กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสกัดกั้นนักดื่มรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดการถึงแหล่งจำหน่าย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มดื่ม) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตนเพื่อฝึกความสามารถในการควบคุมตนเอง/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ/การตัดสินใจ/การปฏิเสธ/การจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
5. ขอความร่วมมือร้านค้าชุมชนไม่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี และห้ามขายตามเวลาที่กฎหมายกำหนด
stars
แนวทางดำเนินงาน : 2. เพื่อจัดบริการช่วยเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มที่ดื่มแบบเสี่ยง/แบบอันตรายและแบบติดสุราเรื้อรัง
label_important
วิธีการสำคัญ
เกณฑ์การวินิจฉัยการติดสุรา
• ต้องเพิ่มปริมาณการดื่มมากขึ้น
• มีอาการทางร่างกายเมื่อไม่ได้ดื่ม
• ควบคุมการดื่มไม่ได้
• หมกมุ่นอยู่กับกับการดื่ม
• พยายามเลิกหลายครั้งแล้ว แต่เลิกไม่สำเร็จ
• มีความบกพร่องในหน้าที่ทางสังคม/การงาน
• ยังคงดื่มอยู่ทั้งๆ ที่มีผลเสียเกิดขึ้นแล้ว

วิธีการ

1. เน้นการค้นหาและวินิจฉัยผู้มีปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะการดื่มแบบเสี่ยงและแบบอันตราย) ร่วมกับการทำฐานข้อมูล ของผู้ดื่มในชุมชนที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
2. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน เช่น Mobile Clinic และการบำบัดแบบสั้น ที่เน้นการดูแลให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ดื่มแอลกอฮอล์
3. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงาน โดยสามารถใช้เครื่องมือในการคัดกรองชนิดต่างๆ การติดตามเยี่ยมเยียนผู้มารับบริการในกลุ่มที่ดื่มแบบเสี่ยง/แบบอันตราย/แบบติด
4. การจัดบริการส่งต่อผู้ดื่ม ที่มีอาการทางจิตประสาทและไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ หรือผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยานานในขณะถอนพิษสุรา โดยเน้นการรักษาระยะยาวสำหรับผู้ที่ติดสุราเพื่อไม่ให้กลับไปใช้สุราอีก
stars
แนวทางดำเนินงาน : พัฒนาทางเลือกในการช่วยลด ละหรือเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามบริบทชุมชน เช่น หมู่บ้านรักษาศีลห้า
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การรวมกลุ่มของผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน ในการพัฒนาทางเลือกเพื่อช่วยเลิกที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. พัฒนาทีมงานจิตอาสาในการค้นหาผู้ดื่มที่สร้างปัญหาและทำให้เกิดผลกระทบในชุมชน
3. การออกแบบโปรแกรมที่ดำเนินการโดยชุมชน เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มของบุคคล
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสร้างและพัฒนามาตรการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ทั้งผู้บริโภคและผู้ขาย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. มีคณะกรรมการชุมชน ที่ทำหน้าที่กำหนด/ประกาศ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มในชุมชน เข่น งดดื่มในงานบุญ งานวัด งานแต่ง งานประเพณี และเทศกาลรื่นเริง
2. การประกาศและการบังคับใช้ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมทั้งการบริโภคและการจำหน่ายในชุมชน เช่น การไม่ขายให้เด็กและเยาวชน และขายตามช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
3. มีกรรมการชุมชนทำหน้าที่ติดตามประเมินผล การปฏิบัติตามมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
4. กำหนดมาตรการชุมชนโดยการไม่รับการอุปถัมภ์กิจกรรมด้านกีฬาหรือด้านศิลปวัฒนธรรมที่มาจากอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. ให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาต หรือสั่งปิดร้านจำหน่ายสุราที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
6. สนับสนุนให้ดื่มและจำหน่ายเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ (nonalcoholic cocktail) ในทุกกิจกรรมของชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อลดความรุนแรงจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เช่น การเกิดอุบัติเหตุจราจร การทะเลาะวิวาท การทำร้ายร่างกาย)
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำกับควบคุมโดยคณะกรรมการชุมชน เช่น มาตรการในการป้องกันปัญหาจากการขับรถขณะเมาสุรา (กฎการดื่มไม่ขับ) การมีจุดสุ่มตรวจแอลกอฮอล์ในชุมชน การติดตามประเมินความเรียบร้อยในชุมชนจากเหตุทะเลาะวิวาท หรือ การทำร้ายร่างกายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. การสร้างเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อน หรือ สายด่วนชุมชน กรณีเกิดการก่อเหตุความรุนแรงในครัวเรือนที่มาจากการดื่มสุรา
3. การจัดกองทุนหมู่บ้านเพื่อการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยผู้ก่อความเสียหายมีส่วนร่วมในการจ่ายค่าชดใช้ (การลงโทษทางสังคม)
4. กำหนดมาตรการ การเพิกถอนหรือระงับใบขับขี่ การปรับ การให้ทำงานรับใช้ชุมชนเมื่อดื่มแล้วขับ ถ้าระดับแอลกอฮอล์เกินกำหนด เช่น หากผู้ขับขี่ที่อายุไม่ถึง 20 ปีถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบและแนะนำการป้องกันโรค
- สนับสนุนเวชภัณฑ์และอุปกรณ์สำหรับการป้องกันโรค
- แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมติดตามและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
- การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการไม่เป็นโรคติดต่อที่มาจากภาวะน้ำท่วม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงก้นปล่อง (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงก้นปล่อง เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยมีเชื้อมาลาเรียด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น และนำเข้าสู่ระบบการรักษาของโรงพยาบาล
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนักของประชาชนผ่านป้ายไวนิลและสื่อต่างๆ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันไฟใหม้ป่า
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบและแนะนำการป้องกันโรค
- สนับสนุนหน้ากากอนามัยเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อทางเดินหายใจ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาเพือแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- ให้ความรู้และแนะนำการป้องกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กเล็ก และในศูนย์เด็กเล็ก
- ปรับสภาพแวดล้อมที่ลดปัญหาการระบาด เช่น การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้แก้วน้ำดื่มร่วมกัน เป็นต้น
- ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ปรับปรุงทำความสะอาดโรงเรียนเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป้องกันการระบาด
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนัก
stars
แนวทางดำเนินงาน : แก้ปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยง เพศสัมพันธ์
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ให้ความรู้ด้านเพศศึกษาและทักษะชีวิต แก่กลุ่มเด็กเยาวชน ผู้ปกครองและกลุ่มที่มีความเสี่ยง
2. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน สร้างแกนนำ/เครือข่าย
3. สร้างพื้นที่ทำกิจกรรมด้านสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมศิลปะ กีฬา เป็นต้น
4. การทำสื่อ ประชาสัมพันธ์
5. คลินิคแก้ปัญหาครอบครัว ช่วยให้แนวทางดำเนินชีวิต, กลไกการให้คำปรึกษา
6. ส่งเสริมการใช้หลักศาสนา ในการดำเนิชีวิต
stars
แนวทางดำเนินงาน : แก้ปัญหาเยาวชนที่มีเสี่ยงต่อการเป็นนักสูบหน้าใหม่ และมีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสูบ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
5. การค้นหาและทำฐานข้อมูลของผู้สูบในชุมชนที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
6. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน
7. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงานด้านการติดตามเยี่ยมเยียนผู้มารับบริการเลิกยาสูบให้สามารถเลิกได้สำเร็จ
8. การจัดบริการส่งต่อผู้สูบที่ไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพจากโรคหวัด
2. แกนนำอาสาสมัครด้านรู้เท่าทัน อ่านฉลากยาเป็น
3. การใช้สมุนไพรทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)
4. ร้านชำสีขาว คุ้มครองผู้บริโภค
stars
แนวทางดำเนินงาน : ส่งเสริมให้เยาวชนชายมุสลิมขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์
label_important
วิธีการสำคัญ
การจัดบริการขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การตรวจดูสารพิษตกค้างในกระแสเลือด
2. การแนะนำวิธีป้องกันสารเคมีทางการเกษตรและการใช้สารจากธรรมชาติทดแทนสารเคมี
3. การตั้งและดำเนินกิจกรรมกลุ่มเกษตรกรผักปลอดสารพิษ
4. การตรวจเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผัก โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข/ชมรม อย.น้อย
5. ประกาศหมู่บ้านปลอดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
6. การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถลดหรือเลี่ยงผักที่มีสารเคมีตกค้างทางการเกษตร
7. การปลูกผักปลอดสารพิษในเขตที่อยู่อาศัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนัก
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 1 การป้องกันการระบาดของโควิด-19
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารเรื่องโควิด-19
1.1 การเผยแพร่สื่อป้องกันโรคโควิค-19 ให้เข้าถึงประชาชนในชุมชน เช่น สื่อเอกสารจากเว็ปไซด์ไทยรู้สู้โควิด โดย สสส.หนังสั้น คลิปสั้น ที่เป็นสื่อเข้าใจง่าย เป็นภาษาท้องถิ่นและคนทั่วไปเข้าใจง่ายนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง
1.2 ประชาสัมพันธ์ดูแลตนเองเพื่อป้องกันโควิด-19 ผ่านการจัดรายการวิทยุชุมชน การใช้เสียงตามสาย เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้คนทั่วไปได้ตระหนักในการป้องกันตนเองจากโควิด-19
1.3 เผยแพร่คู่มือคำแนะนำในการจัดการโควิด-19 แจกจ่ายตามสถานที่ ได้แก่ คู่มือการป้องกันและจัดการโควิด-19 ในที่สาธารณะ (ตลาด สถานีขนส่ง) ในศาสนสถาน ในบ้าน ในชุมชน และในกรณีการจัดงานพิธีต่างๆ เช่น งานศพ ตัวอย่างสื่อ ได้แก่ ตลาดปลอดภัย ลดเสี่ยงโควิด-19 พ่อค้าแม่ค้า เจ้าของตลาด และผู้ปฏิบัติงานในตลาด
1.4 เผยแพร่สื่อคู่มือ โปสเตอร์ สำหรับประชาชน โดยใช้ภาษาท้องถิ่น เข้าใจง่าย ในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ 7 ท่า นานอย่างน้อย 20 วินาที ตามที่กรมอนามัยแนะนำ การใส่-ถอดหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การผลิตหน้ากากผ้า การสังเกตอาการเบื้องต้นและการตัดสินใจไปพบแพทย์ การปฏิบัติตนเมื่อกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง การจัดการขยะอุปกรณ์ปนเปื้อน เช่น หน้ากากอนามัย สำหรับชุมชน
1.5 เผยแพร่คู่มือ สื่อ การป้องกันโควิด-19 ตามหลักศาสนา การเยียวยาจิตใจในผู้ป่วยผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
1.6 สร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกิดการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ให้ทานอาหารครบห้าหมู่ มีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ เข้มงวดในการสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ล้างมือบ่อย ๆ ทุก ครึ่ง -1 ชั่วโมง รวมทั้งการงดเหล้าและบุหรี่
1.7 รณรงค์ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในบ้านที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มวัย การลดเหล้าหรือบุหรี่ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิต้านทาน ผ่านสื่อออนไลน์
