กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

นางสาวฮานีซะ แวสอเฮาะ
นางสาวซากียะห์ แวดาโอะ
นางสาวอามีเนาะ ลีเยาะบิง
นายมะโจฮัน สะวี
นางสาวฟาตีฮะ บือราเฮง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี

 

33.41
2 ร้อยละคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสตรีอายุ 30 – 70 ปี

 

4.26

ในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก เป็นสาเหตุอับดับการตายของสตรีไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะจะทำให้สูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ในขณะที่การป้องกันแบะควบคุมโรคมะเร็งเต้านม นั้น กลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเองได้ทุกเดือนหรือสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรอง ได้โดยบุคลากรทางการแพทย์ตามสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านทุกปี ในขณะการป้องกันมะเร็งปากมดลูก นั้นสตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถรับบริการคัดกรองได้ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน นอกจากสะดวก รวดเร็วและยังประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย ความจำเป็นที่ต้องตรวจคัดกรอง เพื่อเป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็ง เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้น้อยลงกว่าการรักษาในระยะลุกลาม โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สามารถป้องกันรักษาได้ในระยะแรกๆและป้องกันดีที่สุดก็คือ การค้นหาผู้ป่วยเร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดกระแสการดูแลและป้อกันตัวเองในระยะแรก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพตลอดจนลดอัตราการป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมายให้มีการตรวจคัดกรอง ฯ ในแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ90ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าที่ผลงาน3ปีย้อนหลังผลงานค่อนข้างต่ำ ร้อยละ 21.23 ร้อยละ 14.17 และ ร้อยละ 4.26 ตามลำดับและมีผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผลงาน ร้อยละ 21.36ร้อยละ 34.38 และร้อยละ43.41 ตามลำดับ สาเหตุหลักที่ประชากรกลุ่มเป้าหมายไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง เนื่องจาก ประชากรกลุ่มเป้าหมายขาดความตระหนักเกี่ยวกับโรคและอันตรายของโรค การได้รับข้อมูล หรือปิดประกาศ กำหนดวันจัดโครงการคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกไม่ทั่วถึง และประชากรกลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์ตรวจคัดกรองเนื่องจากเขินอายที่มีคนอื่นรู้ ฯลฯ ตามลำดับ ทำให้ไม่ได้มาร่วมและได้รับการคัดกรองได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดในปีที่ผ่านมา ยังพบว่ามีประชาการที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปาดมดลูกที่เยื่อบุเซลล์ของปากมดลูกผิดปกติ1 รายและตรวจพบมีติดเชื้อและปากมดลูกอักเสบและได้รับการรักษาติดตามอย่างต่อเนื่อง จำนวน 2 ราย ได้รับการรักษาและติดตามเยี่ยมทุกราย ในขณะมะเร็งเต้านมเองพบผู้ป่วยเป็น ๒รายได้รับการรักษาต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2566 จะเน้นการตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบ HPV DNA Testกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ากูโบ มีทั้งงหมด 421 คน
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ จึงได้เห็นความสำคัญเกี่ยวการส่งเสริมและป้องกันโรคเกี่ยวปัญหาสุขภาพ และควรเพิ่มการดำเนินงานกิจกรรมในเชิงรุก ควบคู่กับบริบทของพื้นที่อย่างถูกต้องและเหมาะสม จึงจัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง เพื่อติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการคัดกรองมาตรวจคัดกรอง โดยเน้นการตรวจแบบ HPV DNA Test

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจ การป้องกันควบคุมมะเร็งปากมดลูกและมีทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง

สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 80

4.26 80.00
2 เพื่อกลุ่มสตรีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม

สตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 80(ผลงานสะสมตั้งแต่ปี 2558-2566 เฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปี)

33.41 90.00
3 เพื่อให้หญิง อายุ 30-70 ปีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ร้อยละ100 ของหญิงที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

66.66 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ประชาสัมพันธ์โดยไวนิลเกี่ยวกับโครงการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ปีงบประมาณ 2566

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์โดยไวนิลเกี่ยวกับโครงการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ปีงบประมาณ 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุป้ายไวนิลประชาสัมพัธ์ ขนาดกว้าง 1.2 เมตรยาว 2 เมตร จำนวน 2 ผืน อัตราผืนละ 500 บาทเป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรบและปฏิบัติการตรวจคัดกรองแก่กลุ่มเป้าหมายที่มีในกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปี พร้อมสอนเกี่ยวกับตรวจมะเร็งปากมดลูก แบบ HPV DNA Test และการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรบและปฏิบัติการตรวจคัดกรองแก่กลุ่มเป้าหมายที่มีในกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปี พร้อมสอนเกี่ยวกับตรวจมะเร็งปากมดลูก แบบ HPV DNA Test และการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุป้ายไวนิลชื่อโครงการ ขนาดกว้าง 1.2 เมตรยาว 3 เมตร จำนวน 1 ผืน อัตราผืนละ720 บาท -ค่าวิทยากรการอบรบ6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ600บาท รวมเป็นนเงิน 3600 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 85 คน อัตราคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 4,250 บาท -ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 85 คน อัตราคนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 4,250 บาท -ค่าพาหนะกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก จำนวน 85 คน อัตราคนละ 50 บาท เป็นเงิน 4,250 บาท -ค่าเอกสารประกอบการเรียนรู้และวัสดุอปกรณ์เป็นเงิน 930

บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 3 แกนนำสุขภาพนำส่งชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกมายังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

ชื่อกิจกรรม
แกนนำสุขภาพนำส่งชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกมายังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการติดตามและตรวจซ้ำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการติดตามและตรวจซ้ำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจซ้ำกับเจ้าหน้าที่และมีผลผิดปกติ ได้รับการติดตามและส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจซ้ำกับเจ้าหน้าที่และมีผลผิดปกติ ได้รับการติดตามและส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
2.สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนสามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
3.สตรีที่ตรวจพบผิดปกติเป็นมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ได้รับการรักษาและติดตามเยี่ยมทุกราย


>