กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการจัดการขยะในครัวเรือนเพื่อสุขภาพที่ดีของชาวบ้านควน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

คณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านควน หมู่ที่ 5

1.นายสุกรี กาลีโลน ประธานคณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านควน หมู่ที่ 5
2.นายการียา ตอหิรัญ รองประธานคณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านควน หมู่ที่ 5
3.นางสาวอัมน๊ะ หาบยูโซะ เหรัญญิกคณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านควน หมู่ที่ 5
4.นางชำรี ฮะอุรา ประชาสัมพันธ์คณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านควน หมู่ที่ 5
5.นางสาวอนงค์ สนหละเลขานุการคณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านควน หมู่ที่ 5

บ้านควน หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านควน อำเถอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันเป็นสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความเจริญเติบโตของเมืองตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชนจากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวยงามของบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพของคน ในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าวรวมถึงมีการกำหนดรูปแบบหรือวิธีการจัดการไว้แล้วแล้ว แต่ยังคงไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยทีเพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกในพื้นที่ ปัญหาด้านกระบวนการกำจัดขยะหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสร้างมูลค่าหรือสร้างรายได้ ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้ จังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “สงขลาสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้ แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565 – 2570) โดยดำเนินการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน โดยใช้หลักการ 3 ช. : ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ว่า “ประเทศไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ทุกวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก”กระทรวงมหาดไทยโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ดำเนิน โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 โดยให้จังหวัดส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการจัดทำถังขยะเปียกให้ครบทุกครัวเรือน รวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมการคัดแยกขยะครัวเรือนลดการปนเปื้อนขยะเปียกกับของเหลือใช้อื่นๆ สร้างรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะ ลดภาระค่าใช้จ่ายโดยการใช้ปุ๋ยหมักที่เกิดจากถังขยะเปียก เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตลอดจนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจในประเทศไทย หรือ Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน ได้พิจารณาเห็นชอบการขึ้นทะเบียนโครงการฯ โดยมีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นผู้พัฒนาหรือเจ้าของโครงการ ประกอบด้วยครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 36,644,309 ครัวเรือน โรงเรียน 1,701 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 18,935 แห่ง โดยมีระยะเวลาคิดเครดิตของโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 – 30 มิถุนายน 2569 หรือระยะเวลา 7 ปี และคาดว่าจะสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 492,212 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
หมู่ที่ 5 บ้านควน ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ซึ่งได้รับการพิจารณาจากอำเภอเมืองสตูลและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ให้รับการขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวให้เกิดเป็นหมู่บ้านต้นแบบการจัดการถังขยะเปียกลดโลกร้อน ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะเปียกของครัวเรือน จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านต้นแบบ สะอาด น่าอยู่ (กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะมูลฝอยและจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อนในครัวเรือน) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีการจัดการขยะที่ต้นทางที่เหมาะสม

ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการคัดแยกขยะร้อยละ 80

250.00 200.00
2 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครัวเรือนมีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน และสัตว์นำโรคอื่นๆ และลดปริมาณขยะอินทรีย์ที่จะเข้าสู่ระบบกำจัด

ร้อยละ 100 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการจัดทำถังขยะเปียก

537.00 250.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ครัวเรือนในพื้นที่หมุ่ที่ 5 บ้านควน เรือง การจัดการขยะในครัวเรือนทั้ง 4 ประเภท คือ 1 ขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก 2 ขยะรีไซเคิล 3 ขยะทั่วไป 4 ขยะอันตราย
รายละเอียดงบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 250 คน จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 250x25 = 6,250 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1x3x600=1,800 บาท
กำหนดการอบรม
12.30 - 12.45 น. ลงทะเบียน
12.45 - 13.00 น. กล่าวเปิดการอบรมโดย นายก กูดานัน หลังจิ
13.00 - 16.00 น. รับฟังการบรรยาย เรื่องการจัดการขยะครัวเรือนทั้ง 4 ประเภท
16.00 - 16.25 น. ซักถามปัญหา ข้อสงสัย
16.25 - 16.30 น. ปิดการอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8050.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำถังขยะเปียก ตัดท้ายพร้อมฝาปิด พร้อมสาธิตวิธีการใช้ที่ถูกต้องให้กับครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม
1. ค่าถังพลาสติกตัดท้ายพร้อมฝาปิด ขนาด 10 ลิตร จำนวน 250 ใบๆละ 100 บาท เป็นเงิน 250x100 = 25,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,050.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีการคัดเเยกขยะในครัวเรือนมากขึ้น
2.แหล่งเพาะพันธู์แมลงวันและสัตว์นำโรคอื่นๆลดลง


>