1.8 เตรียมความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเจ้าหน้าที่แพทย์เมื่อมีการเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสกับผู้ป่วย
1.9 อบรมให้ความรู้การป้องกันโรคทั้งระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน การจัดทำหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ รวมทั้งการทำความสะอาดบ้านและพื้นที่ที่มีคนใช้บ่อย ด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำ หรือน้ำยาซักผ้าขาว ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคได้เท่ากับแอลกอฮอล์ 70%
1.10 พัฒนาระบบแอพลิเคชั่น เว็ปเพจการซื้อขายสินค้าออนไลน์ การควบคุมราคา และมาตรฐานคุณภาพสินค้าด้านโภชนาการ
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการจัดการโควิด-19
2.1 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ทีมอสม. ชรบ. อปพร. ให้มีทักษะที่จำเป็น เช่น การวัดไข้ การสังเกตอาการป่วยเบื้องต้น การให้คำปรึกษาแนะนำคนในชุมชนต่อการป้องกันโควิด-19 การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และการสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนให้รู้ว่าโควิด-19 ไม่ได้น่ากลัวและน่ารังเกียจ แต่รักษาหายได้ เพื่อให้กำลังใจผู้ป่วยโดยไม่แบ่งแยก
2.2 จัดทำระบบการส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ให้ถึงมือแพทย์เร็วที่สุด โดยเริ่มจากผู้ป่วยเริ่มสงสัยตัวเองและไปพบแพทย์ การจัดการรถรับส่งในกรณีผู้ป่วยที่เดินทางลำบากไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือไม่มีญาติพี่น้อง
2.3 พัฒนาศักยภาพเยาวชนและผู้ที่สนใจทั่วไปจัดทำสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวกับการป้องกันโควิด-19 เช่น การทำคลิปวิดีโอ การทำเสื้อ การจัดการประชุมออนไลน์ เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเองจากโควิด-19 และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้
2.4 อบรมเชิงปฏิบัติการให้เครือข่ายต่าง ๆ ในชุมชนเตรียมการเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในช่วงโควิด-19 เรื่องการปลูกผัก เพาะพันธุ์พืชผักไว้ทานเอง การเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค การแปรรูปสินค้าและอาหารสด การถนอมอาหาร และการเตรียมให้มีอาหารไว้ในครัวเรือน การทำอาชีพเสริม รวมทั้งการจัดการด้านการเงินในระดับครัวเรือนและชุมชน
3. การสร้างสภาพ แวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19 และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1 การจัดเตรียมสถานที่กลางในหมู่บ้านหรือตำบล หรือสถานประกอบการลักษณะห้องพัก รีสอร์ทที่สมัครใจเข้าร่วม เพื่อกักตัวกลุ่มเสี่ยง และผู้สัมผัสใกล้ชิด
3.2 การทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ เช่น ตลาดสด ห้องน้ำสาธารณะ ศาสนสถาน เพื่อฆ่าเชื้อโรค และจัดตั้งเจลแอลกอฮอล์ล้างมือหรืออ่างล้างมือและสบู่ไว้ในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง
3.3 การปรับรูปแบบตลาด แหล่งจำหน่ายสินค้า ให้มีระยะห่างของร้านค้า ผู้ขาย-ผู้ซื้อ อย่างน้อย 1-2 เมตร สร้างวินัยการมีระยะห่างเข้าแถวซื้อสินค้า วัดไข้ก่อนเข้าตลาด หรือจัดทำตลาดออนไลน์
3.4 การหาจิตอาสา ที่สมัครใจในการช่วยเหลืองานโควิด-19 และการบริจาคอาหาร อุปกรณ์ สิ่งของที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนคนทำงาน กลุ่มเปราะบาง ผู้ยากจน
3.5 จัดทำโครงการ matching model (การพัฒนาระบบตลาดครบวงจร) จับคู่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค ช่วยพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพ การจำหน่ายที่ได้ราคา จัดทำตลาดกลางในหมู่บ้านเป็นแหล่งกระจายสินค้า
3.6 พัฒนาศักยภาพแกนนำ คณะกรรมการกองทุนฯ ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร การประชุมผ่านออนไลน์
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19
4.1 จัดทำข้อตกลง ธรรมนูญ มาตรการชุมชน ที่คนในชุมชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมกันจัดทำขึ้น
4.2 มีมาตรการและด่านคัดกรอง ป้องกันโควิด-19 ในชุมชน จัดทำข้อตกลง social distancing การรักษาระยะห่างทางสังคมอย่างน้อย 1 เมตร
4.3 จัดทำแผนฟื้นฟูชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบทั้งระยะต้น ระยะกลาง และระยะยาว
4.4 ทบทวนกองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน และจัดตั้งกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือในช่วงที่ไม่มีรายได้ และพักชำระหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนในชุมชน
5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการโควิด-19
5.1 สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงาน ผู้นำชุมชน อสม. อาสาสมัคร จัดตั้งเป็นคณะกรรมการเฝ้าระวัง คัดกรอง และติดตามค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน
5.2 สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย และผู้สัมผัสเพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนรับมือกับโรค โควิด-19
5.3 จัดทำแผนชุมชนในการป้องกันโควิด-19
5.4 สร้างหรือพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่เพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน ทั้งด้านการเฝ้าระวังการระบาด การสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน เช่น ระบบแอพฯ NIEMS-Care เพื่อเฝ้าระวังการระบาดระดับครัวเรือน โดยประชาชนรายงานสถานะสุขภาพประจำวัน ทีมตำบลสามารถเห็นข้อมูลครัวเรือนว่าอยู่ในสถานะเขียว เหลือง ส้ม แดง; ระบบแอพฯ greens mile เพื่อใช้เป็นข้อมูลกลางของเกษตรกรที่ทำเรื่องอาหารปลอดภัย เก็บข้อมูลร่วมกัน ดูข้อมูลร่วมกันและวางแผนการผลิตร่วมกันกับพื้นที่ที่อยู่ในโซนใกล้เคียงกัน รวมทั้งใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนผลผลิต
5.5 สนับสนุนกลไกทางศาสนา เช่น ชมรมอิหม่ามระดับอำเภอ ในการตีความและสื่อสารนโยบายต่างๆ มาตรการใช้หลักศาสนา คำสั่งจากทางจังหวัด และสำนักจุฬาราชมนตรี สำนักอิสลามประจำจังหวัด ในการป้องกันโควิด-19 ลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ เช่น การประกาศขอความร่วมมือในการงดละหมาดวันศุกร์ งดการละหมาดในช่วงรอมฏอน
5.6. การสร้างเครือข่าย อสม.เพื่อจัดส่งยารักษาต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
5.7 การสร้างระบบบริการส่งต่อผู้ป่วยโรคไตเพื่อการเข้าถึงการฟอกไต
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 2 การแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารในการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
1.1 เผยแพร่ข้อมูลโควิด-19 เกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค-19 อาการ กลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับการคัดกรอง การปฏิบัติตนขณะเป็นโควิด-19 พฤติกรรมที่ควรเลี่ยง พฤติกรรมที่ต้องปฏิบัติ การกักตัว การรักษา เพื่อให้คนในชุมชนรับรู้ ตระหนัก แต่ไม่ตระหนก อาจเผยแพร่โดยกลุ่ม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์ชุมชน/รถแห่
1.2 เผยแพร่ความรู้แก่คนที่ไม่เป็นโรค ในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับผู้ป่วย และหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนหายแล้ว (ไม่ตื่นตระหนก และไม่แสดงออกถึงการรังเกียจ) โดยทีม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์/รถแห่
1.3 สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชน ต่อการเข้ามาของคนที่มาจากพื้นที่เสี่ยงสูงแล้วต้องมากักตัวในพื้นที่ ไม่ให้รังเกียจหรือต่อต้านการเข้าพื้นที่ อาจใช้การประชุมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้และรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะของคนในชุมชนด้วย
1.4 สร้างความเข้าใจกับครอบครัวที่มีสมาชิกเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง ต่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เช่น การให้คนที่เดินทางมาได้กักตัว การเว้นระยะห่างทางสังคม การจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับใช้ส่วนตัว โดยทีม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์
1.5 ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศพแก่ญาติ กรณีมีการเสียชีวิตด้วยโควิด-19 โดยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และ กลุ่มอสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
2.1 จัดกระบวนการให้กลุ่ม หน่วยงานต่างๆ มีแผนมีโครงการควบคุมโควิด-19
2.2 ในการทำโครงการให้มีกระบวนการเก็บข้อมูล วางแผนโดยใช้ข้อมูล นำแผนสู่การปฏิบัติ มีการติดตามประเมินผล (PDCA)
2.3 ให้ความรู้และสนับสนุนต่อแกนนำ/กลุ่ม ให้มีทักษะในการเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19 และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1 ใช้รูปแบบการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นผ่านการโทรศัพท์ การสื่อสารทางไลน์ แทนการติดต่อแบบเผชิญหน้า เพื่อสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยโควิด-19
3.2 การทำกิจกรรมร่วมกันผ่านสื่อต่างๆ เช่น ออกกำลังกายร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ รับประทานอาหารร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ (Zoom, facebook live, Line, chat)
3.3 ระดมทุนในชุมชนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงที่ถูกกักตัวและผู้ป่วยขณะถูกกักโรค
3.4 ชุมชนให้การช่วยเหลือ ดูแล และเอาใจใส่ครอบครัวที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามความเหมาะสม
3.5 จัดสถานที่/พื้นที่กักตัวผู้ป่วยให้เหมาะสม (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
3.6 จัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยเพื่อลดความเครียดขณะรักษาตัว เช่น การมีกิจกรรมทางกายที่เอื้อต่อผู้ป่วยที่ถูกกักตัวพร้อมๆ กันผ่านการวิดีโอคอล การเปิดกลุ่มสนทนา การประสานให้ญาติที่ไม่เก่งด้านเทคโนโลยีได้คุยกับผู้ป่วย ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อลดความเครียดและสร้างกำลังใจ
3.7 ชุมชนช่วยกันจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการป้องกันโควิด-19 แจกจ่ายคนในพื้นที่ให้เพียงพอ เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ
3.8 รับสมัครจิตอาสาในการดูแลผู้ถูกกักตัว รวมทั้งการระดมทุน รับบริจาคอาหารเพื่อคนยากลำบากที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหาร จากผลกระทบจากโควิด-19 ในรูปการตั้งโรงทาน ตู้ปันสุข ในชุมชน
3.9 การทำความสะอาดสถานที่เสี่ยงต่อการมีโควิด-19 ในชุมชน เช่น ตลาดนัด ศาสนสถาน โรงพยาบาล รวมทั้งการกำจัดขยะที่อาจปนเปื้อนโควิด-19 โดยหาข้อมูลได้จากhttps://multimedia.anamai.moph.go.th/
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
4.1 สร้างข้อตกลง ความร่วมมือในการงดกิจกรรมการรวมตัว
4.2 สร้างมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในกรณีงานชุมชน งานประเพณีตามวิถีปกติใหม่ (New Normal)
4.3 สร้างข้อตกลงกับโรงเรียน/ที่ทำงานในชุมชน หยุดเรียน/หยุดงาน/อนุญาตให้กลุ่มเสี่ยง Work Form Home ได้
4.4 สร้างข้อตกลงในการรวมกลุ่ม ให้สวมหน้ากากอนามัยทุกคน และจัดสถานที่นั่งให้ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร และมีเจลล้างมือบริการ
4.5 มีมาตรการให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ถูกกักตัวและผู้ติดเชื้อโควิด-19 เช่น สนับสนุนของใช้ส่วนตัว อาหารที่มีประโยชน์ ค่าชดเชยการขาดรายได้
4.6 มีมาตรการให้การช่วยเหลือ ดูแล และเอาใจใส่ครอบครัวที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เช่น ผู้ป่วยอยู่กับหลาน ชุมชนควรให้การช่วยเหลือดูแลหลานขณะที่ยายต้องรักษาตัวให้หายจากโรค
4.7 ชุมชนมีมาตรการต้อนรับผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 กลับสู่ชุมชน (ไม่ตีตราผู้ป่วย)

