กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสายสัมพันธ์ลูกรัก ประจำปี พ.ศ.2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1.นางสุภาวดี พรหมสกุล

อาคารเอนกประสงค์ ศูนย์กีฬาตำบลมูโนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจากประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆที่เด็กได้รับความสุขของเด็กปฐมวัยเชื่อมโยงกับพัฒนาการเชื่อมโยงกับพัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวของเด็ก การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นเมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ได้แก่ การสร้าง ถนอมมิตรภาพ ความผูกพันใกล้ชิด การเป็นพ่อแม่ที่สามารถเลี้ยงดูลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพความสามารถในการทำงาน และการอดทนกับผู้อื่น และการเป็นสมาชิกที่ก่อประโยชน์ในสังคม
เด็กปฐมวัย ที่มีความสุขจากการเลี้ยงดูด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างเหมาะสมจะทำให้เด็กมีความสุข เด็กที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากหรือปัจจัยเสี่ยงต่างๆในช่วงสามขวบปีแรกของชีวิต จะทำให้เด็กไม่มีความสุขและมีพัฒนาการบกพร่องได้ หากเด็กได้พบกับปัจจัยเสี่ยง
การสร้างความสุขให้เด็กปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าจะเป็นการอบรมสั่งสอน การดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนและมีประโยชน์ การสัมผัส การกอด และการพูดคุยกับเด็กด้วยความรักและความเอาใจใส่ การจัดประสบการณ์สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในด้านต่างๆตามช่วงวัยโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ การเล่านิทานกับเด็ก การทำกิจกรรมศิลปะ เล่นดนตรี เล่นกลางแจ้ง หรือเล่นกีฬาเพื่อให้เด็กได้ออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น
เพื่อให้เด็กปฐมวัย มีสุขภาพจิตที่ดี สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ จึงได้กำหนดจัดโครงการสายสัมพันธ์ลูกรัก ประจำปี2566 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความรัก ความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัวส่งเสริมสุขภาพจิตของสมาชิกในครอบครัวและเพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กปฐมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรัก ความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างความสมาชิกในครอบครัว

 

0.00 80.00
2 เพื่อให้สมาชิกในครอบครัว ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว

 

0.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะบทบาทของพ่อแม่ที่มีต่อลูก

 

0.00 80.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยและคณะครูมีความรู้ในเรื่องการสร้างความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กปฐมวัย

 

0.00 80.00
5 เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างคุณครูและผู้ปกครอง

 

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 180
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะครู และผู้ดูแลเด็ก 13

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การบรรยาย เรื่องบทบาทของพ่อแม่ ต่อเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
การบรรยาย เรื่องบทบาทของพ่อแม่ ต่อเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 203 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 10,150 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 203 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน5,075บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน1,200บาท
  4. ค่าของขวัญการแสดงของเด็กปฐมวัยจำนวน98 ชิ้นๆละ 50 บาทเป็นเงิน4,900บาท
  5. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ขนาด 2x3 เมตรเป็นเงิน 1,500บาท
  6. ค่าวัสดุเครื่องเขียน และอุปกรณ์ในการฝึกอบรม

- ค่าสมุด จำนวน193 เล่มๆละ 25 บาท เป็นเงิน4,825 บาท - ค่าปากกา จำนวน 193 ด้ามๆละ 10 บาทเป็นเงิน1,930 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29580.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,580.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครอบครัวมีความรัก ความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างความสมาชิกในครอบครัว
2. สมาชิกทุกคนในครอบครัว ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว
3. สมาชิกในครอบครัว เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะบทบาทของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
4. ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย มีความรู้ในเรื่องการสร้างความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กปฐมวัย
5. คุณครูและผู้ปกครองมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน


>