แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย รหัส กปท. L5196
อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.น.ส.เรวดีศรีผล
2.นายถวิลอินทโน
3.นางดวงนภาเพ็ชรมุณี
4.นางนวพรเจริญสุข
5.นางศรีสุดาประยูรเต็ม
ปัจจุบันกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบของประเทศไทย เคยประสบอันตรายหรือเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานคิดเป็น ร้อยละ 13.28 ของแรงงานทั้งหมดทั่วประเทศ โดยแบ่งความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุตามลักษณะการบาดเจ็บจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ 1) ของมีคมบาด/ทิ่ม/แทง, 2) พลัดตกหกลิ้ม, 3) การชน/กระแทก โดยวัสดุ, 4) ถูกไฟ/น้ำร้อนลวก, 5) อุบัติเหตุจากยานพาหนะ, 6) ได้รับสารเคมี, 7) ไฟฟ้าช็อต และ 7) อื่นๆ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาถึงความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุพบว่า การประสบอันตรายหรือการเจ็บป่วยส่วนใหญ่ หยุดงานไม่เกิน 3 วัน คิดเป็นร้อยละ 68.61 รองลงมา ได้แก่ หยุดงาน 3 วัน คิดเป็นร้อยละ 28.08 และเสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 0.57 (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค, 2556) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำพด พบผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ จำนวน 60 ครั้ง แบ่งตามลักษณะการบาดเจ็บ ดังนี้ 1)อุบัติเหตุขนส่ง 14 ครั้ง 2)พลัดตกหรือหกล้ม 2 ครั้ง 3)การชน/กระแทกวัตถุสิ่งของ 25 ครั้ง 4) การชน/กระแทกสัตว์หรือคน 2 ครั้ง 5)การสัมผัสพิษจากสัตว์หรือพืช 3 ครั้ง 6)การบาดเจ็บโดยไม่ทราบเจตนา 14 ครั้ง (ข้อมูลจากJHCIS ตั้งแต่ 1 ต.ค. 64 ถึง 30 ก.ย. 65) ซึ่งการประสบอันตรายหรือการเกิดอุบัติเหตุของแรงงาน ส่งผลกระทบในด้านรายได้, ค่ารักษาพยาบาล, การสูญเสียเวลา และอาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถลดความรุนแรงความสูญเสียดังกล่าวนี้ได้โดยการให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบอันตรายอย่างถูกต้องและทันท่วงที รวมถึงการส่งต่อผู้บาดเจ็บไปยังแพทย์หรือสถานพยาบาลได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอด และสามารถทำงานได้เป็นปกติในไม่ช้า ดังนั้น การอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้กับแกนนำด้านสุขภาพในชุมชน จึงเป็นสิ่งที่สําคัญ ซึ่งการฝึกอบรมจะทําให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ที่ถูกต้องและได้รับการฝึกฝนจนชํานาญ สามารถ นําความรู้และทักษะที่ได้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่นได้ในภาวะฉุกเฉิน ก่อนนําส่งสถานพยาบาลต่อไป
-
1. เพื่อลดจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตัวชี้วัด : จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดปัญหา 11.00 เป้าหมาย 5.00
-
2. เพื่อลดจำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตัวชี้วัด : จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดปัญหา 7.00 เป้าหมาย 3.00
-
3. เพื่อเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนนแบบสหสาขาตัวชี้วัด : จำนวนกิจกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน (เช่น มีการจัดประชุม ศปถ.อปท. ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน ไตรมาสละ 1 ครั้ง หรือมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางถนน)ขนาดปัญหา 1.00 เป้าหมาย 1.00
- 1. ประชาสัมพันธ์โครงการรายละเอียด
- ป้ายโครงการ ขนาด 1.2 เมตร X 2.4 เมตร X 1 ผืน เป็นเงินจำนวน 500 บาท
งบประมาณ 500.00 บาท - 2. รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจกฏจราจรและมีน้ำใจรายละเอียด
ผู้นำชุมชน อสม.แกนนำชุมชน และประชาชนร่วมกันรณรงค์ ฯ ในพื้นที่
- ค่าอาหารว่างและ้เครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
งบประมาณ 0.00 บาท - 3. อบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน รุ่นละ 50 คน จำนวน 2 รุ่นรายละเอียด
- ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 6 ชั่วโมง x 2 วัน เป็นเงินจำนวน 7,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50 บาท x 1 มื้อ x 100 คน เป็นเงินจำนวน 5,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท X 2 มื้อ X 100 คน เป็นเงินจำนวน 6,000 บาท
- วัสดุสำนักงาน(แฟ้มกับปากกา) ชุดละ 20 บาท X 100 ชุด เป็นเงินจำนวน 2,000 บาท
- ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงินจำนวน 500 บาท
งบประมาณ 20,700.00 บาท - 4. ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)รายละเอียด
- วัสดุทางการแพทย์(เพื่อการฝึกปฏิบัติเช่น ผ้าพันแบบยืด ไม้ดามแขน/ขา ฯลฯ) เป็นเงินจำนวน 2,000 บาท
- ค่าเกียรติบัตรผู้ผ่านการอบรม ใบละ 10 บาท X 100 ใบ เป็นเงินจำนวน 1,000 บาท
งบประมาณ 3,000.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 27 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
รพ.สต.บ้านลำพด
รวมงบประมาณโครงการ 24,200.00 บาท
หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้
1.สามารถลดความรุนแรงความสูญเสียจากการประสบอันตรายหรืออุบัติเหตุได้ 2.ผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดและสามารถทำงานได้เป็นปกติในไม่ช้า
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย รหัส กปท. L5196
อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย รหัส กปท. L5196
อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................