5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
5.1 การทำระบบข้อมูลรายชื่อและจำนวนสถิติผู้ป่วยรายใหม่ ผู้ป่วยสะสม ผู้ป่วยเสียชีวิต และผู้ป่วยที่กลับบ้านได้ รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงรอการยืนยัน ของแต่ละวัน แยกตามพื้นที่
5.2 นำข้อมูลที่ได้มาวางแผนแก้ไขโควิด-19 ทำแผนชุมชนในการป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟู ชุมชนในการจัดทำโมเดลชุมชนจัดการโควิด-19 โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทั้งนี้อาจใช้การประชุมออนไลน์
5.3 มีการแบ่งบทบาทการทำงานในลักษณะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปทำงานเพื่อลดความเครียด เช่น ฝ่ายจัดซื้อของ ฝ่ายสถานที่ การอยู่เวรกลางวัน กลางคืน ฝ่ายสาธารณสุข
5.4 กำกับติดตามและประเมินผลตามแผนงานอย่างใกล้ชิด
5.5 ถอดบทเรียนผลที่เกิดขึ้น ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค เพื่อปรับปรุงแก้ไข และสร้างโมเดลต้นแบบชุมชนจัดการโควิด-19
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 3 การฟื้นฟูและเยียวยาภายหลังการระบาดของโควิด-19
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารเรื่องโควิด-19
1.1 พัฒนาระบบการสื่อสารกับสาธารณชนอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต้องรู้ รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้โควิด-19 กลับมาแพร่ซ้ำ เผยแพร่โดยกลุ่ม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์ชุมชน/รถแห่
1.2 สื่อสารแนวคิด ชีวิตวิถีใหม่ (New normal) ให้กับชุมชน ในการสร้างการพึ่งพาตนเองให้อยู่ได้เมื่อมีโรคระบาด การใช้การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
1.3 สื่อสารความรู้เกี่ยวกับมีพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การเพิ่มกิจกรรมทางกายภายในบ้าน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดหวาน ลดเค็ม การไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สารเสพติด
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการจัดการโควิด-19
2.1 การรวมกลุ่มของผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน ในการพัฒนาทางเลือก การดำเนินชีวิตวิถีใหม่ เพื่อช่วยฟื้นฟูให้สอดคล้องกับบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.2 ส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้คน ครอบครัว ในชุมชน เช่น การเย็บหน้ากากผ้าการตัดเสื้อ ซ่อมรถ การเกษตรในครัวเรือน เช่น การปลูกผัก เลี้ยงปลา รวมทั้งการวางแผนการเงินของบุคคลและครัวเรือน เพื่อให้มีเงินออมไว้ใช้ในยามวิกฤติ (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
2.3 สนับสนุนสมาชิกของครอบครัวที่ถูกเลิกจ้างงานและกลับมาอยู่ในชุมชนให้มีอาชีพด้านการเกษตร มุ่งสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ เพื่อการพึ่งพาตนเองของชุมชนในอนาคต (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
2.4 พัฒนาทีมงานจิตอาสาในการฟื้นฟูสุขภาพชุมชนด้านต่างๆ
2.5 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน กลุ่มต่างๆ ในชุมชน ในการวางแผน ดำเนินการ ติดตามประเมินผลในการจัดการฟื้นฟูสุขภาพชุมชนหลังโรคระบาด รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยบรรเทาทุกข์เพื่อปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มูลนิธิการกุศลอย่างต่อเนื่อง
2.6 พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารปลอดภัยและโภชนาการที่สมวัย
2.7 พัฒนาทักษะแกนนำในชุมชน ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ชีวิตวิถีใหม่ เช่น การใช้ห้องประชุมออนไลน์ การทำตลาดออนไลน์ การให้ความรู้ชุมชนในการจัดการการเงิน การทำบัญชีครัวเรือน (รายรับ-รายจ่าย-การออม) เพื่อให้มีความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือน สามารถมีเงินออมใช้จ่ายยามวิกฤตได้ (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19 และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
3.1 การจัดกองทุนหมู่บ้าน เพื่อการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
3.2 พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน
3.3 ยกระดับและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืน
3.4 การจัดทำตลาดออนไลน์ เพื่อสร้างพื้นที่กลางในการซื้อขายสินค้าของคนในชุมชน
3.5 จัดทำโครงการ “ข้าวแลกปลา” เพื่อแลกเปลี่ยนอาหารแทนการซื้อขาย
3.6 การจัดทำครัวกลาง/ครัวรวม ในภาวะวิกฤติ
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19
4.1 กำหนดข้อตกลงชุมชนให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน
4.2 มาตรการชุมชนในการสนับสนุนการประกอบอาชีพเกษตรกร เพื่อการพึ่งพาตนเองของชุมชนในอนาคต (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการโควิด-19
5.1 จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยา
5.2 พัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมของประชาชนเพื่อระบุความเสี่ยง และควบคุมโรคระบาดในอนาคต เช่น การเดินทาง, การดื่มเหล้า/สูบบุหรี่, การออกกำลังกาย
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสกัดกั้นนักสูบรายใหม่ในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
โดยการ:
- คัดกรองและปรับพฤติกรรม
- พัฒนาศักยภาพแกนนำ
- จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังในชุมชน

