กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

ประธาน อสม.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกของจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปี 2564 - ปี 2565 (ณ วันที่่ 1 ต.ค.2563-19 ม.ค.2564) พบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่ในพื้นที่ พบอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด (585 ราย) 142.57 ต่อแสนประชากร เนื่องจากชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสำรวจลูกน้ำยุงลายและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในแต่ละแวกบ้านของตนเองทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการเก็บกักน้ำฝนในภาชนะต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะภาชนะที่อยู่นอกบ้าน หรือภาชนะที่ไม่ได้ใช้แล้ว ส่งผลให้มีเพาะพันธ์ุยุงลายจำนวนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในภาคใต้มักจะมีฝนตกมากในช่วงปลายปี (พฤศจิกายน - ธันวาคม) จึงมีโอกาสที่จะเกิดการระบาดในช่วงปลายปีแล้วต่อเนื่องไปยังต้นปีของปีถัดไป
กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยโรคไข้เลือดออกยังคงอยู่กลุ่มเด็กนักเรียน (5-14 ปี) และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (15-24 ปี) แต่กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นวัยผู้ใหญ่ (อายุ 35 ปีขึ้นไป) โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 45-54 ปี และ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราป่วยตายสูงกว่าในวัยเด็ก 3-4 เท่า เนื่องจากผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวเรื้อรังทำให้เมื่อป่วยเป็นไข้เลือดออกจะมีการแทรกซ้อน เช่น ตับวาย ไตวาย ที่รักษาได้ยาก นอกจากนี้ผู้ใหญ่ ส่วนมากเพื่อป่วยมักซื้อยารับประทานเองหรือไปฉีดยาลดไข้ที่คลินิก ทำให้ไม่ได้ไปตราจหาสาเหตุของไข้ที่โรงพยาบาลแต่เนิ่นๆ จึงได้รับการรักษาที่เหมาะสมล่าช้า ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปี 2566 ขึ้น โดยดำเนินการ 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1กิจกรรมรณรงค์ไข้เลือดออก ควบคุมยุงพาหะ กำจัดแหล่งพันธ์ุลูกน้ำยุงลายไม่พบลูกน้ำยุงลายในทุกบ้าน ทุกชุมชน ทุกพื้นที่ และกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมการระบาด พ่นสารเคมีทำลายยุง ในบ้านผู้ป่วยและรัศมี 200 เมตร ถ้ามีรายป่วยจำนวนมากแล้วให้พ่นทั้งหมู่บ้าน โดยต้องเป็น ULV เท่านั้น และต้องพ่นสารเคมี 4 ครั้ง ในวันที่ 0,1,3 และ 7 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชน และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายในบ้านและบริเวณใกล้เคียงโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเกาะเปาะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

1.ร้อยละ 80 ลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก

70.00 30.00
2 2.เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 15

2.ร้อยละ 70 ลดดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน

60.00 30.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

3.ร้อยละ 80 ประชาชนตระหนักในเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก

70.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 46
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในชุมชน มัสยิด และในโรงเรียน ในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในชุมชน มัสยิด และในโรงเรียน ในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในชุมชน มัสยิด และในโรงแรียน ในพื้นที่ -กลุ่มเป้าหมาย แกนนำชุมชน หมู่ละ 1 คน x 3 หมู่ (3 คน) , อสม. 38 คน , นักเรียน 20 คน ผู้นำศาสนา จำนวน 5 คน รวม 66 คน -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 66 คน x 1 มื้อๆ ละ 50 เป็นเงิน 3,300 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 66 คน x 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท -ค่าวิทยากรในการอบรม วันละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 วัน 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท รวมเป็นเงิน 8,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
2.ดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนลดลง
3.ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมการระบาดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมการระบาดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมการระบาดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ มีดังนี้ 2.1 พ่นหมอกควัน เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุง ในบ้านผู้ป่วยและรัศมี 200 เมตร และสถานที่สำคัญในพื้นที่ที่กำหนดไว้
2.2 การแจกทรายอะเบทให้ครัวเรือนในพื้นที่
รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าพ่นหมอกควัน (สำหรับแกนนำชุมชนที่พ่นหมอกควัน) 250 บาท x 10 ครั้ง เป็นเงิน 2,500 บาท
2.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ชนิดเบนซิน เป็นเงิน 1,000 บาท
                          ชนิดดีเซล เป็น 6,000 บาท                           รวมเป็นเงิน 7,000 บาท 3.ค่าผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดยุงลาย (น้ำยาสารเคมี) จำนวน 5 ลิตรๆ ละ 1,600 บาท  เป็นเงิน 8,000 บาท
4.ค่าจัดซื้อทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ทรายอะเบท) 1% Sg. ขนาด 50 กรัม บรรจุซองพลาสติก 1 ถังๆละ 500 ซอง ราคาถังละ 5,000 บาท x 1 ถัง เป็นเงิน 5,000 บาท      รวมเป็นเงิน  22,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
2.ดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนลดลง
3.ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
2.ดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนลดลง
3.ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก


>