กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจในเดือนรอมฎอน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

ชุมชนนาเปรียสุขภาพดี

นายบุญช่วย อยู่ล่าย
นายสอาด เอียมรามา
นายกอเหลด นรินทร์
นายวรพงค์ มานะเกล้า
นางนวลปรางค์ ใจสมุทร

มัสยิดนาเปรีย หมู่ที่ 2 บ้านนากลาง ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องด้วยพี่น้องมุสลิม หมู่ที่ 2 บ้านนากลาง ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จะเข้าสู่เทศกาลถือศีลอด ซึ่งถือว่าเป็นเดือนแห่งความประเสริฐ ความดีงาม เดือนแห่งความอดทน เพื่อปฏิบัติตามวิถีมุสลิมในการละเว้นการบริโภคอาหารเป็นระยะเวลา 1 เดือน และเป็นการยึดหลักความเสมอภาคกันเทศกาลถือศีลอด ทำให้วิถีชีวิตของชาวมุสลิมในการบริโภคที่ปรับเปลี่ยนไป โดยจะมีการ บริโภคอาหารหลัก 2 เวลา คือมื้อแรกก่อนรุ่งอรุณ และมื้อที่สองหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าเพื่อดำเนินกิจกรรมตาม หลักศาสนา เช่น การปฏิบัติตน การชำระร่างกายตามแนวหลักซุนนะฮฺ เสริมอีมานเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การบริโภคอาหารก่อนละศีลอด เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงลดการ เจ็บป่วย
ดังนั้น คณะกรรมการสภาสุขภาวะชุมชนบ้านนากลาง หมู่ที่ 2มีความเป็นห่วงในเรื่องการดูแลสุขภาพของพี่น้องมุสลิมที่ปฏิบัติ ศาสนกิจ ในช่วงเดือนรอมฏอน ซึ่งถือว่าเป็นเดือนแห่งความประเสริฐ ความดีงาม เดือนแห่งความอดทน เพื่อปฏิบัติ ตามวิถีมุสลิมในการละเว้นการบริโภคอาหาร เป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งอาจจะเกิดโรคขึ้นได้ในช่วงการถือศีลอด เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจาระร่วงอย่างรุนแรง เป็นต้น ในการนี้ เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพรวมถึงการรับประทานยา รักษาโรคต่างๆของพี่น้องชาวมุสลิมเพื่อให้ปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างครบถ้วนสมบรูณ์ช่วงดังกล่าว จึงแนะนำวิธีการดูแล สุขภาพในเดือนรอมฏอน เพื่อระบบสุขภาพที่ดีจึงเป็นบทบาทของทุกคนที่จะให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารก่อนและหลังการละศีลอดที่ถูกต้อง

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารก่อนและหลังการละศีลอดที่ถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพร่างกายในเดือนรอมฎอน

ร้อยละ 85 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพร่างกายในเดือนรอมฎอน

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาในช่วงเดือนรอมฎอน

ร้อยละ 95 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาในช่วงเดือนรอมฎอน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2023

กำหนดเสร็จ 25/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจในเดือนรอมฎอน ประจำปี 2566

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจในเดือนรอมฎอน ประจำปี 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ให้ความรู้ในหลักการของศาสนาได้ฝึกฝนความอดทนได้รู้จักการให้สร้างความรักความสามัคคีของคนในชุมชน -ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารก่อนและหลังการละศีลอดที่ถูกต้อง -ให้ความรู้การดูแลสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยในระหว่างถือศิลอด - ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังในช่วงเดือนรอมฎอน - ให้ความรู้การดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง - ให้ความรู้การลดละเลิกการสูบบุหรี ตามแนวทางศาสนา


  • ค่าวิทยากร ช.ม. ละ 300 บาท x 5 ช.ม. = 1,500.- บาท
  • ค่าอาหารว่าง มื้อละ 25 บาท x 2 มื้อ = 50 x 55 คน = 2,750.- บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 55 คน = 2,750.- บาท
  • เอกสารในการอบรม จำนวน 55 ชุดละ 40 บาท= 2,200.- บาท
  • ค่าป้ายโครงการ = 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 25 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจความพร้อมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารก่อนและหลังการละศีลอดที่
2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพร่างกายในเดือนรอมฎอน
3. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของศาสนา ได้ฝึกฝนความอดทน ได้รู้จักการให้สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน
4. เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยในระหว่างถือศิลอด


>