วิธีการสำคัญ
1. ระบุกลุ่มเป้าหมายที่อาจกลายเป็นผู้สูบรายใหม่ของชุมชน เช่น เด็ก เยาวชน และสตรี ฯลฯ พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน เช่น บ้าน ชุมชน โรงเรียน
2. จัดตั้งทีมปฏิบัติการชุมชน เพื่อสำรวจ และค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน หรือ เสี่ยงที่จะเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบได้โดยง่าย
3. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสูบ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
4. พัฒนาแกนนำ และเครือข่ายป้องกันระดับเยาวชน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมยาสูบ
5. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
6. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
7. ส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาของชุมชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยให้มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องการควบคุมยาสูบและการเลิกยาสูบ และสนับสนุนให้มีโครงการสร้างผู้นำนักศึกษาในด้านการควบคุมยาสูบ
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อส่งเสริมกลไกในการลดการเข้าถึงยาสูบ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการกลไกในการลดการเข้าถึงยาสูบ เช่น ร้านค้าชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียน และตัวแทนชุมชนที่จะร่วมมือกันควบคุมยาสูบในชุมชน
2. ส่งเสริมร้านค้าชุมชนให้มีการจดทะเบียนและปฏิบัติตามพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ คือ
- กำหนดห้ามขายหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
- ห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่ ได้แก่
(1) วัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
(2) สถานพยาบาลและร้านขายยา
(3) สถานศึกษาทุกระดับ
(4) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
- กำหนดห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต
- ห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรมซีเอสอาร์ อุปถัมภ์สนับสนุนบุคคล หรือองค์กร ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- ห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองยาสูบ ณ จุดขายปลีกที่ทำให้ผู้บริโภคหรือประชาชนมองเห็น
- ห้ามแบ่งซองขายยาสูบเป็นรายมวน
- ให้เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบยาสูบในเขตปลอดยาสูบเป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท
- กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดยาสูบ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบยาสูบในเขตปลอดยาสูบ หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการ เจ้าของสถานที่มีโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อจัดบริการช่วยเลิกหรือส่งเสริมการเลิกยาสูบอย่างเป็นระบบ
label_important
วิธีการสำคัญ
บริการช่วยเลิกหรือส่งเสริมการเลิกยาสูบอย่างเป็นระบบ เช่น
- กิจกรรมช่วยเลิกเชิงรุก
- คลินิกเคลื่อนที่
- คลินิกชุมชน
- และการติดตามอย่างต่อเนื่อง

โดยระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น
- ในกลุ่มสูบ
- กลุ่มต้องการเลิกสูบ
- และกลุ่มที่พยายามเลิกและยังเลิกไม่สำเร็จ

วิธีการ

1. การค้นหาและทำฐานข้อมูลของผู้สูบในชุมชน ผู้สูบที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
2. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน และการค้นหาผู้สูบที่ต้องการเลิกและการให้บริการช่วยเลิกยาสูบในชุมชน
3. การพัฒนาบุคลากรในชุมชนมาเป็นเครือข่ายช่วยเลิกยาสูบ หรือ การให้คำปรึกษา เช่น บุคลากรสาธารณสุข อสม. ครู ฯลฯ
4. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงานด้านการติดตามเยี่ยมเยียน ต่อผู้มารับบริการเลิกยาสูบให้สามารถเลิกได้สำเร็จ
5. การพัฒนากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเลิกยาสูบในชุมชน
6. การจัดบริการส่งต่อผู้สูบที่ไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่
7. การจัดกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การหลีกเลี่ยงการทดลองสูบยาสูบ และการลดและเลิก การสูบยาสูบ และไม่ควรสูบยาสูบในที่สาธารณะ
8. การกำหนดระยะเวลาในการติดตามความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ชัดเจน เช่น 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน เพื่อประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสถานะของผู้สูบ เช่น ยังสูบอยู่ ลดปริมาณการสูบลง หรือ สามารถเลิกสูบได้แล้ว เป็นต้น
9. กำหนดวิธีการติดตามความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ชัดเจน เช่น เยี่ยมบ้าน โทรศัพท์ การส่งข้อความทางไลน์ หรือ เฟสบุ๊ค รวมทั้ง การใช้บริการผ่านอสม.เป็นต้น
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อพัฒนาทางเลือกในการช่วยเลิกยาสูบตามบริบทชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
(ระบุวิธีช่วยเลิกและกลุ่มเป้าหมาย)
- การเพิ่มจำนวนผู้เลิกสูบ
- การลดจำนวนผู้กลับมาสูบซ้ำ
- การลดปริมาณการสูบสำหรับผู้ที่สูบอยู่

วิธีการ

1. การรวมกลุ่มของผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน ในการพัฒนาทางเลือกเพื่อช่วยเลิกยาสูบแบบอื่นๆ ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. สนับสนุนการสร้างกลุ่มอาชีพเสริมรายได้ครัวเรือนในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกยาสูบในชุมชน
3. ส่งเสริมการแพทย์แผนไทยให้มีบทบาทในการเลิกสูบยาสูบ เช่น
- การใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาว ทีถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติปี 2555 โดยมีฤทธิ์ทำให้ลิ้นฝาดและไม่อยากสูบยาสูบ
- การนวดกดจุดสะท้อนเท้า เน้นกดที่ตำแหน่งจุดสะท้อนไปยังส่วนของสมองเพื่อกระตุ้นให้หลั่งสารเคมีออกมา ทำให้ร่างกายอยากสูบยาสูบลดน้อยลงซึ่งเป็นการช่วยเลิกยาสูบโดยไม่ใช้ยา
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายโดยการสร้างและพัฒนามาตรการควบคุมยาสูบในระดับชุมชน สำหรับควบคุมการสูบและการจำหน่าย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. กำหนดนโยบายการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดการสูบยาสูบในชุมชน เช่น วัด มัสยิด สถานที่สาธารณะ
2. มีคณะกรรมการชุมชน ที่ทำหน้าที่กำหนดกฎ กติกา และมาตรการควบคุมยาสูบในชุมชน
3. การประกาศและการบังคับใช้ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมยาสูบในชุมชน ที่มีเงื่อนไขจากการได้ประโยชน์จากการปฏิบัติตามกฎ และ เสียประโยชน์จากการไม่ปฏิบัติตาม (การให้คุณให้โทษทางสังคม)
4. การสอดแทรกเรื่องยาสูบในทุกกิจกรรมของชุมชน เช่น การบรรยายทางศาสนา ธรรมเทศนา หรือ การอ่านคุตบะห์ในการละหมาดวันศุกร์
5. การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมยาสูบของชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบยาสูบโดยลดการสัมผัสควันยาสูบมือสอง
label_important
วิธีการสำคัญ
โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบในชุมชน
- การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น มีนโยบายห้ามสูบยาสูบในอาคาร สถานที่ทำงาน และยานพาหนะสาธารณะ
- การเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคม เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เช่น การเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมต่อการสูบยาสูบ

