กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบริการด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

รพ.สต.ลางา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา

รพ.สต.ลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19 , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ตามแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ขององศ์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คือ การบริการด้านการแพทย์แผนไทยในการรักษาพยาบาล การป้องกัน การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสภาพ และการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยของประชาชนด้วยศาสตร์การแพทย์การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก ส่งเสริมการปลูกและใช้สมุนไพรไทย เพื่อให้ประชาชนมุ่งสู่การพึ่งพาตนเอง ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ระบบการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของสังคมไทยที่ถูกสะสมและถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่ง สู่อีกรุ่นหนึ่งมาเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบำบัดรักษาสุขภาพของประชาชน ซึ่งเริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แนวทางในการรักษาผู้ป่วย โดยทั่วไปจะมีการใช้ยาสมุนไพร การนวดประคบประกอบการรักษา นอกจากนี้การอบสมุนไพรยังเป็นทางเลือกหรือวิธีการหนึ่งที่ง่ายและปลอดภัย การอบไอน้ำสมุนไพรเป็นวิธีการตามศาสตร์แพทย์แผนไทย ที่ใช้บำบัดรักษาและส่งเสริมสุขภาพอย่างหนึ่งที่ใช้สืบต่อกันมาที่ได้จากการต้มสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย นำมาต้มจนเดือด ใช้ " ความร้อนบำบัด " เดิมทีการอบสมุนไพรจะใช้ในหมู่สตรีหลังคลอดบุตร เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น ในการช่วยขับน้ำคาวปลา และใช้ควบคู่กับการนวดแผนไทย บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ เพื่อให้การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายได้สม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นขยายหลอดลม ช่วยบรรเทาอาการกำเริบของโรคหืด ส่งผลให้การใช้ยาพ่นลดลง ลดการใช้ยาขยายหลอดลมในผู้ป่วยหืด ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา จึงเห็นความสำคัญของการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพราะประชาชนมีความต้องการรักษาด้านการแพทย์แผนไทยเป็นจำนวนมาก และเพื่อความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลลางา จึงเล็งเห็นว่า ควรเปิดบริการคลินิกแพทย์แผนไทยโดยจะมีการบริการอบไอน้ำสมุนไพร การนวดและประคบสมุนไพรในคลินิกแพทย์แผนไทย แต่วัสดุอุปกรณ์ทางแพทย์แผนไทยยังไม่พร้อมที่จะเปิดให้บริการ ทางรพ.สต.ลางา จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการด้านการแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางาขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 .เพื่อให้บริการอบไอน้ำสมุนไพร นวดและประคบสมุนไพรในคลินิกแพทย์แผนไทย รพ.สต.ลางา

จำนวนผู้มาใช้บริการการอบไอน้ำสมุนไพร นวดและประคบสมุนไพร

1.00
2 2. เพื่อพัฒนาคลินิกแพทย์แผนไทยให้มีมาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานโรงพยาบาล  ส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน(รพ.สส.พท.) ในด้านสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อม (ตู้อบไอน้ำสมุนไพร)

1.00
3 3. ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย

ร้อยละ 80 ที่ได้รับบริการมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี

1.00

วัตถุประสงค์
1 .เพื่อให้บริการอบไอน้ำสมุนไพร นวดและประคบสมุนไพรในคลินิกแพทย์แผนไทย รพ.สตลางา
2. เพื่อพัฒนาคลินิกแพทย์แผนไทยให้มีมาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
3. ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.จำนวนผู้มาใช้บริการการอบไอน้ำสมุนไพร นวดและประคบสมุนไพร
2. ผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน(รพ.สส.พท.) ในด้านสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อม (ตู้อบไอน้ำสมุนไพร)
3. ร้อยละ 80 ที่ได้รับบริการมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
- ประชาชนที่ถูกคัดเลือก 40
- ประชาชนในพื้นที่ตำบลลางาทั้ง7หมู่บ้าน อายุ15 ปีข 4,845
- ประชาชนในพื้นที่ตำบลลางาทั้ง7หมู่บ้าน(อายุ15 ปีข

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. เปิดบริการคลินิกแพทย์แผนไทย เพื่อให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษา และให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. เปิดบริการคลินิกแพทย์แผนไทย เพื่อให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษา และให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ตู้อบไอน้ำสมุนไพร 2 ที่นั่งขนาดมาตรฐานจำนวน1ตู้ๆละ19,900บาท เป็นเงิน 19,900บาท 2.เตียงนวดขนาดมาตรฐาน
จำนวน2เตียงๆละ 6,000 เป็นเงิน 12,000บาท 3.ชุดก้าอี้นวดเท้าจำนวน 1 ชุดๆละ 7,400 เป็นเงิน  7,400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ให้ความรู้ในการนวดและการใช้สมุนไพรใกล้ตัวอย่างถูกต้องและสาธิตการทำน้ำมันไพล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ให้ความรู้ในการนวดและการใช้สมุนไพรใกล้ตัวอย่างถูกต้องและสาธิตการทำน้ำมันไพล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคนละ 2 มื้อๆละ35 บาท จำนวน 40 คน  = 2,800 บาท 2.  ค่าอาหารกลางวันคนละ 50 บาท จำนวน 40 คน = 2,000 บาท 3.  ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2x 2.4 เมตรจำนวน 1 ป้าย  = 1,000 บาท 4.ค่าวัสดุอุปกรณ์สมุนไพรสดสำหรับทำน้ำมันไพล  7,500บาท (ราคาเหมาจ่าย)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการรับบริการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุข
2.เพื่อให้เกิดการผสมผสานการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ
3.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกัน รักษาโรคเบื้องต้นด้วยการแพทย์แผนไทย
4.เพื่อให้คลินิกแพทย์แผนไทยได้รับมาตรฐานงานด้านการแพทย์แผนไทย ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด


>