กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ตำบลปูยุด

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ตำบลปูยุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานีจังหวัดปัตตานี

ตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตำบลปูยุด มีผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง และจากผู้สูงอายุ ในปี ๒๕๖๓, ๒๕๖๔ และ ๒๕๖๕จำนวน ๒๖ คน, และ 28 คน ตามลำดับ ในจำนวน 28 คน เป็นผู้ป่วยติดบ้าน จำนวน ๑๗ คน และเป็นผู้ป่วยติดเตียง จำนวน ๑1 คน จากการดำเนินงานของทีมเยี่ยมบ้านพบว่าผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงส่วนใหญ่มีภาวะแทรกซ้อนด้านกล้ามเนื้อและข้อ ซึ่งช่วยเหลือตัวเองได้น้อยหรือไม่ได้เลย มีอาการท้องผูกจากการที่ลำไส้ไม่เคลื่อนไหวเนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้ขยับร่างกาย มีปัญหาแผลกดทับ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามมา
ตำบลปูยุดมีทีมเยี่ยมบ้านที่เป็นผู้ดูแลหลัก ได้แก่ Care Giver อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น และญาติผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้การดำเนินงานดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงควรเพิ่มทักษะและความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาและต่อยอดให้การดูแลผู้ป่วยบรรลุผลยิ่งขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยลง และผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยเพิ่มทักษะด้านการดูแลดังนี้ การบริหารกล้ามเนื้อและข้อ การประคบสมุนไพร การนวดน้ำมันกระตุ้นสัมผัส การนวดกระตุ้นการขับถ่ายการดูแลแผลกดทับ และการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
ในการนี้สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด จึงได้ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลปูยุดจัดทำโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ตำบลปูยุด ประจำปี๒๕๖๖ ขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงให้แก่ผู้ดูแล ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 28
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 01/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงกลุ่มเป้าหมาย Care Giver, อสบ. และญาติผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 40 คน ณ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด อ.เมือง จ.ปัตตานี

ชื่อกิจกรรม
อบรมกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงกลุ่มเป้าหมาย Care Giver, อสบ. และญาติผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 40 คน ณ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด อ.เมือง จ.ปัตตานี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 40 คน x 70 บาท x
    2 มื้อ เป็นเงิน 5,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คน x 30บาท x 2 มื้อ x 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารและเข้าเล่ม(คู่มือ) 40 ชุด ๆละ 40 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
  • ค่าไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5 เมตร X 2.5 เมตร เป็นเงิน 1,125 บาท
  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 5 ชั่วโมง จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
    รวมเป็นเงิน 16,125 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 1 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16125.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 28 คน ณ ชุมชนตำบลปูยุด อ.เมือง จ.ปัตตานี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 28 คน ณ ชุมชนตำบลปูยุด อ.เมือง จ.ปัตตานี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์การดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในชุมชน แยกเป็น
  1. ลูกประคบสมุนไพร ผู้ป่วย 28 คนๆละ 4 ลูกๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท
  2. น้ำมันสมุนไพร ผู้ป่วย 28 คนๆละ 2 ขวดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,240 บาท
  3. หม้อนึ่งลูกประคบสมุนไพร จำนวน 3 ใบละ 1,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  4. ค่าวัสดุนวัตกรรมการฟื้นฟู ได้แก่ ลูกบอลบีบมือ และไม้ไผ่พาฝัน จำนวน 28 ชุดๆละ 50 บาท  เป็นเงิน 1,400 บาท รวมเป็นเงิน 12,240 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 1 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12240.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,365.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง
2. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพและสามารถลดภาวะแทรกซ้อนได้


>