วิธีการ

1. การประกาศนโยบายขยายเขตปลอดยาสูบในชุมชนเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบยาสูบในทุกสถานที่ที่มีผู้คนชุมนุมกัน เช่น
- ตลาดนัดถนนคนเดินปลอดยาสูบ และ ร้านอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศ
- งานบุญงานประเพณีปลอดยาสูบ
- นโยบายครัวเรือนปลอดควันยาสูบ (smoke free home)
- การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของที่ทำงานให้ปราศจากการสูบยาสูบในอาคาร
2. กำหนดให้สถานที่สาธารณะที่ประกาศงดสูบยาสูบตามกฎหมายจะต้องปลอดการสูบยาสูบ 100% โดยการแสดงเครื่องหมายเขตปลอดยาสูบ และแสดงอัตราโทษกรณีที่มีการละเมิด ได้แก่
2.1 สถานบริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพทุกประเภท
• คลินิก โรงพยาบาล รวมถึงสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
• คลินิก โรงพยาบาลสัตว์ รวมถึงสถานพยาบาลสัตว์
• สถานีอนามัย สถานบริการสุขภาพทุกประเภท
• ร้านขายยา
• สถานประกอบกิจการนวดแผนไทย หรือแผนโบราณ
• สถานที่ให้บริการอบความร้อน อบไอน้ำ อบสมุนไพร
• สถานประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ กิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือกิจการนวดเพื่อความงาม
2.2 สถานศึกษา
• สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน
• โรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาระดับที่ต่ำกว่าอุดมศึกษา
• สถานกวดวิชา สถานที่สอนกีฬา ดนตรี ขับร้อง การแสดง ศิลปะป้องกันตัว ศิลปะ ภาษาและอื่นๆ ศิลปะ ภาษาและอื่นๆ
• สถานฝึกอบรมอาชีพ
• อุทยานการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ หรือศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
• หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์สถาน หรือสถานที่จัดแสดงศิลปวัฒนธรรม
2.3 สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
• อัฒจันทร์หรือสถานที่ดูกีฬาทุกประเภท
• สถานที่ออกกำลังกาย ซ้อมกีฬา เล่นกีฬา หรือสนามแข่งขันกีฬาทุกประเภท ทั้งในร่มและกลางแจ้ง
• สระว่ายน้ำ
2.4 ร้านค้า สถานบริการ และสถานบันเทิง
• โรงมหรสพ โรงละคร โรงภาพยนตร์
• สถานที่จัดเลี้ยงทั้งหมด
• สถานบริการตามพระราชบัญญัติสถานบริการ
• สถานที่ให้บริการคาราโอเกะหรือสถานบันเทิงอื่นๆ
• สถานที่บริการคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต หรือเกมส์
• สถานที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารและเครื่องดื่มที่มีระบบปรับอากาศ
• อาคารร้านค้าประเภทห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า
• สถานที่จำหน่าย แสดง จัดนิทรรศการสินค้าหรือบริการ
2.5 บริเวณโถงพักคอย และบริเวณทางเดินทั้งหมดภายในอาคาร
• โรงแรม รีสอร์ท หรือสถานที่พักตากอากาศ
• ห้องเช่า หอพัก อพาร์ทเมนต์ คอร์ท หรือสถานที่ที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน
• อาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม
2.6 สถานบริการทั่วไป
• อาคารหรือสถานที่ที่ใช้ในการจัดประชุม อบรม สัมมนาหรือ สันทนาการ
• ร้านตัดผม สถานเสริมความงาม ร้านตัดเสื้อผ้า
• ธนาคารหรือสถาบันการเงิน
2.7 สถานที่สาธารณะทั่วไป
• ห้องสมุด
• สุขา
• ตู้โทรศัพท์สาธารณะ หรือบริเวณที่ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
• ลิฟต์โดยสาร
• สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก
• สนามเด็กเล่น
• ตลาด
2.8 ยานพาหนะสาธารณะ ในขณะให้บริการไม่ว่าจะมีผู้โดยสารหรือไม่ก็ตาม
• รถโดยสารประจำทาง
• รถแท็กซี่
• รถไฟ รถราง
• รถตู้โดยสาร
• รถรับส่งนักเรียนหรือนิสิตนักศึกษาทุกประเภท
• ยานพาหนะโดยสารที่ใช้ในภารกิจที่เป็นลักษณะส่วนกลางของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งของเอกชน
• กระเช้าโดยสาร/เรือโดยสาร/เครื่องบิน
• ยานพาหนะโดยสารอื่นๆ ทั้งประเภทประจำทางและไม่ประจำทา
• สถานีขนส่งสาธารณะ และที่พักผู้โดยสาร
• ป้ายรถโดยสารประจำทาง และบริเวณที่ใช้รอก่อนหรือหลังการใช้บริการยานพาหนะโดยสารทุกประเภท
2.9 ศาสนสถาน /สถานปฏิบัติธรรมในศาสนาและนิกายต่างๆ
เช่น วัด มัสยิด โบสถ์ เป็นต้น
3. การประเมินติดตามผล และกำหนดมาตรการให้คุณให้โทษแก่ผู้ที่ปฏิบัติตาม หรือต่อผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารข้อมูลยาสูบในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
เน้นการตื่นรู้ของชุมชนให้รู้เท่าทันพิษภัยยาสูบและกลยุทธ์อุตสาหกรรมยาสูบ (ระบุ รูปแบบการสร้างกระแส/พัฒนารูปแบบการสื่อสาร/ชุดทดลองอันตรายจากยาสูบ ฯลฯ)

วิธีการ

1. กิจกรรมการสร้างกระแสรณรงค์ตามช่องทางต่างๆ เช่น เสียงตามสาย รายการวิทยุชุมชน
2. พัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับการรณรงค์ทางสังคมให้เกิดการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมการไม่สูบยาสูบ
3. การสร้างสื่อเชิงประจักษ์ เช่น ชุดทดลอง/อุปกรณ์สาธิตอันตรายจากยาสูบ
4. การพัฒนาฐานข้อมูลด้านยาสูบและสุขภาพของชุมชน เช่น สถิติการป่วย-การตายของประชากรในชุมชน สถิติอุบัติการณ์ความชุกโรคไม่ติดต่อและพิการ และจัดให้มีการสะท้อนข้อมูลเหล่านี้สู่ชุมชน เพื่อร่วมกันควบคุมแก้ไขปัญหา
5. ส่งเสริมการผลิตสื่อหรือการละเล่นในชุมชน เช่น หนังตะลุง มโนราห์ ที่เน้นการให้ความรู้ การชี้แนะ (Advocate) ของพิษภัยยาสูบต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อเพิ่มผู้ขับเคลื่อนการควบคุมยาสูบในระดับพื้นที่
label_important
วิธีการสำคัญ
1. สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านท้องถิ่น ในระดับตำบล หมู่บ้าน เช่น ในรูปของกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้ไม่สูบยาสูบ ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมปอดสะอาด
2. ส่งเสริมให้กลุ่ม / ชมรม เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน และกลุ่มอาสาเฝ้าระวังยาสูบในชุมชน
3. จัดประชุมกลุ่มเพื่อนำเสนอปัญหาและหาทางแก้ไข ประจำสัปดาห์ /เดือน
4. การเสวนาระดับท้องถิ่น / ชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกัน
5. จัดโปรแกรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การเลิกสูบยาสูบ หรือค่ายเลิกยาสูบโดยชุมชน
6. ส่งเสริมให้กลุ่ม / ชมรม / สมาคม องค์กรเอกชนต่างๆ ในชุมชน มีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ เช่น เวทีสมัชชาสุขภาพของจังหวัด
7. ส่งเสริมการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของกลุ่มคนทำงานด้านการควบคุมยาสูบที่ทำงานในระดับพื้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยการสร้างพื้นที่และบุคคลต้นแบบด้านการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชนแบบครบวงจร
label_important
วิธีการสำคัญ
• ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
• หอชุมชนแสดงรางวัลเชิดชูเกียรติ (บุคคลต้นแบบ และพื้นที่ต้นแบบ)
• กลุ่มเยาวชนแกนนำในการขับเคลื่อน
• ทำเนียบบุคคลต้นแบบด้านการ ลด ละ เลิกยาสูบ
• แหล่งรวบรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ

