กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพในพื้นที่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหนด

หมู่ที่ 3,4,6,7 ตำบลบ้านโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบัน สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ทำให้ประชาชนเจ็บป่วย และตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมยังส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคติดต่อ โดยเฉพาะ โรคโควิด-19 ซึ่งการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อหรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้น ส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และประเทศ การแก้ไขปัญหาสุขภาพจึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ทักษะในการดูแลตนเองของผู้เจ็บป่วย และบุคคลในครอบครัว ซึ่งมิใช่เพียงหน้าที่ของทีมสุขภาพที่ดูแลผู้ป่วยเท่านั้น ยังต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย รวมทั้งแกนนำสุขภาพในชุมชน ซึ่งนับว่าเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขเชิงรุก เนื่องจากเป็นบุคลากรสาธารณสุขภาคประชาชน ที่สามารถเข้าถึงชุมชนได้เป็นอย่างดี เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมสุขภาพ จึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในการนำความรู้ ไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกในครอบครัว และประชาชนในชุมชน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหนด จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพในพื้นที่ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพได้มีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่

แกนนำสุขภาพได้มีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่

0.00
2 เพื่อเป็นการส่งเสริมแกนนำสุขภาพให้มีการฝึกทักษะการปรับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

แกนนำสุขภาพให้มีการฝึกทักษะการปรับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

0.00
3 เพื่อให้แกนนำสุขภาพได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ทันต่อสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ

แกนนำสุขภาพได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ทันต่อสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39847.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,847.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำสุขภาพมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่
2. แกนนำสุขภาพมีทักษะในการปรับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
3. แกนนำสุขภาพได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ทันต่อสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ


>