กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังผู้บริโภคด้านสาธารณสุข รพ.สต.บ้านโหนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหนด

หมู่ที่ 3,4,6,7 ตำบลบ้านโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคที่ส่งผลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพ ประกอบด้วย อาหาร ยา เครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นต้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวล้วนมีมาตรการภาครัฐสำหรับควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ก็มีรายงานการตรวจสอบพบสารอันตรายห้ามใช้ หรือสิ่งควบคุมเกินมาตรฐานกำหนดในผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆมาโดยตลอด
การดำเนินงานเฝ้าระวังความปลอดภัยในการบริการ ด้านอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคด้านต่างๆในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้านสื่อความรู้ต่างๆยังมีน้อย และพบว่ามีร้านค้าในชุมชน รถเร่ นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายในชุมชน ปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพในคลื่นวิทยุชุมชน ผู้ที่ขาดความรู้อาจตกเป็นเหยื่อ หรือได้รับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานจากโฆษณาได้ และในส่วนของโรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคมพื้นฐานที่มีหน้าที่พัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีศักยภาพเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมทุกๆด้าน โรงเรียนเป็นที่รวมของเด็กในชุมชนที่มาจากครอบครัวที่ต่างกัน จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ มีโอกาสแพร่เชื้อโรคได้ง่าย จึงต้องเอาใจใส่ดูแล และให้ความรู้ปลูกฝังเจตคติ เสริมสร้างทักษะที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้อง มีสุขนิสัยที่ดีติดตัวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในโรงเรียนจะมีเยาวชน หรือ อย. น้อย ที่คอยดูแลตรวจสอบเฝ้าระวังให้คำแนะนำในเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่เพื่อนนักเรียนและชุมชน
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหนด จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และโรงเรียนด้วยพลังของชุมชน เป็นระบบเครือข่าย และคณะทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวัง การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ยาไม่ปลอดภัย การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังอาหาร และการอ่านฉลากโภชนาการแบบ GPA (Guideline Daily Amounts) หรือฉลากหวาน มัน เค็ม จากการบริโภคอาหารสำเร็จรูป ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ที่ประชาชนในตำบลบ้านโหนดควรตระหนัก และปฏิบัติตามเพื่อให้ชุมชน และโรงเรียน ปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความตระหนักในการเลือกซื้อของกันทั้งเด็ก และผู้ใหญ่

ชุมชนมีความตระหนักในการเลือกซื้อของกันทั้งเด็ก และผู้ใหญ่

0.00
2 เพื่อให้มีความรู้ และความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

มีความรู้ และความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

0.00
3 ๓.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เฝ้าระวังยาไม่ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ได้มาตรฐาน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 85
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11447.00

กิจกรรมที่ 2 ทดสอบอาหารปนเปื้อน

ชื่อกิจกรรม
ทดสอบอาหารปนเปื้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,047.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ชุมชนมีความตระหนักในการเลือกซื้อของกันทั้งเด็ก และผู้ใหญ่
2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
๓.ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เฝ้าระวังยาไม่ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ได้มาตรฐาน


>