วิธีการ

1. การกำหนดความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมร่วมกันของชุมชน (mindset) ว่า ยาสูบในชุมชนเป็นสิ่งที่ควบคุมได้
2. การสร้างทีมปฏิบัติการชุมชนแบบบูรณาการ ที่ประกอบด้วย ผู้บังคับใช้กฎหมาย เช่น ตำรวจ ผู้นำศาสนา ผู้นำทางศรัทธา เช่น เจ้าอาวาส พระ ปราชญ์ในหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ผู้แทนในระดับท้องถิ่น หน่วยบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการด้านสุขภาพในท้องถิ่น และ ตัวแทนสมาคม ชมรม ต่างๆ ในชุมชน เป็นต้น
3. การสำรวจทุนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบในชุมชน เช่น
• ด้านการบริหารงานโครงการ โดยเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถในการขับเคลื่อนบริหารจัดการโครงการ
• ด้านแกนนำชุมชน เป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือและเป็นผู้ที่มีความสามารถกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนได้
• ด้านผู้นำด้านสุขภาพ เป็นแกนนำในการหาข้อมูลเชิงลึก การลงพื้นที่ การประสานงานโดยตรงกับประชาชน
• ด้านศาสนาเป็นบุคคลที่มีเป็นผู้นำการสั่งสอน ให้รู้ถึงศีลธรรม วัฒนธรรมอันดี เพื่อโน้นน้าวจิตใจของประชาชน โดยมีศาสนาเป็นสื่อนำ
• ด้านการศึกษา โดยเป็นแกนนำที่คอยสนับสนุนและส่งเสริมด้านการศึกษา ให้ความรู้แก่นักเรียนและประชาชนทั่วไปได้
• กลุ่มทางสังคม องค์กรชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ สภาเด็กและเยาวชน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชมรมคนพิการ
4. การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้ม สภาพปัญหาและความต้องการควบคุมการบริโภคยาสูบของพื้นที่ เพื่อประเมินสภาพชุมชนร่วมกันว่ามีกิจกรรมดำเนินงานเพื่อการจัดการและควบคุมยาสูบในชุมชนหรือไม่ เช่น
• ในชุมชนมีหน่วยบริการสุขภาพที่มีระบบบริการช่วยเลิกยาสูบหรือไม่
• ในชุมชนมีนโยบายปลอดควันยาสูบภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่
• ในชุมชนมีนโยบายเขตปลอดยาสูบภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่
• ในชุมชนมีนโยบายปลอดควันยาสูบภายนอกอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่
• ในชุมชนมีนโยบายเขตปลอดยาสูบภายนอกอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่
• ในชุมชนมีการประเมินการบริโภคยาสูบของประชาชนหรือไม่
• ในชุมชนมีการคัดกรอง การประเมินการสัมผัสควันยาสูบ หรือไม่
• ในชุมชนมีการให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับโทษของการบริโภคยาสูบและการสัมผัสควันยาสูบ หรือไม่
• ในชุมชนมีระบบส่งต่อผู้ป่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรหรือการบริการของชุมชนสำหรับการหยุดบริโภคยาสูบหรือไม่
• ในชุมชนมีบุคคลหรือพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการควบคุมยาสูบหรือไม่
5. กำหนดทิศทางและแนวทางการจัดการปัญหาการบริโภคยาสูบในเขตของพื้นที่รับผิดชอบ เช่น
• การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลในชุมชน
• เน้นการศึกษาให้รู้ข้อมูล/ความจริง
• การทำงานเชิงรุกแทนการตั้งรับ
• คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องรอบด้าน
• มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและเป็นระบบ
• ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันดำเนินงาน
6. การต่อยอดให้เป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบของชุมชน ที่อาศัยทั้ง
(1) นักบริหาร
(2) นักวิชาการชุมชนท้องถิ่น
(3) นักจัดการและนักจัดกระบวนการชุมชน
(4) นักจัดการข้อมูล และ
(5) นักสื่อสารสุขภาพในชุมชน
7. ติดตามอย่างต่อเนื่องและเสริมพลังอำนาจของทุกฝ่าย
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 1 มุ่งเป้าลดการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสของผู้ใช้รถใช้ถนน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ลดพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกกลุ่ม (เมา-หมวกนิรภัย-เข็มขัดนิรภัย-มือถือ-วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น-เบาะนิรภัยเด็ก) ด้วยการเพิ่มจำนวนด่าน และให้ความรู้
1.1 เพิ่มการตรวจจับหรือจุดตั้งด่านตรวจจับผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน (ดื่มแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น ไม่ใช้เบาะนิรภัยสาหรับเด็กและที่นั่งพิเศษสาหรับเด็ก และไม่มีใบอนุญาตขับขี่)
1.2 กำกับดูแลผู้ขับขี่รถสาธารณะให้มีความพร้อมทางสภาพร่างกายก่อนและระหว่างการขับขี่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับมาตรฐานด้านความฟปลอดภัยของยานพาหนะ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จักรยานยนต์ปลอดภัย ด้วยการติดตั้ง ABS ตรวจสอบมาตรฐานหมวกนิรภัย และให้ความรู้การใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
1.1 ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับมาตรฐานรถจักรยานยนต์ รวมถึงการเลือกซื้อและการใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและการเดินทางที่ยั่งยืน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ถนนปลอดภัย
1.1 เพิ่มมาตรการชะลอความเร็วในพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 ตรวจประเมินถนน ดำเนินมาตรการเชิงแก้ไข (Road side hazard) โดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพในจุดที่เคยเกิดอุบัติเหตุซึ่งเป็นพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. เพิ่มการเดินทางที่ยั่งยืน
2.1 ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนารากฐานโครงสร้างการทำงาน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาการตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพและครอบคลุม
1.1 เพิ่มความครอบคลุมของการทำประกันภัยภาคบังคับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
1.2 ลดเวลาตอบสนองหลังเกิดเหตุ (response time) ด้วยเบอร์ฉุกเฉิน
1.3 เพิ่มความครอบคลุมของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลในทุกตำบล
1.4 กำหนดแนวปฏิบัติที่ดีในสถานการณ์ฉุกเฉินทางถนนสำหรับผู้ขับรถสาธารณะ
2. เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนนแบบสหสาขา
2.1 มีการจัดประชุม ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศปถ.อปท.) ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน ไตรมาสละ 1 ครั้ง
2.2 มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางถนน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับพฤติกรรม ที่เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน การปรับพฤติกรรม รวมทั้งการส่งต่อไปยังสถานบำบัด
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดความรุนแรงและลดผลกระทบของการแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างและพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายการเฝ้าระวัง ให้มีองค์ความรู้และมีทักษะในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน
2. มีคณะทำงานติดตามประเมินความรุนแรงของสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน ที่มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกพื้นที่
3. มีแผนการดำเนินงานการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
4. การให้รางวัลเชิดชูเกียรติแก่บุคคลต้นแบบในชุมชนที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
5. การตั้งรางวัลสำหรับผู้ที่ชี้เบาะแสของผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในชุมชน
6. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่สามารถนำมาใช้เพื่อการวางแผนควบคุมต่อไป
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติดและลดอัตราการเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาเครือข่ายชุมชนที่เฝ้าระวังและสอดส่องปัญหายาเสพติดในชุมชนให้เชื่อมต่อกับหน่วยบริการสุขภาพภาครัฐให้สามารถส่งต่อผู้ติดยาไปบำบัดรักษาได้อย่างทั่วถึง
2. การสร้างระบบรองรับต่อผู้ที่ผ่านการบำบัดจากสถานบำบัดเมื่อกลับมาอยู่ในชุมชน ให้ได้รับการฝึกอาชีพ การสร้างการยอมรับในการจ้างงาน และให้โอกาสในการกลับมาเป็นสมาชิกของชุมชน
3. การพัฒนาระบบการดูแลผู้การบำบัดโดยการบูรณาการวิถีชุมชน ที่ทำให้ผู้ผ่านการบำบัดไม่กลับไปเสพยาซ้ำ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างมาตรการทางสังคมเพื่อควบคุมปัญหายาเสพติดในระดับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้าน เช่น การมีฮูกมปากัตในชุมชนมุสลิมที่มีบทให้คุณให้โทษต่อครอบครัวที่มีสมาชิกไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2. มีคณะทำงานประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว และมีการประชุมสมาชิกในชุมชนชี้แจงผลการตอบสนองต่อมาตรการ
3. มีระบบบันทึกการทำความผิด การตักเตือน การทำโทษขั้นต่างๆ ตามมาตรการที่กำหนด
4. มีรายงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จำนวนและร้อยละของครัวเรือนที่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การคัดกรองโรคเรื้อรังแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการคัดกรองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
2. การใช้ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพ การบริโภคที่ถูกต้อง
2. การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังเบาหวาน จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย แผล เป็นต้น
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางกายลดโรคเรื้อรัง เช่น การออกกำลังกาย การใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
2. กิจกรรมตลาดอาหารปลอดภัย
3. โรงเรียนหรือศูนย์พฒนาเด็กเล็กปลอดหวาน หรือขนบกรุบกรอบ
4. หมู่บ้านปลอดน้ำหวาน น้ำอัดลม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างระบบกลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
การสร้างแกนนำต้นแบบด้านเสร้างเสริมสุขภาพ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างกติกาหรือนโยบายสาธารณะชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำหนดกติกาชุมชน หรือหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. จำนวนโครงการและงบประมาณที่กองทุนสุขภาพตำบล
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• การเพิ่มที่ผลิตอาหารในบ้าน โรงเรียน หรือสถานที่สาธารณะในชุมชน
• การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัยในระดับครัวเรือน /ชุมชน หน่วยงานเช่นโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
• การเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชน
• การปรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานอาหารปลอดภัยและสุขาภิบาลอาหาร
• การใช้บริบท วัฒนธรรม ภูมิปัญญาทางด้านอาหาร เพื่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน
• การทำระบบกระจาย หรือเชื่อมโยงผลผลิต (matching model) โดยการเชื่อมโยงอาหารจากผู้ผลิตไปยังหน่วยงานเช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ร้านอาหาร หรือผู้บริโภค

