยิ้มผู้สูงอายุ ตำบลลุโบะสาวอ ปี 2565 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง เพื่อควบคุมโรคและการสูญเสียฟัน ให้ผู้สูงอายุมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามให้แก่คนรุ่นหลังได้ยกย่องสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองร้อยละ 70

 

0.00
2 ผู้สูงอายุได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปากทุกคน

 

0.00
3 สร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้คนรุ่นหลังได้มีทัศนคติที่ดีและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุและช่วยกันดูแล

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 105
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/06/2023

กำหนดเสร็จ 25/06/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์เป็นเงิน  1,000  บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 2ชั่วโมง 30 นาทีชั่วโมงละ  600.-บาท X 2 วันเป็นเงิน  3,000.-บาท
  3. ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25.-บาท จำนวน 105 คน  เป็นเงิน  5,250  บาท
  4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1
    เป็นเงิน  5,250  บาท
  5. ค่าชุดอุปกรณ์การทำความสะอาดช่องปาก จำนวน 150 บาท x 105 คน เป็นเงิน  15,750 บาท
  6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ดำเนินการเป็นเงิน   3,000  บาท จำนวนทั้งสิ้น  33,250.-บาท     (-สามหมื่นสามพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน-)
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 มิถุนายน 2566 ถึง 25 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
2) ผู้สูงอายุได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปากทุกคน
3) สร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้คนรุ่นหลังได้มีทัศนคติที่ดีและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุและช่วยกันดูแล


>