กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กไทยไม่กินหวาน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพง

ศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง

1. ว่าที่ ร.ต.หญิงอนัดนงค์รัตนวิภา
2. นางสุภาพหลงหา
3. น.ส.สุวรรณาแดงนุ้ย
4. น.ส.วริษาเหล็มปาน
5. น.ส.นัยนาหวันตาหลา

ศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ดังนั้นการปลูกผังให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการรับประทานอาหารที่หวานน้อย หลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งการบูรณะฟันที่ผุในเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถบดเคี้ยวและกลับมาใช้งานได้ตามปกติจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องควรดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง ร่วมกับ ฝ่ายสาธารณสุขโรงพยาบาลละงู งานคลินิกโรคเรื้อรัง งานสุขภาพจิต และงานโภชนาการ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา

1.ร้อยละ 100 ของนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพงได้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เพื่อเด็กไทยไม่กินหวานใน ศูนย์พัฒนาเด็ก 1.ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพงได้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เพื่อเด็กไทยไม่กินหวานในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง 2.ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เพื่อเด็กไทยไม่กินหวานในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง มีความรู้การเลือกบริโภคอาหาร พัฒนาการในเด็ก และการดูแลสุขภาพของปากผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 3.1.ร้อยละ 80 ของนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพงที่มีฟันผุและยังสามารถให้การบูรณะด้วยการอุดฟันได้โดยวิธี SMART technique 2.ร้อยละ 100 ของนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง ที่ได้รับการอุดฟันแบบ SMART technique ไม่มีปัญหาภาวะแทรกซ้อนหลังทำ

2566.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เด็กไทยไม่กินหวาน

ชื่อกิจกรรม
เด็กไทยไม่กินหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมทีมงานและติดตามการดำเนินงานของคณะทำงาน จำนวน 1 ครั้ง
  2. ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบและเวลาในการดำเนินงาน จำนวน 1 ครั้ง
  3. ประชุมติดตามการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมตามช่วงเวลาที่กำหนด จำนวน 3 ครั้ง
  4. คณะทำงานที่เกี่ยวข้องลงไปสอนความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลช่องปาก นิเทศติดตามให้ความรู้แก่บุคลากรทางการศึกษา ครู และแม่ครัว
    1. ฝ่ายทันตสาธารณสุขสอนและทำกิจกรรมสันทนาการในห้องเรียนเรื่องการเลือกรับประทานอาหาร และดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง
  5. โภชนากรและทีมคลีนิคโรคเรื้อรังให้ความรู้และคำแนะนำแก่แม่ครัว ผู้ประกอบอาหารให้กับเด็กนักเรียน 7.ติดตามและตรวจดูการทำอาหาร และตรวจสอบอุปกรณ์การประกอบอาหาร ณ โรงอาหารศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง
  6. เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพง ประเมินพัฒนาการเด็กและให้คำแนะนำแก่ครูศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง
  7. ตรวจฟันและอุดฟันให้แก่นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพงที่มีฟันน้ำนมผุและยังสามารถให้การบูรณะด้วยการอุดฟันได้ โดยวิธี SMAR technique 10 กิจกรรมจัดงาน “รณรงค์เด็กไทยไม่กินหวาน” เป้าหมาย: นักเรียนและผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง รายละเอียดกิจกรรม
    • ให้ความรู้และสันทนาการแก่นักเรียน จำนวน 6 ฐาน ประกอบด้วยฐานอาหารและโภชนาการ ฐานโรคเรื้อรัง ฐานพัฒนาการเด็ก ฐานสุขภาพจิต ฐานสุขภาพช่องปาก  และฐานผู้ปกครอง

- ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กที่เข้าร่วมการณรงค์ในเรื่องการเลือกบริโภคอาหาร พัฒนาการในเด็กและการดูแลสุขภาพช่องปาก - ปลูกฝังเรื่องเด็กเข้าร้านสะดวกซื้อเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน 11.กิจกรรมสรุปโครงการ ดังนี้   - รวบรวมเอกสารการดำเนินงาน เอกสารจัดซื้อ จัดจ้าง สรุปผลการดำเนินงานจากคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง   -ถ่ายเอกสารเข้าเล่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
67250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 67,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็ก/ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพช่องปาก
2.เด็กเกิดการสร้างนิสัย ลดการบริโภคหวานเกินความจำเป็น
3.เด็กและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถปฏิบัติได้
4.ลดปัญหาโรคฟันผุในฟันถาวร


>