วิธีการ

1. การส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ หรือการส่งเสริมการทำสวนผักในเมืองในพื้นที่ๆ เป็นชุมชนเมือง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยแก้ปัญหาอาหารโภชนาการและอาหารปลอดภัย
2. ส่งเสริมการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาการขาดอาหาร เช่นการปลูกผัก นาข้าว การเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลา ฯลฯ
3. ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน
4. การใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัยในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน และชุมชน
5. การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในโรงครัว โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก/ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่
6. การพัฒนาตลาด (ตลาดปลอดภัย/ตลาดสีเขียว/ตลาดอินทรีย์/ตลาดน่าซื้อ ตลดออนไลน์ ฯลฯ ของชุมชน)
7. การส่งเสริมการบริโภคโดยใช้เมนูอาหารพื้นบ้าน เมนูอาหารเป็นยา เมนูชูสุขภาพ ผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อการส่งเสริมป้องกันโรค
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
• การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในชุมชน
• การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามกลุ่มวัย (วัยเด็ก/วัยเรียน.วันทำงาน/วัยสูงอายุ)

วิธีการ

1. การพัฒนาศักยภาพครู ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ด้านอาหารในโรงเรียนและชุมชน เช่นการอบรมโปรแกรม Menu Thai School Lunch
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาเช่น เด็ก/ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุ ฯลฯ เช่น การส่งเสริมการบริโภค ผัก ผลไม้
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน /โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก และชุมชน เช่น ลด หวาน มัน เค็ม ลดการบริโภคน้ำหวานน้ำอัดลม
4. การฝึกทักษะการปรุง การใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
5. การสร้างบุคคล ครัวเรือน ต้นแบบ (Role model)
6. การส่งเสริมความรอบรู้เรื่องสุขภาพ (Health literacy) ความรอบรู้เรื่องอาหาร (food literacy)
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
• การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเรื่องการจัดการอาหารในชุมชน
• การพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
• การจัดตั้งชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร
• การใช้กลไกคณะกรรมการอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดในการดำเนินงานอาหารปลอดภัย

วิธีการ

1. การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็กและในโรงเรียน
2. การใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch เพื่อจัดการอาหารในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
3. การติดตามภาวะโภชนาการของคนในชุมชน โดยเฉพาะ กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ
4. การสนับสนุนชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร เช่น กลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ.เกษตรอินทรีย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ฯลฯ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• ชุมชนสามารถจัดการข้อมูลอาหารและโภชนาการได้
• ชุมชนสามารถจัดทำแผนชุมชนด้านระบบอาหารแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล กำหนดแผนงาน โครงการร่วมกัน ปฏิบัติร่วมกัน และร่วมติดตามประเมินผล

วิธีการ

1. พัฒนาแกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
2. การทำแผนชุมชน การทำแผนท้องถิ่น การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับชุมชน
3. สนับสนุนให้ชุมชนที่ส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อการมีและเข้าถึงอาหาร ทำให้มีอาหารปลอดภัยบริโภค และบริโภคที่ถูกต้อง มีโภชนาการที่สมวัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านอาหารในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• เกิดธรรมนูญสุขภาพ เรื่องระบบอาหาร
• เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วมเรื่องระบบอาหาร
• เกิดมาตรการของชุมชนและท้องถิ่นเรื่องระบบอาหาร

วิธีการ

1. การกำหนดนโยบายชุมชนเรื่องการไม่ขายเครื่องดื่มน้ำหวาน ขนมขบเคี้ยวในบริเวณ ใกล้หรือในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
2. นโยบายชุมชนปลอดน้ำอัดลม เหล้า สุรา ในงานเลี้ยง งานบุญ งานประเพณี
3. ข้อตกลงชุมชนให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือน
4. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตร
5. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชน
6. นโยบายบายการนำอาหารสุขภาพไปถวายพระ (ปิ่นโตเพื่อสุขภาพ)
7. การส่งเสริมให้เกิดธรรมนูญลุ่มน้ำ ธรรมนูญป่าชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
label_important
วิธีการสำคัญ
การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายการขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เป็นการผลักดันให้ชุมชนมีนโยบาย ข้อตกลงร่วมกันของชุมชน ในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย

วิธีการ

1. ผลักดันนโยบายศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนจัดรูปแบบกิจกรรมทางกายควบคู่กับกิจกรรมด้านอาหารและโภชนาการ
2. ผลักดันนโยบายการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา สถานประกอบการที่เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจ ความปลอดภัยในการมีกิจกรรมทางกาย
3. ร่วมสร้างนโยบายของหน่วยงาน สถานประกอบการ ในการจัดสรรเวลา สถานที่ และส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของพนักงาน
4. ร่วมสร้างข้อตกลงชุมชนในการใช้พื้นที่สาธารณะ การใช้เส้นทางสัญจร (เดิน/จักรยาน) ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
5. ผลักดันนโยบายสนับสนุนผู้สูงอายุเป็นจิตอาสาเป็นวิทยากรในสถานศึกษาต่าง ๆ
6. สนับสนุนข้อตกลงของชุมชนในการกำหนดให้มีการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายควบคู่กับการส่งเสริมกีฬาของเยาวชนในพื้นที่
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน

การสร้างพื้นที่สุขภาวะ โดยการทำให้สภาพแวดล้อมทั้งในสถานที่อยู่อาศัย สถานศึกษา สถานที่ทำ งาน สถานประกอบการในภาครัฐและเอกชน สถานบริการสุขภาพ ศาสนสถาน และพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย เป็นการช่วยให้ทุกคน ทุกภาคส่วน ทุกระดับ เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องกิจกรรมทางกาย

