กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิดล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาคุณภาพบริการแพทย์แผนไทยเชิงรุกสำหรับมารดาหลังคลอด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิดล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล

ตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทย ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพประชาชนนับเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทย ที่ได้รับการยอมรับและถ่ายทอดกันมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน ฉะนั้นการพัฒนาศักยภาพ อสม.ให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว จึงเป็นหนึ่งทางเลือกในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน และบรรเทาโรคภัย ได้
จากสถิติการรับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล ปี 2564 พบว่าอาการปวดกล้ามเนื้อติดอันดับสี่ ของจำนวนป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกโดยมีผู้ป่วยรับบริการด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อ จำนวน 1,021 ครั้งอีกทั้งจากการสำรวจพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา ในตำบลลิดลพบว่า มีมารดาเพียงร้อยละ 57.14 ที่เลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน โดยสาเหตุที่มารดาไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ตามเกณฑ์ ได้แก่การต้องออกไปทำงานนอกบ้าน
(ร้อยละ 84.25) และการให้เหตุผลว่าน้ำนมแม่ไหลน้อย(ร้อยละ 73.54) ทั้งนี้สาเหตุดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทย ในการกระตุ้นและเพิ่มน้ำนมในมารดาหลังคลอด เช่นการนวดประคบ การนวดกดจุด การบริหารร่างกาย และการใช้สมุนไพร ซึ่งหาก อสม.ที่รับผิดชอบครัวเรือน ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก จะทำให้เกิดความมั่นใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง บุคคลในครอบครัวตลอดจนประชาชนในเขตที่ตนเองรับผิดชอบ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล จึงจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพบริการแพทย์แผนไทยเชิงรุกสำหรับมารดาหลังคลอดเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลรักษาสุขภาพเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาคุณภาพบริการแพทย์แผนไทยเชิงรุกสำหรับมารดาหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาคุณภาพบริการแพทย์แผนไทยเชิงรุกสำหรับมารดาหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. คัดเลือกประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คน
  2. จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โดยเน้นการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด
  3. จัดทำแผนการให้บริการการแพทย์แผนไทยเชิงรุก แก่มารดาหลังคลอด
  4. จัดซื้อลูกประคบสมุนไพร โดยมารดาหลังคลอด 1 ราย ใช้ลูกประคบ 2 ลูก วิธีการใช้ลูกประคบคือนำลูกประคบทั้ง2ลูกนึ่งจนร้อนได้ที่ แล้วจึงนำลูกประคบ1 ลูกออกมานวดประคบสมุนไพร ประมาณ 15 นาที เมื่อลูกประคบสมุนไพรเย็นลง จะใช้ลูกประคบสมุนไพรอีกลูกที่ยังอยู่ในหม้อนึ่ง ออกมาใช้นวดประคบต่อ เพื่อให้การนวดประคบมีความต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่มารดาหลังคลอด
  5. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมร่วมกับแพทย์แผนไทย ให้บริการการแพทย์แผนไทยเชิงรุก แก่มารดาหลังคลอดทุกราย
  6. สำรวจการกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในทารกแรกเกิด ที่มารดาเข้าร่วมโครงการ
  7. ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการแพทย์แผนไทยเชิงรุก
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
  2. มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
  3. ร้อยละ 65 ของทารกแรกเกิด กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
2. มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
3. ร้อยละ 65 ของทารกแรกเกิด กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน


>