กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก ปลอดภัยห่างไกลโรคปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้ว หมู่บ้านชุมชน และประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องต่อไป
การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ ในปีงบประมาณ 2565 พบว่า เด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 83 คน รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ จำนวน 45 คน ร้อยละ 54.22 ไม่รับวัคซีนตามเกณฑ์ จำนวน 38 คน ร้อยละ 45.78 สาเหตุเนื่องผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของวัคซีน เช่น กลัวลูกเจ็บป่วยหรือมีไข้หลังการฉีดวัคซีนทำให้ไม่นำบุตรมาฉีดวัคซีนและฉีดไม่ต่อเนื่องและผู้ปกครองบางส่วนต้องออกไปประกอบอาชีพรับจ้างนอกพื้นที่ เช่นรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม รับจ้างตามร้านค้าในเขตอำเภอเมืองปัตตานีโดยฝากบุตรไว้กับญาติหรือจ้างพี่เลี้ยงทำให้ไม่สามารถนำบุตรมาฉีดวัคซีนตามนัดได้ รพ.สต.เกาะเปาะ จึงได้จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยมีการพัฒนาระบบการติดตามและออกปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชนมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้เรื่องการให้บริการวัคซีนเด็กอายุ 0-5 ปี

1.ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้เรืองการให้บริการวัคซีนแก่เด็กอายุ 0-5 ปี ร้อยละ 90

50.00 20.00
2 2.เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

2.เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 95

70.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 83
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 43
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการแก่ อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการแก่ อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและถอดบทเรียนแก่เจ้าหน้าที่และอสม. -ค่าอาหารว่างและเครืองดื่ม จำนวน 43 คน อัตรามื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,150 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 43 คน อัตรามื้อละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,150 บาท       รวมเป็นเงิน 4,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รพ.สต.เกาะเปาะมีระบบการติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความต่อเนื่องทำให้เด็กกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ประชาชนตำบลเกาะเปาะปลอดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 สำรวจและรวบรวมข้อมูลเด็กอายุ 0-5 ปี ให้ครอบคลุมถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 สำรวจและรวบรวมข้อมูลเด็กอายุ 0-5 ปี ให้ครอบคลุมถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจและรวบรวมข้อมูลเด็กอายุ 0-5 ปี ให้ครอบคลุมถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รพ.สต.เกาะเปาะมีระบบการติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความต่อเนื่องทำให้เด็กกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ประชาชนตำบลเกาะเปาะปลอดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 สร้างระบบการติดตามให้เด็กกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 สร้างระบบการติดตามให้เด็กกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างระบบการติดตามให้เด็กกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีน 1.อสม.ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อแจ้งให้ผู้ปกครองพาบุตรมารับวัคซีนที่ รพ.สต. 2.ประสานทางกลุ่มไลน์โดยอสม.และผู้รับผิดชอบหมู่บ้านประสานทางโทรศัพท์กรณีเด็กไม่อยู่ในพื้นที่เพื่อแจ้งย้ำเตือนให้ผู้ปกครองนำบุตรมารับวัคซีนตามนัดก่อนถึงวันนัด 1 สัปดาห์ 3.ออกหน่วยให้บริการฉีดวัคซีนเชิงรุกในชุมชนและประเมินภาวะสุขภาพเด็ก 0-5 ปี เดือนละ 2 ครั้งกรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถนำบุตรมาฉีดวัคซีนที่ รพ.สต. 4.จัดประชุมชี้แจงและถอดบทเรียนการดำเนินโครงการทีมตำบล (นายกอบต. กำนัน ผู้นำศาสนา ผอ.รพ.สต.และอสม.)พร้อมออกเยี่ยมบ้านแบบองค์รวมในกรณีผู้ปกครองปฏิเสธการฉีดวัคซีน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 83 คน x 1 มื้อๆ ละ 50 บาท  เป็นเงิน  4,150 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 83 x 2 มื้อๆ ละ 25 บาท  เป็นเงิน 4,150 บาท
-ค่าป้ายโครงการขนาด 1.0 x 3.0 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 550 บาท
-ค่าวิทยากรในการอบรม วันละ 6 ชั่วโมง ๆ 300 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์     -สมุด+ปากกา จำนวน 83 ชุดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 2,490 บาท
    -กระเป๋าใส่สมุด+ปากกา 83 ใบๆ ละ 27 บาท เป็นเงิน 2,241 บาท
    -กระดาษฟลิปชาร์ท จำนวน 20 แผ่นๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 200 บาท
     รวมเป็นเงิน  15,581  บาท
2.เวทีการคืนปัญหาให้แก่ชุมชนและเครือข่ายในทีมตำบลเกาะเปาะ ได้รับการฉีดวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตามเกณฑ์ร้อยละ 95 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 29 คน อัตรามื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,450 บาท
    -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 29 คน อัตรามื้อละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 1 คน เป็นเงิน 1,450 บาท
     รวมเป็นเงิน 2,900 บาท      รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  18,481 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รพ.สต.เกาะเปาะมีระบบการติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความต่อเนื่องทำให้เด็กกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ประชาชนตำบลเกาะเปาะปลอดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18481.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเสริมแรงจูงใจแก่เด็กกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ปกครองนำมารับวัคซีนที่ รพ.สต. ทุกครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเสริมแรงจูงใจแก่เด็กกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ปกครองนำมารับวัคซีนที่ รพ.สต. ทุกครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเสริมแรงจูงใจแก่เด็กกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ปกครองนำมารับวัคซีนที่ รพ.สต. ทุกครั้ง โดยการมอบประกาศนียบัตร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รพ.สต.เกาะเปาะมีระบบการติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความต่อเนื่องทำให้เด็กกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ประชาชนตำบลเกาะเปาะปลอดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,781.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

รพ.สต.เกาะเปาะมีระบบการติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความต่อเนื่องทำให้เด็กกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ประชาชนตำบลเกาะเปาะปลอดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน


>