วิธีการ

1. จัดกิจกรรมที่เอื้อให้พ่อ-แม่ ลูก และผู้สูงวัยได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เดินปั่นสำรวจแหล่งวัฒนธรรม แหล่งสมุนไพร
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้กับคนในชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้การละเล่นไทย เช่น ตี่จับ/ กระโดดเชือก/ มวยไทย; และกีฬาไทย เช่น การเซิ้ง ร็องแง็ง  รำมวยไทย ตะกร้อลอดห่วง
3. ร่วมกันพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน ให้มีสิ่งจูงใจในการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การจัดแต่งขั้นบันไดด้วยภาพและเสียง
4. ส่งเสริมการปรับวิธีการสอนในสถานศึกษาให้เน้นมีกิจกรรมทางกายแทนการบรรยาย ให้การบ้านการมีกิจกรรมทางกาย การสะสมแต้มการมีกิจกรรมทางกาย จำนวนการเดินรอบสนาม และเนื้อหาวิชาสุขศึกษา พละศึกษาครอบคลุมการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน การเกษตรในโรงเรียน
5. จัดกิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตร การจัดการเศรษฐกิจชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น ปลูกพืชผักส่วนครัว กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมการจัดการขยะ การลงแขกทำเกษตรแปลงรวม การปั่นจักรยานสำรวจแหล่งวัฒนธรรม ท่องเที่ยวในชุมชน กิจกรรมจิตอาสาอื่น ๆ
6. มีกิจกรรมทางกายสำหรับกลุ่มเฉพาะอาชีพเฉพาะ เช่น ทอผ้า พนักงานในสำนักงาน
7. ชุมชนร่วมกันจัดสภาพแวดล้อมในชุมชนให้สะอาด ปลอดภัยกับการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น ทำความสะอาดเส้นทางสัญจรในชุมชนให้สะอาด ไม่มีสิ่งกีดขวางสำหรับการเดินปั่นจักรยาน;การลงแรงร่วมกันทำความสะอาด เก็บกิ่งไม้ สิ่งกีดขวางในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการพักผ่อน วิ่งเล่น หรือออกกำลังกายอื่น ๆ
8. มีกิจกรรมต่าง ๆ ในสวนสาธารณะ เช่น ดนตรีในสวน ตลาดนัดสุขภาพ เดิน-วิ่ง-ปั่นจักรยานในสวน
9. พัฒนาต้นแบบสถานที่ทำงานที่จัดให้มีการเคลื่อนไหวระหว่างทำงาน จัดอาหารสำหรับประชุมที่เอื้อต่อสุขภาพ
10. สร้างพื้นที่ต้นแบบความร่วมมือของรัฐ ท้องถิ่น องค์กรธุรกิจ ในการสนับสนุนการใช้พื้นที่เพื่อการมีกิจกรรมทางกายของประชาชน
11. การสร้างพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ มรดกวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ เพื่อการมีกิจกรรมทางกาย
12. ประกวดบ้านกระฉับกระเฉง ครอบครัว สถานที่ทำงาน ชุมชน ที่มีการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง รวมทั้งการรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม
13. ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มเด็กวัยเรียนทั้งในบ้าน โรงเรียน ชุมชนอย่างมีคุณภาพ/ปลอดโรค/ปลอดภัย
14. ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย/ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในสถานประกอบการ โปรแกรมองค์กรส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพผู้นำส่งเสริมสุขภาวะ เน้นความร่วมมือในระดับนโยบายในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย
15. พัฒนาและขยายผลต้นแบบเมืองสุขภาวะเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ ขยายผลต้นแบบ ผลักดันให้เกิดนโยบายหรือแผนปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อวางรากฐานของเมืองสุขภาวะ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
label_important
วิธีการสำคัญ
การเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

การเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้ โดยสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของชุมชน ค้นหาแนวทางนวัตกรรมแก้ไขปัญหา การจัดทำแผนและโครงการ และมีการติดตามประเมินผล

วิธีการ

1. พัฒนาแนวทาง หรือรูปแบบการมีกิจกรรมทางกายในยุคชีวิตวิถีใหม่ จุดประกายให้เกิดวัฒนธรรมของการใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉง
2. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดทำแผนสุขภาพ การจัดทำโครงการที่มีคุณภาพ และติดตามประเมินผล
3. เสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนโดยดึงศักยภาพแกนนำและทรัพยากรที่มีในชุมชนมาสนับสนุนกำหนดอนาคตของชุมชนผ่านการทำแผนงานและโครงการ
4. บูรณาการกลไกขับเคลื่อนปฏิบัติตามแผนงานและโครงการ กลไกเช่น กลไกวิชาการ กลไกพี่เลี้ยง กลไกระดับท้องถิ่น กลไกระดับอำเภอ กลไกระดับจังหวัด และกลไกระดับเขต
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และทักษะส่วนบุคคล และการพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่าย ในเรื่องดังนี้ 1. การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 2. การทำแผนสุขภาพ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. การทำโครงการที่มีคุณภาพ 4. การติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และทักษะส่วนบุคคล และการพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่าย ในเรื่องดังนี้ 1. การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 2. การทำแผนสุขภาพ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. การทำโครงการที่มีคุณภาพ 4. การติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ

วิธีการ

1. พัฒนาศักยภาพเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ การจัดทำแผน การจัดทำโครงการที่มีคุณภาพ และการติดตามประเมินผล
2. สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้บุคคลอื่นๆ ได้
3. สร้างการรับรู้กิจกรรมทางกายในระดับสาธารณะ สร้างการรับรู้กิจกรรมทางกายในยุค Next Normal ในระดับสาธารณะเพื่อเพิ่มความรู้ ความตระหนักสร้างวัฒนธรรมกิจกรรมทางกาย
4. ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวน้อย และกลุ่มเปราะบาง ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มการเคลื่อนไหวน้อยและกลุ่มเปราะบาง โดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นและผลักดันให้เกิดการวางรากฐานและการขยายผล
5. สร้างการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลายรูปแบบ ที่สอดคล้องกับวัยและวิถีการทำงานของกลุ่มอาชีพต่าง ๆเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์เรื่องกิจกรรมทางกาย และการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนในชุมชน เช่น การจัดนิทรรศการ เสียงตามสายในโรงเรียน ชุมชน โบสถ์ มัสยิด
6. ผลิตสื่อ สื่อเอกสาร หนังสั้น คลิปสั้น เพื่อการเรียนรู้ เชิญชวนให้คนมีกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งด้านกิจกรรมทางกาย เพื่อให้สถานศึกษา หน่วยงาน องค์กร นำไปใช้ในระดับครัวเรือน ชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่ทำงาน
7. สร้างรูปแบบ นวัตกรรม คู่มือ และสื่อการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้และการเล่นอย่างสร้างสรรค์ (Active learning active play) ในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน พัฒนาหลักสูตรในพื้นที่ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่สอดแทรกเนื้อหา วิธีการสอนที่เน้นการมีกิจกรรมทางกาย เช่น เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมปลูกป่า เดินสำรวจสมุนไพร กีฬาและการละเล่นไทย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
การปรับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนการสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกาย ทั้งภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจเครือข่ายศาสนา และภาคประชาชน

วิธีการ

1. พัฒนาความร่วมมือในการใช้สนามในสถานที่ราชการ หรือเอกชนหลังเลิกงานเพื่อนันทนาการและออกกำลังกายสำหรับประชาชน
2. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น/พื้นที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย
3. สร้างความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานในการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น แสงสว่างในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนยามค่ำคืน
4. ร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุข การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ศึกษาธิการ (ศธ.) ในการสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
5. การสนับสนุนกลุ่มชมรมต่างๆ ในชุมชนเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เช่น ชมรมเดินวิ่ง ชมรมปั่นจักรยาน ชมรมผู้อายุ ชมรมแอโรบิค ชมรมกีฬาต่างๆในชุมชน
6. พัฒนาระบบสนับสนุน และนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง ระบบเฝ้าระวังสถานการณ์ ฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศ ด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมทางสุขภาพในมิติที่เกี่ยวข้อง กลไกผลักดันให้เกิดนโยบาย มาตรการหรือกลไกขยายผลนโยบาย
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 1 มุ่งเป้าลดการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสของผู้ใช้รถใช้ถนน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ลดพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกกลุ่ม (เมา หมวกนิรภัย เข็มขัดนิรภัย เบาะนิรภัยเด็ก มือถือ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น ไม่มีใบขับขี่ ขับเร็ว หลับใน) ด้วยการเพิ่มจำนวนด่าน และให้ความรู้
1.1 เพิ่มการตรวจจับหรือจุดตั้งด่านตรวจจับผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน (เช่น ดื่มแล้วขับ ใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่ใช้เบาะนิรภัยสาหรับเด็กและที่นั่งพิเศษสาหรับเด็ก ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ขับเร็ว หลับใน)
1.2 กำกับดูแลผู้ขับขี่รถสาธารณะให้มีความพร้อมทางสภาพร่างกายก่อนและระหว่างการขับขี่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของยานพาหนะ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จักรยานยนต์ปลอดภัย ด้วยการติดตั้ง ABS ตรวจสอบมาตรฐานหมวกนิรภัย และให้ความรู้การใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
1.1 ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับมาตรฐานรถจักรยานยนต์ รวมถึงการเลือกซื้อและการใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและการเดินทางที่ยั่งยืน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ถนนปลอดภัย
1.1 เพิ่มมาตรการชะลอความเร็วในพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 ตรวจประเมินถนน ดำเนินมาตรการเชิงแก้ไข (Road side hazard) โดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพในจุดที่เคยเกิดอุบัติเหตุซึ่งเป็นพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. เพิ่มการเดินทางที่ยั่งยืน
2.1 ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนารากฐานโครงสร้างการทำงาน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาการตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพและครอบคลุม
1.1 เพิ่มความครอบคลุมของการทำประกันภัยภาคบังคับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
1.2 ลดเวลาตอบสนองหลังเกิดเหตุ (response time) ด้วยเบอร์ฉุกเฉิน
1.3 เพิ่มความครอบคลุมของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลในทุกตำบล
1.4 กำหนดแนวปฏิบัติที่ดีในสถานการณ์ฉุกเฉินทางถนนสำหรับผู้ขับรถสาธารณะ
2. เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนนแบบสหสาขา
2.1 มีการจัดประชุม ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศปถ.อปท.) ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน ไตรมาสละ 1 ครั้ง
2.2 มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางถนน